พงส์ สารสิน | |
---|---|
พงส์ ขณะกำลังศึกษาที่สหรัฐ | |
รองนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (4 ปี 126 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ ชาติชาย ชุณหะวัณ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 9 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 180 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (4 ปี 211 วัน) | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – 25 มกราคม พ.ศ. 2518 (1 ปี 33 วัน) | |
เลขาธิการพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 22 มกราคม พ.ศ. 2529 (1 ปี 219 วัน) | |
หัวหน้า | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | โกศล ไกรฤกษ์ |
ถัดไป | สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พงส์สิริ สารสิน 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (93 ปี) ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2518–2534) |
คู่สมรส | มาลินี วรรณพฤกษ์ |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ | เภา สารสิน (น้องชาย) อาสา สารสิน (น้องชาย) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยบอสตัน |
อาชีพ |
|
พงส์ สารสิน (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 2 สมัย และอดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม
นายพงส์ สารสิน (ชื่อเดิม : พงส์สิริ) เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[1] เป็นบุตรชายคนโตของนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของไทย กับ ท่านผู้หญิงสิริ สารสิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบัญชี จากมหาวิทยาลัยบอสตัน[2] สมรสกับคุณหญิงมาลินี วรรณพฤกษ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ นางพาสินี ลิ่มอติบูลย์ นางวัลลิยา สารสิน และ นายพรวุฒิ สารสิน
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พงส์เริ่มทำงานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาลาออก และทำงานที่กรมประมวลข่าว ช่วงกลางปี พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2500 จึงลาออกมาอยู่บริษัทไทยน้ำทิพย์เริ่มในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ
พงส์ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2516 ต่อมาได้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาร่วมกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อตั้งพรรคกิจสังคม และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ใน พ.ศ. 2527
พงส์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 2 สมัย[3]
พงส์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ พ.ศ. 2531 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4] และพ้นจากตำแหน่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533[5]
พงส์ สารสิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