พรรคสหพัฒนาการ

พรรคสหพัฒนาการ
Partai Persatuan Pembangunan
ชื่อย่อPPP, พีตีกา (สาม P)
ผู้ก่อตั้งอิดฮัม คาลิด
โมฮัมมัด ชาฟาอัต มินตาเรอจา
อา. จกโรอามีโนโต
รุสลี ฮาลีล
มัชกูร์
สมัชชาชะรีอะฮ์ชุกร็อน มะอ์มูน
ประธานซูฮาร์โซ โมโนอาร์ฟา
เลขาธิการอาร์ซุล ซานี
คำขวัญMoving with the people (อินโดนีเซีย: Bergerak Bersama Rakyat)
ก่อตั้ง5 มกราคม 1973; 52 ปีก่อน (1973-01-05)
รวมตัวกับนะฮ์เฎาะตุลอุละมาอ์
ปาร์มูซี
พรรคสมาคมอิสลามแห่งอินโดนีเซีย
Perti
ที่ทำการจาการ์ตา
ฝ่ายเยาวชนKaaba Youth Movement
อุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบอิสลาม
ชาตินิยมอิสลาม[1]
ปัญจศีล
อนุรักษนิยม[2]
ศาสนาอิสลาม
เพลง"Mars PPP"
("PPP March")
หมายเลขบัตรเลือกตั้ง10
สภาผู้แทนราษฎร
19 / 575
[3]
สภาผู้แทนราษฎรประจำจังหวัด
92 / 2,207
เว็บไซต์
www.ppp.or.id แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

พรรคสหพัฒนาการ (United Development Party; อินโดนีเซีย: Partai Persatuan Pembangunan; PPP) เป็นพรรคการเมืองนิยมอิสลามในอินโดนีเซีย หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ สุรยาดาร์มา อาลีก่อตั้งเมื่อเดือกนมกราคม พ.ศ. 2516 เกิดจากการรวมตัวของพรรคมุสลิม 4 พรรคที่เข้าร่วมการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 เพื่อให้พรรคการเมืองเหล่านี้เข้ามาอยู่ในระบบใหม่ของซูฮาร์โต โดยต้องไม่ใช้กะอ์บะห์เป็นเครื่องหมายในการเลือกตั้ง และยอมรับหลักปัญจศีล บทบาทของพรรคลดลงใน พ.ศ. 2527 เมื่อนาห์ดาตุล อูลามา ถอนตัวออกจากพรรคและเลิกเล่นการเมือง ทำให้พรรคได้รับเลือกตั้งน้อยลงในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2530

เมื่อซูฮาร์โตหมดอำนาจใน พ.ศ. 2541 พรรคนี้ต้องแข่งขันกับพรรคนิยมอิสลามที่เกิดใหม่หลายพรรค แต่ก็เป็นพรรคที่มีบทบาทมากที่สุด ในการต่อต้านการชิงตำแหน่งของเมกาวตี ซูการ์โนบุตรีที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าข้างชาวคริสต์ และผลักดันให้อับดุลเราะห์มัน วาฮิดได้เป็นประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2542 หลังจากนั้น หัวหน้าพรรคคือ ฮัมซะห์ ฮัซ ได้เป็นรัฐมนตรีประสานงานสวัสดิการประชาชนแต่ก็ลาออกในปีเดียวกันนั้น

จุดกำเนิด

[แก้]

มีพรรคการเมือง 10 พรรคเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นจำนวนที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โตเห็นว่ามากเกินไป และต้องการลดให้เหลือ 2-3 พรรค การรวมตัวของพรรคการเมืองเหล่านี้ทำให้เกิดพรรคสหพัฒนาการ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของพรรคนิยมอิสลาม 4 พรรค ได้แก่ นะห์ดาตุล อูลามา พรรคมุสลิมแห่งอินโดนีเซีย พรรคสมาคมอิสลามแห่งอินโดนีเซีย และขบวนการการศึกษาอิสลาม การรวมตัวเกิดขึ้นเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2516

ฝ่ายค้านของระเบียบใหม่

[แก้]

พรรคสหพัฒนาการได้กลายเป็นฝ่ายค้านในสภา ทำให้ถูกซูฮาร์โตจับตา และมีการจับกุมประชาชนด้วยข้อหาว่าเกี่ยวข้องกับจีฮัด ทำให้ประชาชนมีความกังวลในการลงคะแนนให้พรรคสหพัฒนาการเพราะเกรงจะถูกข้อหาสนับสนุนกองกำลังจีฮัด พรรคโกลการ์ของรัฐบาลจึงชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2520 ได้คะแนน 62% ส่วนพรรคสหพัฒนาการได้คะแนนเพียง 27%

แม้จะพ่ายแพ้ แต่พรรคสหพัฒนาการยังคงต่อสู้ต่อไป ใน พ.ศ. 2521 ชาลิด มาวาร์ดี สมาชิกพรรคได้ออกมาโจมตีรัฐบาลว่าเป็นพวกต่อต้านมุสลิม และโจมตีการใช้ความรุนแรงของรัฐบาล พรรคสหพัฒนาการถือว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านที่เข้มแข็งที่สุด แต่พรรคได้คะแนนเสียงน้อยลงในพ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2530 ใน พ.ศ. 2527 นะห์ดาตุล อูลามา ที่มีอับดุลเราะห์มาน วาฮิดเป็นหัวหน้าได้แยกตัวออกไปในที่สุดพรรคตัดสินใจแทนที่อุดมการณ์อิสลามนิยมด้วยแนวคิดชาตินิยมในการต่อสู้กับรัฐบาล และหยุดใช้สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม

ยุคปฏิรูป

[แก้]

พรรคสหพัฒนาการจัดเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในยุคระเบียบใหม่ ซึ่งมีเพียง 3 พรรค หลังจากที่ซูฮาร์โตหมดอำนาจใน พ.ศ. 2541 พรรคกลับไปใช้แนวคิดอิสลามนิยมและได้คะแนนเสียง 11% ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542 ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้ของเมกาวตีได้คะแนนสูงและคาดว่าเมกาวตีจะได้เป็นประธานาธิบดี แต่กลุ่มของพรรคมุสลิมไม่ต้องการประธานาธิบดีหญิง จึงสนับสนุนอับดุลเราะห์มาน วาฮิดขึ้นเป็นประธานาธิบดี พรรคสหพัฒนาการเป็นพรรคแรกที่ถอนการสนับสนุนวาฮิด และต่อมามีผู้ถอนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 พรรคสหพัฒนาการเข้าร่วมในการถอดถอนวาฮิดออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และเสนอเมกาวตีเป็นประธานาธิบดี

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 พรรคสหพัฒนาการได้คะแนน 8.1% และสนับสนุนเมกาวตีเป็นประธานาธิบดี แต่ในที่สุด สุสีโล ยุโดโยโน ได้เป็นประธานาธิบดี ส่วนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2552 พรรคได้ 5.3% และได้ 37 ที่นั่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Al-Hamdi, Ridho. (2017). Moving towards a Normalised Path: Political Islam in Contemporary Indonesia. JURNAL STUDI PEMERINTAHAN (JOURNAL OF GOVERNMENT & POLITICS). Vol. 8 No. 1, February 2017. p.53, pp.56-57, p.62.
  2. https://carnegieendowment.org/2013/10/24/indonesia-s-political-parties-pub-53414#PPP
  3. "REKAPITULASI HASIL PEMILU LEGISLATIF DPR RI 2019". KPU RI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.
  • ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]