ปลาเสือตออินโดนีเซีย | |
---|---|
ปลาเสือตออินโดนีเซียในสยามโอเชียนเวิลด์ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Spariformes Spariformes |
วงศ์: | วงศ์ปลากะพงดำ Lobotidae |
สกุล: | วงศ์ปลาเสือตอ Datnioides Bleeker, 1854 |
สปีชีส์: | Datnioides microlepis |
ชื่อทวินาม | |
Datnioides microlepis Bleeker, 1854 | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาเสือตออินโดนีเซีย หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาเสือตออินโด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Datnioides microlepis) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จำพวกปลาเสือตอ มีรูปร่างคล้ายกับปลาเสือตอทั่วไป คือ เป็นปลากินเนื้อในกลุ่มปลากะพง หากินในเวลากลางคืน พฤติกรรมในธรรมชาติชอบที่จะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ ในระดับกลางน้ำหรือหลบอยู่ตามตอไม้หรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ
เดิมเคยถูกรวมเป็นชนิดเดียวกับปลาเสือตอลายใหญ่ (D. pulcher) ซึ่งพบในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย รวมถึงตามลำน้ำโขง แต่ในปี ค.ศ. 1998 ได้ถูกจำแนกออกเป็นชนิดต่างหากจากมอริส ก็อตลา มีลายสีดำแถบใหญ่พาดลำตัวในแนวตั้ง 5–6 แถบทั้งสองข้างเหมือนกับปลาเสือตอลายใหญ่ หรืออาจมีถึง 8 แถบ โดยแบ่งช่องว่างระหว่างเส้นได้ชัดส่วนชัดเจน แถบเส้นที่ 3 เริ่มต้นตรงกับก้านครีบหลังก้านแข็งชิ้นแรก โดยมีความแตกต่างจากปลาเสือลายใหญ่สำคัญ คือ แถบดำที่โคนครีบหางแถบแรกเชื่อมกับแถบดำแถบที่ 5 และหลายครั้งจะพบว่าเป็นลายที่ขาดตอน ไม่เชื่อมต่อกัน และมีขนาดรูปร่างที่เล็กกว่าปลาเสือตอลายใหญ่ รวมถึงสีลำตัวโดยรวมก็ซีดจางกว่า หรือบางตัวอาจถึงขั้นเป็นสีดำ แต่สีเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปได้ตามสภาพแวดล้อมและสภาพอารมณ์ของปลา หรือบางตัวลายแถบอาจจะเป็นเพียงลายแซมแทรกขึ้นมา ไม่ปรากฎเห็นชัดเจน ซึ่งต่างจากปลาเสือตอลายใหญ่[2]
เป็นปลาที่พบในประเทศอินโดนีเซีย เช่น เกาะสุมาตรา และกาลีมันตัน พบได้ในพื้นที่น้ำจืดและน้ำกร่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในปลาที่มีแถบ 8 แถบเรียกว่า "ปลาเสือตอลายคู่" มีปริมาณในธรรมชาติลดลง และยังไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยง[3]