ประเสริฐ ณ นคร

ประเสริฐ ณ นคร
นายกราชบัณฑิตยสถาน
ดำรงตำแหน่ง
12 เมษายน 2542 - 11 เมษายน 2546
ก่อนหน้าประยูร กาญจนดุล
ถัดไปอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2461
จังหวัดแพร่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (101 ปี)
คู่สมรสเยาวลักษณ์ ลีละชาติ (หย่า)
สมทรง ณ นคร
บุตร2 คน

ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร (21 มีนาคม พ.ศ. 2461 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2531 เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต ใกล้รุ่ง ในดวงใจนิรันดร์ แว่ว เพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศาสตราจารย์ประเสริฐสนใจงานด้านคณิตศาสตร์ สถิติ การคำนวณปฏิทิน การแต่งเพลง พันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาไทยโบราณ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับและอ้างถึงในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ การชำระประวัติศาสตร์สุโขทัย ถิ่นเดิมและตระกูลภาษาไทย หลักการสอบค้นเมืองสมัยสุโขทัย การแบ่งกลุ่มไทยตามตัวหนังสือ พจนานุกรมไทยอาหม ตัวอักษรไทยในล้านนา ที่มาของอักษรไทยล้านนาและไทยลื้อ นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งภายในและต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 100 บทความ

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์ประเสริฐเกิดในวันวสันตวิษุวัต ของปี ค.ศ. 1919 ตรงกับวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2461 (พ.ศ. 2462 ตามปฏิทินสากล) เวลา​ 10 นาฬิกา​ 20​ นาที​ สัมฤทธิศก ปีมะแม ตรงปักขทืนล้านนา ในวันเต่าสัน แรม 5 ค่ำ เดือน 6 (เดือนผัคคุณะ) จ.ศ. 1280 ปีเปิกสะง้า เป็นปีที่พิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพ เกิดที่ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรของบุญเรือง และกิมไล้ ศาสตราจารย์ประเสริฐสมรสกับเยาวลักษณ์ (สกุลเดิม ลีละชาติ) มีบุตรคือ ปิยพร ณ นคร หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วในปี พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ประเสริฐได้จดทะเบียนสมรสกับสมทรง (สกุลเดิม โหตระกิตย์) มีบุตรชื่อเสมอใจ บุญวิรัตน์

ศาสตราจารย์ประเสริฐเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในวงวิชาการว่า เป็นปรมาจารย์ในด้านไทยศึกษา ที่มีความรอบรู้ในลักษณะสหวิทยาการ ทั้งคณิตศาสตร์ สถิติ ประวัติศาสตร์ไทย ปฏิทินไทย ภาษาไทย จารึก ศิลปวรรณคดี และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นนักวิชาการที่ให้ความสำคัญกับการขยายขอบเขตของไทยศึกษา ไปสู่ไทศึกษาหรือการศึกษาเรื่องของชนเผ่าไทอื่น ๆ นอกประเทศไทย ผลงานทางวิชาการของท่านมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ถิ่นเดิมและตระกูลภาษาไท การสืบค้นภาษาไทในเมืองจีน แนวการปริวรรตอักษรพื้นเมืองล้านนา ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก เล่าเรื่องในไตรภูมิพระร่วง ความสำคัญของวรรณคดีท้องถิ่น หลักการสอบค้นเมืองสมัยสุโขทัย ประวัติศาสตร์ล้านนาจารึก ความเห็นเรื่องจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรื่องเกี่ยวกับ ศิลาจารึกสุโขทัย และศักราชในจารึกสมัยสุโขทัย เป็นต้น ผลงานเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง และใช้อ้างอิงในวงวิชาการเสมอมา นักวิชาการหลายสาขาอ้างอิงแนวคิดหรือข้อเสนอของท่าน เพียงใช้อักษรย่อว่า ป.ณ.[1]

การศึกษา

[แก้]

การทำงาน

[แก้]
  • พ.ศ. 2482 รับราชการเป็นนักเกษตรผู้ช่วยโท แผนกปฐพีวิทยา และอาจารย์วิทยาลัยเกษตร บางเขน กรมเกษตรและการประมง
  • พ.ศ. 2482-2486 ทำงานที่สถานีทดลองกสิกรรม ภาคพายัพ และเป็นอาจารย์โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่แม่โจ้
  • พ.ศ. 2487 เป็นอาจารย์โทแผนกวิศวกรรม คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2503 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นศาสตราจารย์
  • พ.ศ. 2507 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2515 ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุ
  • พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]
  • พ.ศ. 2522-2542 นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร, สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
  • พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล[3]
  • พ.ศ. 2529 นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2542 นายกราชบัณฑิตยสถาน

เกียรติคุณ

[แก้]
  • ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
  • ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • สมาชิก ฟาย กาปา ฟาย ในฐานะเรียนดีที่สหรัฐ
  • สมาชิก ซิกม่า ซาย ในฐานะนักวิจัยดีเด่นที่สหรัฐ
  • Distinguished Alumnus Award จาก The Philipines University
  • แผ่นเสียงทองคำ ประพันธ์เนื้อเพลง
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2531 ในกลุ่มสาขาปรัชญา (ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี) โดยสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
  • กิตติเมธี ในสาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2531-2533
  • รับพระราชทานพระเกี้ยวทองคำในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่นจาก คณะกรรมการรณรงค์ภาษาไทย พ.ศ. 2532จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น ในงาน 100 ปี นักเรียนทุนรัฐบาลไทย พ.ศ. 2537
  • ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พ.ศ. 2535
  • Asean Awards Literary พ.ศ. 2536
  • สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องท่านเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2535
  • คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติคัดเลือกเป็น บุคคลดีเด่นของชาติสาขาพัฒนาสังคม (ด้านประวัติศาสตร์และวรรณกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2540
  • โล่เกียรติยศ ผู้สร้างความก้าวหน้าทางวิชาการ พันธุศาสตร์ สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2540
  • ได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการตั้งชื่อโรงละคร สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตรว่า โรงละคร "ประเสริฐ ณ นคร" พ.ศ. 2544

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ชีวประวัติ ประเสริฐ ณ นคร[ลิงก์เสีย]
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. ได้รับแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๐, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]