ปลาสะแงะ | |
---|---|
A. b. bengalensis | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Anguilliformes Anguilliformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตูหนา Anguillidae |
สกุล: | Anguilla Anguilla (J. E. Gray, 1831) |
สปีชีส์: | Anguilla bengalensis |
ชื่อทวินาม | |
Anguilla bengalensis (J. E. Gray, 1831) | |
ชนิดย่อย | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ปลาสะแงะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla bengalensis) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายปลาไหล จัดอยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตูหนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย โดยสามารถยาวได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร ในตัวเต็มวัยครีบอกมีสีจาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ลำตัวด้านหลังมีสีเทาคล้ำอมเหลืองและมีประสีจางและคล้ำผสมกันคล้ายกับลายหินอ่อน ท้องมีสีน้ำตาลอมเหลือง พบมากในแม่น้ำสาละวินและสาขาในจังหวัดตาก และ แม่ฮ่องสอน และยังสามารถพบได้เป็นครั้งคราวในแม่น้ำของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต่างประเทศพบได้ในบริเวณแม่น้ำชายฝั่งของประเทศอินเดีย, พม่า และทวีปแอฟริกาแถบตะวันออก
ปลาสะแงะ มีบันทึกว่าพบครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็น คือ มีผู้จับได้ในคลองบางกะปิที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2469[ต้องการอ้างอิง] ด้วยความใหญ่โตของลำตัว ทำให้บางคนเชื่อว่า เป็นปลาไหลไฟฟ้าบ้าง บางคนก็คิดว่าเป็นพญานาค หรือมังกร โดยปลาตัวนั้นมีขนาดความยาว 65 เซนติเมตร
ว่ากันว่า ปลาชนิดนี้สามารถส่งเสียงร้องคล้ายเสียงเด็กทารกได้ด้วยในเวลากลางคืน พบน้อย หายาก เนื้อมีรสชาติอร่อย ราคาแพง และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกและแถบภาคตะวันตกไปจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีชื่อพื้นเมืองภาษากะเหรี่ยงว่า "หย่าที"
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Anguilla bengalensis ที่วิกิสปีชีส์