ประวัติของคิลต์

ประมุขของตระกูลที่ราบสูง
ลอร์ดมังโก เมอร์เรย์ราว ค.ศ. 1680

ประวัติของคิลต์ (อังกฤษ: History of the kilt) เริ่มขึ้นอย่างน้อยก็ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แม้ว่าคิลต์จะเป็นเครื่องแต่งกายตามประเพณีของสกอตที่ราบสูง (Scottish highlands) แต่ความเป็นโรแมนติคชาตินิยม (Romantic nationalism) ของธรรมเนียมนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ นอกจากนั้นการแต่งตัวด้วยคิลต์มิได้กระทำกันแต่โดยสกอตที่ราบสูงแต่ยังโดยชาวสกอตที่ราบลุ่ม (Scottish Lowlands) และโดยชาวสกอตพลัดถิ่น (Scottish Diaspora) เพื่อเป็นเครื่องหมายในการแสดงความเป็นสกอต มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19[ต้องการอ้างอิง] ผู้คนในประเทศอื่นที่มีเชื้อสายเคลต์ที่รวมทั้งไอริช คอร์นิช เวลช์ และแมงซ์ ก็มาใช้คิลต์ลายสกอตกันเมื่อไม่นานมานี้แต่ก็ไม่มากนัก

คิลต์ในระยะแรกเป็น “คิลต์ใหญ่” (great kilt) ที่มีความยาวเต็มตัวที่ท่อนบนใช้พันรอบไหล่หรือดึงมาคลุมตัวหรือคลุมหัวได้ ส่วน “คิลต์สั้น” (small kilt) หรือ “คิลต์เดินทาง” (walking kilt) (คล้ายกับคิลต์สมัยใหม่) มิได้เริ่มใช้กันจนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นตอนล่างคิลต์ใหญ่[ต้องการอ้างอิง]

คำว่า “คิลต์” มาจากภาษาสกอตที่แปลว่าผ้าที่เหน็บรอบตัว ที่แผลงมาจากภาษานอร์สโบราณ “kjalta”[1] ที่เข้ามากับผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานชาวนอร์สผู้แต่งตัวด้วยทาร์ทันจีบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

คิลต์ใหญ่

[แก้]
คิลต์ใหญ่

คิลต์ใหญ่ หรือ “Breacan an Fhéilidh” หรือ “Féileadh Mòr” อาจจะวิวัฒนาการขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 จากเนื้อผ้าขนสัตว์ของสมัยก่อนหน้านั้นที่เป็นลายสาน (plaid) ที่ใช้ใส่นอกทูนิกหรือเสื้อชั้นใน (Chemise) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่ใช้ในไอร์แลนด์ ผ้าคลุมในระยะแรกนี้อาจจะเป็นสีพื้นหรือเป็นลายสานทาร์ทันที่ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สวม ลักษณะการแต่งตัวนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเท่าใดนักจากสิ่งที่นักรบเคลติคสวมในสมัยโรมัน[2]

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อขนแกะมีเหลือเฟือขึ้นผ้าที่ใช้ผืนที่ใช้ก็มีขนาดใหญ่ขึ้นจนต้องทำการจีบและเหน็บและคาดด้วยเข็มขัด ผ้าที่ใช้ในการแต่งตัวด้วยเข็มขัดเดิมเป็นนำเอาผ้าสองชิ้นที่แต่ละผืนมีความกว้างเท่ากับกี่มาเย็บติดต่อกันที่ทำให้กว้างราว 54 ถึง 60 นิ้วและยาวราว 6.4 เมตร ที่เรียกว่าคิลต์ใหญ่ที่ใช้จีบด้วยมือเป็นพลีทและคาดด้วยเข็มขัดเพื่อไม่ให้หลุด ส่วนบนใช้พันรอบไหล่ซ้าย ห้อยเลยลงมาต่ำกว่าเข็มขัด และพันด้านหน้า หรือพันรอบไหล่หรือศีรษะเพื่อกันลมหรือฝน คิลต์ใช้สวมบนเสื้อชั้นในโคร่งที่ยาวเลยเอวลงมาเล็กน้อย และสามารถใช้เป็นผ้าห่มได้ด้วย เสื้อชั้นในสีพื้นของชาวไอริชใช้จุ่มในไขมันห่านเพื่อทำให้กันน้ำได้

จากคำบรรยายจาก ค.ศ. 1746 กล่าวว่า:

"ผ้าที่ใช้เป็นผ้าที่เป็นชิ้นที่สามารถใช้ในการเดินทางได้อย่างรวดเร็ว กันภาวะอากาศต่างๆ ลุยน้ำ ปกป้องตนเอง ซึ่งเสื้อผ้าของผู้คนทางใต้ไม่อาจจะทนทานได้"[ต้องการอ้างอิง]

