ปลาแองหวู (สกุล)

ปลาแองหวู
ชนิด S. notabilis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Labeoninae
สกุล: Semilabeo
Peters, 1881
ชื่อพ้อง

ปลาแองหวู (เวียดนาม: Anh Vũ cá) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Semilabeo

ลักษณะ

[แก้]

ปลาแองหวู มีลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก สีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว มีจุดเด่น คือ มีส่วนปากบริเวณปากบนบริเวณรอบ ๆ ปากเป็นกระดูกอ่อนที่เป็นสันหนา เห็นได้ชัดเจน อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินอาหารบริเวณใต้พื้นน้ำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 20–30 เซนติเมตร

ชนิด

[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

วงจรชีวิต

[แก้]

มีวงจรชีวิตที่เป็นปลาอพยพและวางไข่ โดยจะพบได้เฉพาะในจีนตอนใต้และเวียดนามตอนเหนือเท่านั้น ในฤดูน้ำหลาก จะว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่ในลำธารที่ตื้น และน้ำใสสะอาด ก่อนที่ลูกปลาจะโตขึ้น และว่ายกลับคืนสู่น้ำลึกเมื่อโตขึ้น

รสชาติ

[แก้]

ปลาแองหวู เป็นอาหารรสเลิศมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะกับชาวเวียดนาม โดยในอดีต ขุนนางได้ออกล่าเพื่อเอาส่วนปากที่หนาไปเป็นเครื่องประดับบารมี เช่นเดียวกับนอแรด, เขากวาง, กรามหรือครีบของปลาฉลาม เป็นต้น และส่วนปากนั้น มีความเชื่อว่าเป็นยาเสริมสมรรถนะทางเพศเช่นเดียวกับยาไวอะกร้าในปัจจุบัน และส่วนกระเพาะก็เชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากเชื่อว่าปลาจำพวกนี้จะกินพืชที่ใต้น้ำลึกที่มีสรรพคุณทางยา

ความเสี่ยง

[แก้]

ปัจจุบัน ปลาแองหวูเป็นปลาที่หาได้ยากมากขึ้น ใกล้จะสูญพันธุ์มากขึ้น จากการจับมากขึ้นและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ในหลายพื้นที่ที่เคยพบก็หายสาบสูญไป ทำให้มีราคาขายที่แพงมาก ถึงกิโลกรัมละ 800,000 ด่ง (ประมาณ 38 ดอลลาร์) ถึง 1,000,000 ด่ง (ประมาณ 45 ดอลลาร์) ในกรุงฮานอย ซึ่งทางการเวียดนามจึงให้มีการเพาะขยายพันธุ์และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยวิธีการผสมเทียม[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Semilabeo". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. "Anh Vu Fish – A silent resurrection (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-11. สืบค้นเมื่อ 2012-04-12. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]