ปลาย่าดุก

ปลาย่าดุก
ปลาย่าดุก
ลำตัวเมื่อมองจากด้านบน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Batrachoidiformes
วงศ์: Batrachoididae
สกุล: Batrachomoeus
สปีชีส์: B.  trispinosus
ชื่อทวินาม
Batrachomoeus trispinosus
(Günther, 1861)
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง
  • Batrachomoeus broadbenti Ogilby, 1908
  • Batrachus trispinosus Günther, 1861
  • Halophryne trispinosus (Günther, 1861)
  • Pseudobatrachus eugeneius Fowler, 1937

ปลาย่าดุก (อังกฤษ: Freshwater lionfish, Three-spined frogfish) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batrachomoeus trispinosus อยู่ในวงศ์ปลาคางคก (Batrachoididae) มีรูปร่างหัวโต ปากกว้าง มีติ่งเนื้อสั้น ๆ อยู่รอบมุมปาก ตาโต ครีบอกเป็นวงกลมและแผ่กางได้ ครีบหลังและครีบท้องยาวไปจรดหาง ครีบหางเป็นวงกลม ลำตัวอ่อนนุ่ม ไม่มีเกล็ด พื้นสีลำตัวสีน้ำตาลมีแถบดำเป็นลายเลอะพาดตลอดทั้งตัว ขนาดโตได้เต็มที่ราว 30 เซนติเมตร

พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และยังพบในปากแม่น้ำ หรือในเขตน้ำกร่อยในภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบตั้งแต่อินโด-แปซิฟิก, ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลีย มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่ง ๆ ตามพื้นน้ำเพื่อดักรอเหยื่อ โดยสีของลำตัวกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สามารถกินปลาที่ใหญ่กว่าตัวได้ โดยปรกติปลาในวงศ์นี้จะมีพิษอยู่ที่เงี่ยงครีบหลังและครีบอก แต่ปลาย่าดุกทุกครีบเป็นครีบอ่อน ไม่มีพิษใดๆ เมื่อถูกจับพ้นน้ำจะส่งเสียงร้องว่า "อุบ อุบ"

เป็นปลาที่เมื่อกินเบ็ดแล้ว กินลึกลงถึงในคอ ในบางพื้นที่มีการบริโภค โดยเนื้อนุ่ม มีรสชาติอร่อย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยต้องทำการปรับสภาพน้ำให้อยู่ในน้ำจืดให้ได้เสียก่อน [1]

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาอุบ" หรือ "ปลาสิงโต" ในแวดวงปลาสวยงาม[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หน้า 110-129, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ. คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 3 ฉบับที่ 35: พฤษภาคม 2013

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]