พระมนูไววัสวัต

พระมนูไววัสวัต
สืบทอดตำแหน่งจากพระมนูจักษุษะ
สืบทอดตำแหน่งโดยพระมนูสาวรณี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองShraddha
บุตร - ธิดาพระเจ้าอิกษวากุ, พระเจ้าธฤษฏะ, พระเจ้านฤษยันต์, พระเจ้าทิษย์, พระเจ้านฤห์, พระเจ้ากรุษะ, พระเจ้าสารยาตรี, พระเจ้านภากะ, พระเจ้าปรันศุ, พระเจ้าปริศตระ และ นางอิลลา
บิดา-มารดา

ในตำนานฮินดูระบุว่า พระมนูไววัสวัต (อักษรโรมัน: Vaivasvata Manu) หรือ พระสัตยพรต เป็นพระมนูองค์ปัจจุบัน เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน เขาเป็นพระมนูองค์ที่ 7 ในพระมนูทั้ง 14 องค์ที่เกิดขึ้นในกัปนี้ ตามความเชื่อของจักรวาลวิทยาฮินดูในปัจจุบัน

พระองค์เป็นพระโอรสของ สุริยเทพ วันหนึ่ง พระองค์ทรงพบกับมัสยาวตาร ซึ่งมาเตือนว่าจะเกิดน้ำท่วมโลกครั้งยิ่งใหญ่ไปจนถึงสวรรค์ สัตว์ทั้งหลายจะตายกันทั้งหมด แต่พระวิษณุจะทรงส่งเรือใหญ่มารับพระองค์ ให้ทรงเตรียมสัตว์น้อยใหญ่ไว้เป็นคู่ พรรณพฤกษ์ สมุนไพร และอัญเชิญพระฤๅษีทั้ง 7 ตน มาด้วย [1]

บรรพบุรุษ

[แก้]

ตามในปุรณะของฮินดูระบุว่า ลำดับวงศ์ตระกูลของพระองค์มี ดังนี้[2]

  1. พระพรหม
  2. มารีจี หนึ่งใน ปชาบดีทั้ง 10 ที่พระพรหมทรงสร้างขึ้น
  3. กัสยปะ ลูกของมาริจีกับภรรยาทั้ง 13 คน ระหว่าง นางอธิติ, นางธิติ, และนางกะลาซึ่งเป็นภรรยาเอก ฤๅษีกัสยปะถือเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของมนุษยชาติ
  4. พระอาทิตย์ โอรสของ กัสยปะ และ นางอธิติ
  5. พระมนูไววัสวัต เพราะเป็นบุตรของพระอาทิตย์และ นางสัญญา เขายังเป็นที่รู้จักในนามกษัตริย์สัตยพรต ปกครองภูมิภาคดราวิเดียนทั้งหมด

มหาอุทกภัย

[แก้]

พระมนูไววัสวัตเป็นกษัตริย์ของ ดราวิเดียน ในยุคของ มัสยปุราณะ[3] ตามในบันทึกของ มัตสยาปุราณะ, มัตสยา คือ อวตาร ของพระวิษณุ อวตารลงมาในชื่อ ศผริ (ปลาตะเพียนน้อย) ได้เดินทางไปหาขณะที่เขาล้างมือในแม่น้ำที่ไหลลงมาจาก เทือกเขามัลยะ[4]

เมื่อพบเห็นเช่นนั้น ก็เกิดความสงสาร จึงช้อนลูกปลานั้นมาใส่หม้อเพื่อจะนำไปปล่อยในแหล่งน้ำซึ่งสมบูรณ์กว่า แต่เมื่อนำลูกปลานั้นมาใส่ในหม้อ ก็ปรากฏว่าลูกปลาตัวนั้นกลับตัวใหญ่ขึ้นอีกจนคับหม้อ เป็นดังนั้น จึงทรงจัดหาภาชนะขนาดใหญ่ถึง 2 โยชน์ (16 ไมล์) มาเปลี่ยน[5][6] ปลานั้นก็โตใหญ่จนคับภาชนะ จึงทรงจำต้องเปลี่ยนที่ใส่ปลาอีก โดยนำไปปล่อยไว้ในสระ ปลาก็โตเต็มสระอีก เมื่อเป็นเช่นนั้น พระมนูจึงได้นำปลาตัวนั้นไปปล่อยยังมหาสมุทร หลังจากนั้นก็เติบโตจนเกือบเต็มท้องทะเลอันกว้างใหญ่

