ปูขาว | |
---|---|
ปูขาว จากเบอกาซี เกาะชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์ขาปล้อง Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Crustacea Crustacea |
ชั้น: | Malacostraca Malacostraca |
อันดับ: | Decapoda Decapoda |
อันดับย่อย: | Pleocyemata Pleocyemata |
อันดับฐาน: | Brachyura Brachyura |
วงศ์: | วงศ์ปูว่ายน้ำ Portunidae |
สกุล: | Scylla Scylla Estampador, 1949 |
สปีชีส์: | Scylla paramamosain |
ชื่อทวินาม | |
Scylla paramamosain Estampador, 1949 |
ปูขาว, ปูทองหลาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla paramamosain) เป็นปูในสกุลปูทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ เป็นปูที่มีมูลค่าสูงสุดในสกุลปูทะเลเนื่องจากมีรสชาติและรสสัมผัสดี
ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนปูทะเล แตกต่างตรงที่ปูขาวมีหนามบริเวณขอบระหว่างนัยน์ตา 4 อัน สูงยาวแต่สั้นกว่าปูเขียว สัณฐานแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ปล้องกลางของกล้ามมีหนามแหลมชัดเจนเฉพาะด้านใน ขณะที่ด้านนอกไม่เด่นชัด บริเวณครึ่งบนของหน้าก้ามมีสีเขียวอมน้ำตาล มีจุดสีเขียวเข้มอมเหลืองกระจายอยู่ทั่ว ส่วนครึ่งล่างของหน้าก้ามมีสีเหลืองอ่อนหรือส้ม ลายร่างแห่เด่นชัดบริเวณขาคู่ที่ 4 และขาว่ายน้ำ[1] ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด มักสับสนกับปูเขียว เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกัน[2]
พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งในทะเลจีนใต้จนถึงทะเลชวา[3][4] โดยมักจะว่ายเข้ามาหากินตามป่าชายเลนตอนน้ำขึ้น กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กเกือบทุกชนิดเป็นอาหารรวมถึงซากสัตว์ต่าง ๆ และว่ายตามกระแสน้ำลงไปหลบฝังตัวอยู่ในโคลน โคลนปนทราย หรือทราย ตามพื้นคลองหรือแม่น้ำเมื่อน้ำลง[5] สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
Eulogio P. Estampador ระบุปูขาวเป็นชนิดย่อยของ Scylla serrata ใน ค.ศ. 1949[6][7] ปัจจุบัน ปูในประเทศจีนที่เคยระบุเป็น S. serrata ส่วนใหญ่เป็น S. paramamosain[8]