ปลาหมอแคระขี้เซา

ปลาหมอแคระขี้เซา
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Badidae
สกุล: Badis
สปีชีส์: B.  siamensis
ชื่อทวินาม
Badis siamensis
(Klausewitz, 1957)
ชื่อพ้อง[1]
  • Badis badis siamensis Klausewitz 1957

ปลาหมอแคระขี้เซา หรือ ปลาหมอแคระสยาม (อังกฤษ: Siamese badis; ชื่อวิทยาศาสตร์: Badis siamensis) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอแคระ (Badidae)

มีรูปร่างเหมือนปลาหมอ หรือปลากะพงทั่วไป แต่มีขนาดเล็ก ครีบก้นสั้น ปากเล็ก ตาโต ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีจุดประสีดำเหลือบและแดงสด ครีบหลังมีดวงสีคล้ำอยู่ระหว่างก้านครีบเกือบทุกอัน ขอบครีบสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหางสีเหลืองอ่อน

มีขนาดยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร

พบกระจายพันธุ์เฉพาะแหล่งน้ำที่ไหลลงตามแนวชายฝั่งด้านทะเลอันดามันของไทยตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่พบการกระจาย ในแหล่งน้ำที่ไหลลงลงตามแนวชายฝั่งด้านอ่าวไทย โดยค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต โดยมักอาศัยอยู่ใต้ใบไม้ร่วงและซอกหินใต้น้ำ วางไข่ไว้ในโพรงไม้ กินแพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนของแมลงน้ำเป็นอาหาร

เป็นปลาที่พบได้น้อย มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ไม่พบบ่อยนักในตลาดค้าปลาสวยงาม [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Allen, D. (2012). "Badis siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  2. ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 232 หน้า. หน้า 196. ISBN 974-484-148-6

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]