ตามประเพณีแล้วเมื่อมีการต่อสู้ ผู้เข้าต่อสู้ก็จะปลดคิลต์วางไว้ทางหนึ่ง และใส่แต่เสื้อชั้นในในการต่อสู้ คิลต์ใหญ่เริ่มใช้กันเมื่อใดก็ยังเป็นเรื่องที่โต้เถียงกันอยู่ บ้างก็ว่าเริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16t ภาพแกะสลักก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 16 ดูเหมือนจะเป็นภาพเสื้อที่มีความยาวถึงเข่าที่ทำด้วยหนัง ลินนิน หรือผ้าใบ เป็นจีบเพื่อใช้ในการคลุมกัน หลักฐานจากการบันทึกบรรยายคิลต์ใหญ่ที่มีเข็มขัดคาดมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1594.[2] คิลต์ใหญ่มักจะเป็นคิลต์ที่เกี่ยวข้องสกอตที่ราบสูง แต่ก็มีบ้างที่ใช้ในชนบทในโลว์แลนด์ การใช้คิลต์ลักษณะนี้ทำกันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต่อมาจนถึงทุกวันนี้

คิลต์สั้นหรือคิลต์เดินทาง

[แก้]
คิลต์กองทหารที่ราบสูงแบล็คว็อชหรือของตระกูลแคมพ์เบลล์

ในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 คิลต์สั้น หรือ “fèileadh beag” หรือ “philabeg” ใช้ผ้ากว้างเท่ากี่สวมแต่ตอนล่างของเข็มขัดและมาเป็นที่นิยมทั้งในที่ราบสูงและทางเหนือของโลว์แลนด์เมื่อมาถึง ค.ศ. 1746 ขณะที่คิลต์ใหญ่ก็ยังคงใช้กันอยู่ คิลต์เล็กวิวัฒนาการมาจากคิลต์ใหญ่ ซึ่งก็คือครึ่งล่างของคิลต์ใหญ่นั่นเอง

จดหมายที่พิมพ์ในวรสาร Edinburgh Magazine ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1785 โดยไอวาน เบลลีกล่าวว่าสิ่งที่เรียกกันว่าคิลต์ในขณะนั้นได้รับการประดิษฐ์ขึ้นราวคริสต์ทศวรรษ 1720 โดยทอมัส รอว์ลินสันจากแลงคาสเชอร์ รอว์ลินสันอ้างว่าตนเองได้ออกแบบคิลต์ใหม่สำหรับชาวที่ราบสูงที่ทำงานในโรงงานผลิตถ่านใหม่ในสกอตแลนด์ หลังจากการรณรงค์ทางทหารของจาโคไบต์ในปี ค.ศ. 1715 รัฐบาลก็เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนจากภายนอกสกอตแลนด์เข้าไปหาผลประโยชน์ในสกอตแลนด์ รอว์ลินสันเป็นนักธุรกิจคนหนึ่งที่ฉวยโอกาสนั้นหาผลประโยชน์ คิลต์ใหญ่ไม่สะดวกต่อการทำงานตัดต้นไม้ซึ่งทำให้รอว์ลินสันต้องนำคิลต์ใหญ่ไปให้ช่างตัดเสื้อดูเพื่อหาวิธีทำให้เป็นเครื่องแต่งกายที่สะดวกแก่การทำงานดีขึ้น ช่างตัดเสื้อก็ตัดครึ่งรอว์ลินสันนำกลับไปเสนอว่าเป็นเครื่องแต่งกายแบบใหม่ และชอบใจเอามากจนเริ่มแต่งตัวด้วยคิลต์เอง ตระกูลแม็คดอนเนลล์แห่งเกลนการ์รีเพื่อนร่วมงานชาวสกอตก็ติดใจและทำตาม

เรื่องเล่านี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากงานของนักประวัติศาสตร์ฮิวจ์ เทรเวอร์-โรพเพอร์ และจากหลักฐานเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีนี้เรื่องล้าสมัย เพราะมีรูปชาวไฮแลนเดอร์ที่แต่งตัวด้วยคิลต์เพียงครึ่งล่างมานานก่อนหน้าที่งรอว์ลินสันจะไปถึงสกอตแลนด์ บางข้อเสนอก็ว่าการใช้มีมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1690 แต่ที่แน่คือมีการใช้มาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18

