หมอกควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นปัญหามลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ซึ่งเกิดเป็นประจำ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และไทย ซึ่งสองประเทศหลังมีขอบเขตปัญหาน้อยกว่าสี่ประเทศข้างต้น[1][2] ปัญหาดังกล่าวปะทุขึ้นทุกฤดูแล้งโดยมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน[3] มีบันทึกหมอกควันข้ามแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2515[4]
หมอกควันดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากไฟเกษตรกรรมมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอย (slash-and-burn) ในขนาดอุตสาหกรรมในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจังหวัดสุมาตราใต้และรีเยาบนเกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียวส่วนของอินโดนีเซีย[5][6][7] ที่ดินซึ่งถูกเผานั้นสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าอย่างผิดกฎหมาย และมีการนำไปใช้สำหรับกิจกรรมอย่างการปลูกน้ำมันปาล์มและไม้ทำเยื่อกระดาษ (pulpwood) การเผามีราคาถูกกว่าและเร็วกว่าการตัดและการเก็บกวาดโดยใช้รถขุดหรือเครื่องจักรอื่น[5][8]
- ↑ "Regional Haze Action Plan". ASEAN.org. Haze Action Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Ramakreshnan, Logaraj; Aghamohammadi, Nasrin; Fong, Chng Saun; Awang, Bulgiba; Ahmad Zaki, Rafdzah; Wong, Li Ping; Sulaiman, Nik Meriam (2017-12-05). "Haze and health impacts in ASEAN countries: a systematic review". Environmental Science and Pollution Research (ภาษาอังกฤษ). 25 (3): 2096–2111. doi:10.1007/s11356-017-0860-y. ISSN 1614-7499. PMID 29209970.
- ↑ "Why is South-East Asia's annual haze so hard to deal with?". The Economist. 2013-07-07. สืบค้นเมื่อ 28 June 2014.
- ↑ Lee, Min Kok (2015-10-02). "Haze in Singapore: A problem dating back 40 years". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015.
- ↑ 5.0 5.1 Soeriaatmadja, Wahyudi (2015-10-12). "Minister blasts execs of firm that denied burning forest". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2015. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
- ↑ "What causes South East Asia's haze?". BBC News. 16 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ "Southeast Asia's haze: what's behind the annual outbreaks?". Agence France-Presse. 17 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ Fogarty, David (2015-09-27). "Lucrative illegal market for crop land a key cause of fires: Researcher". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.