บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ปราสาทซัวปรอต | |
---|---|
หมู่ปราสาททั้งสี่หลังจากสิบสองหลังในปราสาทซัวปรอต | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | นครธม |
จังหวัด | จังหวัดเสียมราฐ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เมืองพระนคร |
ประเทศ | ประเทศกัมพูชา |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°26′49″N 103°51′37″E / 13.44694°N 103.86028°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้สร้าง | พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 |
เสร็จสมบูรณ์ | ปลายศตวรรษที่ 12 |
วัด | 12 หอคอย |
ปราสาทซัวปรอต (เขมร: ប្រាសាទសួព្រ័តរ; อังกฤษ: Prasat Suor Prat) เป็นหมู่โบราณสถานมีลักษณะเหมือนกับหอคอยทั้งหมดสิบสองหลังที่ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ เรียงรายทางด้านตะวันออกของจตุรัสหลวงในนครธม ใกล้กับ จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา หมู่โบราณสถานหอคอยเหล่านี้สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายที่ขรุขระ จุดที่ตั้งของปราสาทซัวปรัตทั้งสิบสองหลังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับพระลานชนดำรีและพระลานเสด็จขี้เรื้อนขนาบข้างจุดเริ่มต้นของถนนที่มุ่งไปทางทิศตะวันออกสู่ประตูชัย ซึ่งทั้งสองข้างจัดวางอย่างสมมาตร และยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าหมู๋โบราณสถานใช้ในประโยชน์อะไร[1]
คนในท้องถิ่นของกัมพูชาและคนไทยมักเรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “ปราสาทนางสิบสอง” ตามจำนวนปราสาทสิบสองหลัง ผนวกเข้ากับนิทานพื้นบ้านนางสิบสอง–พระรถเมรี ซึ่งเป็นที่เป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวกัมพูชาและชาวไทย ซึ่งแท้จริงแล้วปราสาทนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับนิทานดังกล่าว[2]
โดยลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปะกรรม สัณณิฐานว่าหมู๋โบราณสถานนี้น่าจะสร้างขึ้นในประมาณรัชกาลสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2[3]
นามของหมู่โบราณสถานหอคอยในปัจจุบันในภาษาเขมรในปัจจุบันหมายถึง "หอคอยของนักแสดงไต่เชือก" ซึ่งเป็นแนวคิดจากการสัณณิฐานแบบโรแมนติกที่ได้มาจากความเชื่อในท้องถิ่นที่ว่าหมู่ปราสาทเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อรองรับลวดสูงที่ทอดยาวระหว่างพวกบรรดานักแสดงสำหรับการแสดงผาดโผนในช่วงงานเทศกาลของราชสำนัก อย่างไรก็ตามความเชื่อนี้เป็นเรื่องเล่าที่ยังไม่ได้รับรอง แต่จากบันทึกของโจว ต้ากวานได้เล่าอธิบายไว้ในบันทึกของเขาว่าหอคอยทั้งสองนี้ใช้เพื่อระงับข้อพิพาทหรือคดีความของชาวขอมโบราณ
— "บันทึก", โจว ต้ากวาน