การตรึงจีบเข้ากับคิลต์สั้นเป็นคิลต์สำเร็จเริ่มทำกันใน ค.ศ. 1792 คิลต์นี้ปัจจุบันเป็นของสมาคมทาร์ทันแห่งสกอตแลนด์ (Scottish Tartans Society) เป็นคิลต์ชิ้นแรกที่เรียกได้ว่าเป็นคิลต์สมัยใหม่เช่นที่พบกันทุกวันนี้ ก่อนหน้านั้นคิลต์จะพับหรือจีบด้วยมือแทนที่จะอัดกลีบ (pleated) การสร้างคิลต์สำเร็จทำให้การแต่งคิลต์ทำได้รวดเร็วขึ้นและนำมาใช้โดยกองทหารสกอตที่รับราชการในกองทัพของสหราชอาณาจักร คิลต์สำเร็จและเครื่องตกแต่งเข้ามาขยายความนิยมมาในหมู่พลเรือนระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และนิยมกันมาตั้งแต่บัดนั้น[2]

วิวัฒนการของคิลต์

[แก้]
ภาพเหมือนของเฮนรี แรเบิร์นในปี ค.ศ. 1812
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรทรงคิลต์ในปี ค.ศ. 1829

ลักษณะของระบบตระกูล (clan system) เป็นระบบที่สมาชิกของตระกูลจะมีความภักดีอย่างเหนียวแน่นต่อพระเจ้า พระมหากษัตริย์ และประมุขของตระกูลเท่านั้น การปฏิวัติของจาโคไบต์แสดงให้เห็นถึงอันตรายต่อรัฐบาลกลางจากตระกูลนักรบต่างๆ ในที่ราบสูง ซึ่งทำให้รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งสหราชอาณาจักร พยายามหาวิธีต่างๆ ในการรักษาความมั่นคงของประเทศที่รวมทั้งการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกาย (Dress Act) ในปี ค.ศ. 1746 ที่ระบุให้การแต่งตัวแบบที่ราบสูงที่รวมทั้งคิลต์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย (ยกเว้นแต่กองทหารสกอต) เพื่อที่จะพยายามทำลายวัฒนธรรมที่ราบสูง การลงโทษเป็นไปอย่างรุนแรง ถ้าทำผิดครั้งแรกก็จะถูกจำคุกหกเดือน ครั้งที่สองเจ็ดปี พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้อยู่ 35 ปี

ฉะนั้นนอกไปจากทหารที่สวมคิลต์แล้ว การแต่งตัวด้วยคิลต์จึงเลิกทำกันในสกอตที่ราบสูง แต่ในช่วงนั้นคิลต์กลายมาเป็นที่นิยมในบรรดาผู้นิยมความเป็นโรแมนติคชาตินิยมในการสวมคิลต์เพื่อเป็นการประท้วงการห้าม ทัศนคตินี้เป็นแนวโน้มที่เห็นว่าชาวที่ราบสูงเป็นชน "บรรพกาล" (primitive) ก่อน ค.ศ. 1745 ชาวโลว์แลนด์มีความหวาดกลัวชาวที่ราบสูง แต่หลังจากชาวที่ราบสูงหมดอำนาจลงชาวโลว์แลนด์ก็หันมาเห็นอกเห็นใจชาวที่ราบสูงและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คิลต์และสิ่งต่างๆ ที่แสดงวัฒนธรรมเกลลิคกลายมาเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของจาโคไบทิสม์ (Jacobitism) และในเมื่อหมดความหวาดกลัวชาวที่ราบสูงหายไป ก็ทำให้มามองเห็นชาวที่ราบสูงไปในทางโรแมนติด

เมื่อการห้ามการแต่งตัวแบบชาวที่ราบสูงมายกเลิกในปี ค.ศ. 1782 เจ้าของที่ดินชาวที่ราบสูงก็เริ่มก่อตั้งสมาคมที่ราบสูงที่มีจุดประสงค์ในการปรับปรุงและเผยแพร่การแต่งกายแบบโบราณของที่ราบสูง สมาคมเคลติคแหลเอดินบะระห์ที่มีวอลเตอร์ สกอตเป็นประธานสนับสนุนให้เจ้าของที่ดินเข้าร่วมในขบวนการนี้

การ์ตูนล้อเลียนสตรียุโรปผู้มีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับทหารสกอตที่ใส่คิลต์ ราว ค.ศ. 1815

