พระนารายน์ราชารามาธิบดี | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์กัมพูชา | |||||||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2301–2318 | ||||||||
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระรามาธิบดี (นักองค์ทอง) | ||||||||
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งกัมพูชา | ||||||||
ประสูติ | พ.ศ. 2283 | ||||||||
สวรรคต | พ.ศ. 2318 | ||||||||
พระอัครมเหสี | สมเด็จพระภัควดี พระเอกกระษัตรี สมเด็จพระภัควดี พระศรีสุชาดา | ||||||||
พระราชบุตร | นักองค์เม็ญ นักองค์อี นักองค์เภา นักองค์เอง | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน | ||||||||
ราชสกุล | ราชสกุลตระซ็อกประแอม | ||||||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระอุไทยราชา (นักองค์โสร์) | ||||||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระมหากระษัตรี (เภา) |
สมเด็จพระนารายน์ราชารามาธิบดี หรือ นักองค์ตน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชารัชกาลที่ 103 และเป็นพระโอรสของนักองค์โสร์ ผู้เป็นพระโอรสของพระรามาธิบดี (นักองค์ทอง) ประสูติประมาณ พ.ศ. 2282
[1]ในช่วงปลายรัชกาลของพระรามาธิบดี (นักองค์ทอง) เกิดการแย่งชิงอำนาจกันขึ้นในราชสำนักกัมพูชา สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ (องค์หิง) ผู้เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระศรีไชยเชษฐ์ พระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนที่สิ้นพระชนม์ไป นำสมัครพรรคพวกไปล้อมจับบนักองค์ตน นักองค์ตนได้หนีไปพึงสมเด็จพระโสร์ทศที่เมืองเปียม สมเด็จพระโสร์ทศจึงเกณฑ์กองทัพมาตีทัพของนักองค์หิงแตกไป นักองค์หิงถูกจับประหารชีวิต พระแก้วฟ้า (นักองค์ด้วง) อนุชาของนักองค์หิงหนีไปบวชแต่ก็ถูกจับสึกและถูกประหารชีวิตเช่นกัน นักองค์โนนและนักองค์ชี พระโอรสของพระศรีไชยเชษบ์และเป็นหลานของนักองค์หิงหนีไปบวช ชายาของนักองค์หิงได้ร่วมมือกับเจ้าฟ้าทะละหะ (เภา) และออกญาวงษาธิราช (โสม) จะจับนักองค์ตนฆ่า แต่นักองค์ตนรู้พระองค์ก่อน จึงรวบรวมทหารปราบพวกกบฏแตกพ่ายไปเมืองโพธิสัตว์ นักองค์โนนและนักองค์ชีได้หนีไปกับกลุ่มกบฏนี้ด้วย
ต่อมา ใน พ.ศ. 2300 พระรามาธิบดี (นักองค์ทอง) สิ้นพระชนม์ นักองค์ตนได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระอัยกา แล้วจึงรวบรวมทหารไปตีฝ่ายของพระศรีไชยเชษฐ์ที่ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์ให้เด็ดขาด ฝ่ายนักองค์ตนเป็นฝ่ายชนะ จับเชื้อสายของพระศรีไชยเชษฐ์ประหารชีวิตหมดสิ้น รวมทั้งนักองค์ชี ส่วนนักองค์โนนมีผู้มาช่วยพาหนีไปกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จากนั้น นักองค์ตนจึงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา
พระองค์ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบนิยมเวียดนาม และขอกำลังทหารเวียดนามมาช่วยเมื่อเกิดความขัดแย้งกับไทย ซึ่งในรัชกาลของพระองค์ เกิดสงครามกับสยามในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2312 สยามยกทัพไปตีบันทายเพชรทางบกแต่ไม่ทันสำเร็จ มีข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคต จึงเลิกทัพกลับมาก่อน อีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2314 ซึ่งหลักฐานทางฝ่ายไทยกล่าวว่าตีได้เมืองบันทายเพชร นักองค์ตนหนีไปเวียดนาม จึงอภิเษกให้นักองค์โนนขึ้นเป็นกษัตริย์กัมพูชา แต่หลักฐานทางกัมพูชากล่าวว่า สยามตีเมืองบันทายเพชรไม่สำเร็จ จึงให้นักองค์โนนประทับอยู่ที่เมืองกำปอต จน พ.ศ. 2318 เวียดนามที่สนับสนุนนักองค์ตนอ่อนแอลง นักองค์ตนจึงถวายราชสมบัติแก่นักองค์โนน พระองค์นั้นดำรงตำแหน่งพระมหาอุปโยราช จนสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2320
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เกิดการจลาจลในกัมพูชาเพื่อต่อต้านนักองค์โนน จนนักองค์โนนถูกสำเร็จโทษ พระโอรสของพระองค์คือนักองค์เองได้ครองราชสมบัติต่อมา