ปลาฝักพร้า

ความหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว

ปลาฝักพร้า
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Macrochirichthys
Bleeker, 1860
สปีชีส์: M.  macrochirus
ชื่อทวินาม
Macrochirichthys macrochirus
(Val. in Cuv. & Val., 1844)
ชื่อพ้อง[1]
  • Leuciscus macrochirus Valenciennes, 1844
  • Leuciscus uranoscopus Bleeker, 1851
  • Macrocheirichthys laosensis Fowler, 1934
  • Macrochirichthys snyderi Fowler, 1905

ปลาฝักพร้า (อังกฤษ: Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; ญี่ปุ่น: カショーロバルブ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrochirichthys macrochirus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20–60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys[2]

เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย

เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง

ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ"[3], "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. "ITIS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
  3. ความหมายของคำว่า "ท้องพลุ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]