มีปัญหาสิ่งแวดล้อมจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
ทั้งแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม และสิ่งแวดล้อมนิยม ปรากฏในการอภิปรายทางการเมืองในช่วงยุคก้าวหน้าในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยมีสามตำแหน่งหลัก ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว—อันประกอบไปด้วย บริษัทไม้แปรรูปและเหมืองแร่ ที่ควรจะได้รับอนุญาตในการกระทำใด ๆ ต่อทรัพย์สินที่พวกเขาต้องการ[1]
แนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม นำโดยประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ และกิฟฟอร์ด พินโชท์ ผู้เป็นพันธมิตรใกล้ชิด กล่าวว่าวิธีการระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมนั้นมีความสิ้นเปลืองมากเกินไปและไม่มีประสิทธิภาพ ในหลาย ๆ กรณี พวกเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าทรัพยากรทางธรรมชาติโดยส่วนใหญ่ในรัฐทางตะวันตกต่างมีเจ้าของแล้วโดยรัฐบาลกลาง พวกเขาได้ถกเถียงกันถึงแนวทางที่ดีที่สุดของการดำเนินการ ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่คิดโดยผู้เชี่ยวชาญของประเทศ เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวจากทรัพยากรทางธรรมชาติ
แนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยม เป็นตำแหน่งที่สาม นำโดยจอห์น มูเยอร์ (ค.ศ. 1838–1914) ความรักของมูเยอร์ที่มีต่อธรรมชาติ ทำให้เขาเป็นชาวอเมริกันผู้มีอิทธิพลที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อมนิยม มูเยอร์ได้เทศน์แจงว่าธรรมชาติเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมนุษย์เป็นผู้บุกรุก ซึ่งควรที่จะตระหนักแต่กลับไม่พัฒนา เขาได้ก่อตั้งเซียร์ราคลับ ที่ยังคงเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม มูเยอร์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการกำหนดตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อม ในการอภิปรายระหว่างแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมนิยม
แนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยมได้สอนว่าธรรมชาติแทบจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมนุษย์เป็นผู้บุกรุก แนวคิดนี้ได้อนุญาตสำหรับการท่องเที่ยวแบบจำกัด (เช่นการเดินป่า) แต่ไม่เห็นด้วยกับการมีรถยนต์ในอุทยานแห่งชาติ และแนวคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับการตัดไม้บนที่ดินสาธารณะเป็นอย่างมาก และประณามอย่างรุนแรงต่อเขื่อนที่โรสเวลต์ได้รับการสนับสนุนสำหรับแหล่งน้ำ, ไฟฟ้า และการควบคุมน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งที่มีต่อเขื่อนเฮชเฮชชีในอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี ซึ่งโรสเวลต์ได้ทำการอนุมัติ และเป็นเครื่องมือผลิตน้ำประปาของซานฟรานซิสโก
สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล มากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีน[2] นโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกาได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ถึงการเรียกร้องให้หลายประเทศได้มีบทบาทเป็นผู้นำในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน[3] โดยที่สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในสองประเทศที่ไม่ได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต
ตั้งแต่ประมาณ 86% ของพลังงานทุกประเภทที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ส่งผลต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจก นโยบายพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการกำหนดโดยรัฐบาลกลาง, รัฐ และหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น ซึ่งเน้นถึงปัญหาด้านการผลิตพลังงาน, การแบ่งปัน และการบริโภค เช่น ร่างประมวลข้อบังคับอาคาร และความก้าวหน้าไมล์สะสมแก๊ส
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)