ปลาแปบควายไทพัส

ปลาแปบควายไทพัส
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Paralaubuca
สปีชีส์: P.  typus
ชื่อทวินาม
Paralaubuca typus
Bleeker, 1864
ชื่อพ้อง[1]

ปลาแปบควายไทพัส หรือ ปลาแปบไทพัส[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubuca typus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาแปบควายหรือปลาท้องพลุชนิดอื่นมาก โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ มีจุดสีดำที่โคนครีบอก และมีเส้นข้างลำตัวที่ไม่แน่นอน โดยจะแตกต่างไปในแต่ละตัว คือ มีเส้นข้างลำตัวหนึ่งเส้นทั้งสองข้างลำตัว หรือ มีเส้นข้างลำตัวสองเส้นทั้งสองข้างลำตัว หรือข้างหนึ่งมีเพียงเส้นเดียวแต่อีกข้างมีสองเส้น ก็มี

พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย รวมถึงแม่น้ำโขง กินแพลงก์ตอนสัตว์และแมลงเป็นอาหารตามผิวน้ำ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 18 เซนติเมตร[1] มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อวางไข่ตามฤดูกาล เป็นปลาที่ชาวอีสานนิยมนำมาบริโภคกันทั้งปรุงสดหรือแปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้ง ด้วยการจับโดยการใช้อวนหรือยกยอ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 134. ISBN 974-00-8701-9
  2. ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 116 หน้า. หน้า 37. ISBN 974-475-655-5 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]