คิลต์กลายมาเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องหมายของสกอตแลนด์ทั้งหมดเมื่อสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรเสด็จประพาสสกอตแลนด์ในปี ค.ศ. 1822 แม้ว่าขณะนั้นชาวสกอต 9 ใน 10 ตั้งถิ่นฐานอยู่ในโลว์แลนด์ ชาวสกอตและสมาคมที่ราบสูงจะจัดการ "การชุมนุมของเกล" แต่พยายามวางรากฐานใหม่ของวัฒนธรรมสกอตที่รวมทั้งชาวสกอตโลว์แลนด์โดยการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าตามประเพณีโบราณที่นำมาประยุกต์ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็ได้มีการรื้อฟื้นการใช้ลักษณะลวดลายทาร์ทันเฉพาะในการเป็นเครื่องหมายประจำตระกูล ก่อนหน้านั้นลักษณะลวดลายของทาร์ทันเป็นไปตามท้องถิ่นไม่ได้เป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง

หลังจากนั้นคิลต์ก็กลายเป็นที่นิยมกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสกอตแลนด์โดยนักโบราณวิทยา (antiquarian) นักโรแมนติค และอื่นๆ ผู้สรรเสริญ “ความโบราณ” และความเป็นธรรมชาติของคิลต์ การแต่งพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ด้วยคิลต์อันหรูหรา และ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียต่อมาทรงแต่งกายมหาดเล็กด้วยคิลต์ก็ยิ่งเป็นการเผยแพร่ความนิยมในการแต่งกายด้วยคิลต์ยิ่งแพร่หลายขึ้น คิลต์จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งสัญลักษณ์ประจำชาติของสกอตแลนด์ (Scottish national identity)

การใช้ทางทหาร

[แก้]
การใช้ทางทหาร

ตั้งแต่ ค.ศ. 1624 กองทหารที่ราบสูงก็แต่งตัวด้วยคิลต์ที่ต่อมาเป็น กองทหารสกอตแลนด์ (Scottish regiment) ในปี ค.ศ. 1739 เครื่องแบบคิลต์ใหญ่ทำให้เป็นมาตรฐานด้วยทาร์ทันสีเข้ม

นักปฏิวัติในขบวนการจาโคไบท์ (Jacobitism) หลายคนประยุกต์คิลต์มาใช้เป็นเครื่องแบบอย่างง่ายๆ และใช้โดยผู้สนับสนุนชาวอังกฤษระหว่างการก่อการจาโคไบท์ (Jacobite Rising) ในปี ค.ศ. 1745 หลังจากการก่อการรัฐบาลก็ตัดสินใจก่อตั้งกองทหารสกอตแลนด์เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการดึง “พลังอันร้อนรนของชนผู้แข็งแกร่ง”[3] กองทหารใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นกลายเป็นกองทหารที่มีประสิทธิภาพที่สหราชอาณาจักรส่งไปต่อสู้ในอินเดีย อเมริกาเหนือ และที่อื่นๆ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดความคิดที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่ออังกฤษในสกอตแลนด์ คิลต์ได้รับการยกเว้นจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกาย และใช้ลักษณะลวดลายทาร์ทันต่างๆ เป็นทาร์ทันประจำกอง กองทหารใหม่เลือกใช้คิลต์สั้นเป็นเครื่องแบบ และคิลต์ใหญ่เป็นเครื่องแต่งกายนอกเครื่องแบบและก็มายกเลิกไปในคริสต์ศตวรรษที่ 19

กองทหารสกอตแลนด์หลายกองสวมคิลต์ในการต่อสู้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเฉพาะในการต่อสู้อันดุเดือดของกองทหารที่ราบสูงแบล็คว็อชที่ทำให้ได้รับฉายาว่า “สตรีจากนรก” (Ladies from Hell) โดยกองทัพเยอรมัน

คิลต์มาเลิกใช้ในการเป็นเครื่องแบบในสนามรบก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ที่ยุทธการดันเคิร์กโดย โดนัลด์ คาลแลนเดอร์แห่งกองทหารรักษาพระองค์ที่ราบสูง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Merriam-Webster Dictionary: kilt". Merriam-Webster Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01.
  2. 2.0 2.1 2.2 Matthew Allen Newsome, "The Early History of the Kilt" The Scottish Tartans Museum: http://www.scottishtartans.org/kilt.html เก็บถาวร 2015-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Scottish Military History Society. "Introduction to the Lineage of Scotland's Regiments". Lineage of the Scottish Regiments. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 2007-05-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  • Hugh Trevor-Roper, "The Invention of Tradition: The Highland Tradition of Scotland." in The Invention of Tradition ed. Eric Hobsbawm and Terence Ranger. Cambridge: Cambridge University Press, 1983, ISBN 0-521-24645-8.
  • John Telfer Dunbar, History of highland dress: A definitive study of the history of Scottish costume and tartan, both civil and military, including weapons, ISBN 0-7134-1894-X.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คิลต์

[[ไฟล์:Lord Mungo Murray c1680.jpg|thumb|right|240px|ประมุขของตระกูลที่ราบสูง