ฝูลู่

ฝูลู่แบบที่นิยมติดเหนือทางเข้าหลักของบ้านเรือน เชื่อกันว่าช่วยป้องกันปีศาจเข้าบ้านได้

ฝูลู่ (จีนตัวเต็ม: 符籙; จีนตัวย่อ: 符箓; พินอิน: fúlù) เป็นสัญลักษณ์ ชุดตัวอักษร หรือการร่ายเวทย์ในลัทธิเต๋า[1][2] หรืออาจใช้เรียกแผ่นกระดาษเขียนสัญลักษณ์ดังกล่าว[3] ซึ่งเขียนหรือพิมพ์ลงบนแผ่นผ้าหรือแผ่นกระดาษโดยนักบวชเต๋า[4][5][6]

ผู้ปฏิบัติฝูลู่เรียกว่า ฝูลู่พ่าย (符籙派; fúlù pài; "สำนักฝูลู่") ซึ่งเป็นกลุ่มไม่เป็นทางการของนักบวชเต๋าสำนักต่าง ๆ เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่น ๆ ของลัทธิเต๋า ฝูลู่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในศาสนาเต๋า แต่ยังถูกนำไปใช้ในศาสนาพุทธแบบจีน และมีอิทธิพลต่อ โอฟูดะ ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นกับชินโต และ บูช็อค ที่ใช้ในลัทธิชามานเกาหลี

การออกแบบอักษรหรือสัญลักษณ์ของฝูลู่มักมีลักษณะลายเส้นที่ไม่เป็นรูปแบบแต่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรจีน บ่อยครั้งมักนำเอาคำที่มีอยู่เดิมมาทำให้ยาวขึ้นอาจด้วยการผสานสัญลักษณ์ที่ไม่ใช่ตัวอักษรเข้าไป[3] นักบวชเต๋าจะเป็นผู้ตีความระบบการเขียนที่ยืดหยุ่นนี้ ลักษณะตัวอักษรยังแตกต่างกันไปตามสำนักปฏิบัติ[3] วิธีการเขียนฝูลู่มักส่งต่อสืบทอดกันในสำนักจากอาจารย์สู่ศิษย์ และถือเป็นศาสนกิจพิเศษที่สามารถใช้สื่อสารกับดวงวิญญาณได้[3] ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฟูตัน เกอ เจากวง (Ge Zhaoguang) รพบุว่าลักษณะของฝูลู่ที่อ่านไม่ออกโดยคนทั่วไปนั้นถือเป็นการออกแบบให้เป็นการเลียนภาษาโบราณ (linguistic archaism) และจงใจออกแบบให้อ่านไม่ออกเพื่อเป็นดั่ง "ผ้าคลุมโลกอื่นที่สัมผัสไม่ได้" จะมีเพียงนักบวชจำนวนไม่กี่รูปที่ได้รับการคัดเลือกแล้วเท่านั้นที่จะสามารถผลิตฝูลู่ได้เอง[7]

ฝูลู่ยังถูกนำมาใช้เพื่อกการรักษาในฐานะส่วนหนึ่งของการแพทย์แผนจีนมานานหลายศตวรรษ[8] โดยรู้จักในชื่อ จูโยว (祝由; zhuyou) และได้รับการสนับสนุนโดยรัฐในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์หมิงตอนปลาย[9] กระนั้น การแพทย์แผนจีนร่วมสมัยปฏิเสธการใช้การรักษาแบบนี้ ท่ามกลางการใช้งานที่ยังคงแพร่หลายในปัจจุบันในลักษณะเทียบเท่ากับการสะกดจิต (hypnosis) ในโลกตะวันตก[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "符籙". Ninchanese. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  2. "符籙". ApproaChinese. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Daoist (Taoist) Charms - 道教品壓生錢 - Introduction and History of Daoist Charms". Gary Ashkenazy / גארי אשכנזי (Primaltrek – a journey through Chinese culture) (ภาษาอังกฤษ). 16 November 2016. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
  4. "灵符". Ninchanese. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  5. "灵符". Ninchanese. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  6. "灵符". ApproaChinese. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  7. Ge Zhaoguang, 中國宗教與文學論集, 57, cited in Yang, “Devouring Impurities,” 269. Similarly, Brigitte Baptandier, “Le Tableau talismanique de l'Empereur de Jade, Construction d'un objet d'écriture,” L’Homme 129 (1994): 59–92, argues that while talismanic diagrams are not intended to be read according to habitual linguistic conventions, through their symbols and script, they narrate mythologies and histories (among other things) and are therefore decipherable if not legible. However, she focuses on contemporary applications of talismans-diagrams that date from a more recent time when Daoism, especially in its more vernacular incarnations, was less concerned with establishing legitimacy and thus not as inclined to emphasise illegibility; see also Yang, “Devouring Impurities,” 269.
  8. Lin, Fu-shih. "「祝由」釋義:以《黃帝內經‧素問》為核心文本的討論". 中央研究院歷史語言研究所集刊. 83 (4): 671–738.
  9. Fan, Ka Wai (2004). 六朝隋唐醫學之傳承與整合. Hong Kong: 香港中文大學出版社. ISBN 9789629961558.
  10. Bernardi Junqueira, Luis Fernando (2021-06-08). "Revealing Secrets: Talismans, Healthcare and the Market of the Occult in Early Twentieth-century China". Social History of Medicine. 34 (4): 1068–1093. doi:10.1093/shm/hkab035. ISSN 0951-631X. PMC 8653939. PMID 34899068.