ปลาแนนดัส | |
---|---|
ชนิด N. nandus ในอินเดีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anabantiformes |
วงศ์: | Nandidae |
สกุล: | Nandus Valenciennes, 1831 |
ชนิดต้นแบบ | |
Nandus marmoratus (= Coius nandus) Valenciennes, 1831 (Hamilton, 1822)[1] | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาแนนดัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาเสือดำ (Nandidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Nandus (/แนน-ดัส/)
เป็นปลาขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายใบไม้ ลำตัวแบนข้างมาก หัวโต ปากกว้างและยืดหดได้ ขากรรไกรบนยาวถึงหลังนัยน์ตา เยื่อที่ริมกระดูกแก้มแต่ละข้างแยกกันเป็นอิสระ มีกระดูกเป็นซี่แข็งปลายแหลมหนึ่งอันอยู่บนกระดูกแก้ม ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลม จำนวน 15-16 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 11-12 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแอหลม จำนวน 3 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 5-6 ก้าน เกล็ดเป็นแบบสากขอบหยัก เส้นข้างลำตัวแยกออกเป็น 2 ตอน
พบปลาขนาดเล็ก แม้จะมีสีสันไม่สวยงาม แต่ก็ยิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีไม้น้ำและพืชน้ำขึ้นหนาแน่น โดยมักจะอยู่นิ่ง ๆ จนดูคล้ายใบไม้ เพื่อรอดักเหยื่อซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว[2]