ขณะนั้นเองที่พระวิษณุเปิดเผยพระองค์ได้ทรงแจ้งพระราชาเรื่องอุทกภัยอันทำลายล้างซึ่งจะมาถึงในไม่ช้านี้[7][8][9] โดยให้พระองค์ทรงสร้างเรือลำใหญ่ซึ่งไว้ส่งพระประยูรญาติของพระองค์, สัปตฤๅษี, เมล็ดพืชเก้าชนิด และสัตว์ต่าง ๆ เพื่อเติมแผ่นดินโลก หลังจากน้ำท่วมโลกและมหาสมุทรและทะเลจะลดน้อยลง ซึ่งในช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัย พระวิษณุแปลงกายเป็นปลามีเขา และพญานาคแปลงกายเป็นเชือก ซึ่งพระองค์ก็ทรงผูกเรือไว้กับเขาปลา[10]

เรือจอดอยู่บนยอดเขามัลยาในขณะที่น้ำท่วม[7][8][11] หลังเหตุการณ์น้ำท่วม ครอบครัวของพระองค์และพระฤๅษีทั้งเจ็ดได้เพิ่มประชากรโลกให้มากขึ้น ซึ่งในปุราณะเล่าว่า เรื่องราวของมนูเกิดขึ้นก่อน 28 จตุรยุค เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราว 120 ล้านปีก่อน[12][13][14]

การเล่าเรื่องนี้คล้ายกับตำนานน้ำท่วมอื่น ๆ เช่น ตำนานน้ำท่วมกิลกาเมช และการเล่าเรื่องน้ำท่วมในปฐมกาล[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Hare Krsnas – The Manus – Manus of the Present Universe
  2. Francis Hamilton (1819). Geneaolgies of the Hindus: extracted from their sacred writings; with an introduction and alphabetical index. "Printed for the author". p. 89.
  3. Alain Daniélou (11 February 2003). A Brief History of India. Inner Traditions / Bear & Co. p. 19. ISBN 978-1-59477-794-3.
  4. David Dean Shulman (1980). Tamil Temple Myths: Sacrifice and Divine Marriage in the South Indian Saiva Tradition. Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-5692-3.
  5. DRISCOLL, Ian Driscoll; KURTZ, Matthew Atlantis: Egyptian Genesis, 2009.
  6. Sacred Texts. Section CLXXXVI
  7. 7.0 7.1 S'rîmad Bhâgavatam (Bhâgavata Purâna)Canto 8 Chapter 24 Text 12
  8. 8.0 8.1 The story of Vedic India as embodied ... – Google Books. 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08.
  9. Matsya Purana, Ch.I, 10–33
  10. Matsya Purana, Ch.II, 1–19
  11. The Matsya Purana เก็บถาวร 26 มีนาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. "G. P. Bhatt (ed.), The vayu purana, part-II, 1st ed., 784—789, tr. G. V. Tagare. In vol.38 of Ancient Indian Tradition and Mythology, Delhi: Motilal Banarsidass, 1988". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  13. "J. L. Shastri (ed.), The kurma-purana, part-I, 1st ed., 47—52, tr. G. V. Tagare. In vol.20 of A.I.T.&M., Delhi: Motilal Banarsidass, 1981". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  14. "J. L. Shastri (ed.), The Narada purana, part-II, 1st ed., p. 699, tr. G. V. Tagare. In vol.16 of A.I.T.&M., Delhi: Motilal Banarsidass, 1981". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  15. Klaus K. Klostermaier (5 July 2007). A Survey of Hinduism: Third Edition. SUNY Press. p. 97. ISBN 978-0-7914-7082-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]