ผักแว่น หรือผักใบบัวบก เล็ก(ชื่อวิทยาศาสตร์: Marsilea crenata) เป็นเฟินน้ำชนิดหนึ่ง มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดอยู่ในวงศ์ Marsileaceae สกุล Marsilea มีลักษณะเป็นเหง้าเถาเลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำหรือโคลนเลน พบเห็นได้ทั่วไปตามริมน้ำหรือพื้นดินที่มีน้ำขังแฉะ สามารถนำมากินเป็นผักสด มีคุณค่าทางอาหาร และยังมีสรรพคุณทางยา
ผักแว่นมีลักษณะจำแนกออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้[1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแว่น
- ลำต้น – กลม มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ลำต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ใบ – เป็นใบประกอบ มีใบย่อยทั้งสี่ใบ รูปกรวยปลายมนเป็นรูปลิ่มคล้ายพัด มีเส้นใบแบบ dichotomous คล้ายบัวแฉก ขนาดใบกว้าง 0.6–1.5 เซนติเมตร ยาว 0.8–1.9 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบและแผ่นใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ไม่มีขน แผ่นใบจะงอกกออกจากตรงกลางตำแหน่งเดียวกัน 3–5 ใบ ทำให้ใบทั้งหมดรวมกันเป็นลักษณะกลม
- ก้านใบ – ยาว 4.5–15 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ มี Sporocarp ลักษณะรีคล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกที่โคนก้านใบขณะอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ
- ดอกช่อ – ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2–3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้เป็นดอกสมบูรณ์ bySand
- ใช้เป็นยาภายนอก รักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผล สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, Asiatic acid และ Asiaticoside acid ซึ่งช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ[2]
- น้ำต้มใบสด : รสจืดเย็นฝาดหวานเล็กน้อย สมานแผลในปากและลำคอ ดื่มระงับอาการร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย
- ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน ผักแว่นมักนำมากินเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่าง ๆ โดยสามารถนำมากินสดได้ทั้ง ใบอ่อน ก้านใบ และยอดอ่อน หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรูปแบบอื่น ๆ เช่น แกงผักแว่น ผัดเผ็ดหมูผักแว่น
- ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในเมืองสุราบายา มักนำผักแว่นเสิร์ฟพร้อมกับมันเทศและเพเซล (Pecel) ซึ่งเป็นซอสเผ็ดทำจากถั่วลิสงของอินโดนีเซีย[3]
- ชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) ใช้ผักแว่นทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม เพื่อแก้เจ็บคอ แก้เสียงแหบ
ผักแว่นคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) |
---|
พลังงาน | 627.6 กิโลจูล (150.0 กิโลแคลอรี) |
---|
|
| 1.2 ก. |
---|
|
|
| 1 ก. |
---|
|
|
แร่ธาตุ |
---|
แคลเซียม | (4%) 37 มก. |
---|
เหล็ก | (27%) 3.5 มก. |
---|
ฟอสฟอรัส | (9%) 66 มก. |
---|
|
|
|
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ |
ผักแว่นมีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นดังนี้[1]
- ภาคเหนือ/อีสาน/กลาง – ผักแว่น
- ภาคใต้ – ผักลิ้นปี่
- ชาวกะเหรี่ยง (ภาคเหนือ) – หนูเต๊าะ
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ผักแว่น