พระยาอายลาว | |
---|---|
กษัตริย์แห่งเมาะตะมะ | |
ครองราชย์ | ป. มิถุนายน ค.ศ. 1330 – ปลายค.ศ. 1348 |
ก่อนหน้า | พระยาอายกำกอง |
ต่อไป | พระยาอู่ |
ข้าหลวงแห่งพะโค | |
ครองราชย์ | ป. ปลายคริสต์ทศวรรษ 1320 – ป. มิถุนายน ค.ศ. 1330 |
ก่อนหน้า | พระเจ้ารามมะไตย (ในฐานะกษัตริย์) |
ต่อไป | ? |
กษัตริย์ | พระเจ้ารามมะไตย |
ข้าหลวงแห่งสะโตง | |
ครองราชย์ | ป. กลางคริสต์ทศวรรษ 1320 – ป. ปลายคริสต์ทศวรรษ 1320 |
ก่อนหน้า | ? |
ต่อไป | Smin Ngaw |
กษัตริย์ | พระเจ้ารามมะไตย |
ประสูติ | 13 มีนาคม ค.ศ. 1308 วันพุธ แรม 5 ค่ำ ปลายเดือน Tagu 669 ME เมาะตะมะ อาณาจักรเมาะตะมะ |
สวรรคต | ปลาย ค.ศ. 1348 (40 พรรษา) 710 ME เมาะตะมะ อาณาจักรเมาะตะมะ |
ชายา | นางจันทะมังคะละ พระนางตะละชินซอบุต |
พระราชบุตร | พระยาอายลอง |
ราชวงศ์ | ฟ้ารั่ว |
พระราชบิดา | พระเจ้ารามประเดิด |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระยาอายลาว (พม่า: ဗညားအဲလော, ออกเสียง: [bəɲá ʔɛ́ lɔ́] บะญ่าแอลอ; 1308 – 1348/49) เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้ารามประเดิด (ခွန်လော คูนลอ) กษัตริย์รัชกาลที่ 2 เดิมทรงครองเมืองซิต้อง ต่อมานางจันทะมังคะละ (စန္ဒာမင်းလှ) พระขนิษฐาต่างพระมารดา ได้สนับสนุนพระองค์ให้ขึ้นสืบราชบัลลังก์[1]เป็นพระเจ้าเมาะตะมะรัชกาลที่ 7 แล้วทรงสถาปนานางจันทะมังคะละเป็นพระอัครมเหสี[2] ครองสิริราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1330 ถึง 1348/49 พระองค์ได้รับชัยชนะเหนืออาณาจักรสุโขทัย ระหว่างการรุกรานของสุโขทัยเมื่อ ค.ศ. 1330/31 เป็นจุดสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเมาะตะมะและกรุงสุโขทัย
ตลอดรัชสมัยของพระยาอายลาวพระองค์มิได้สถาปนาผู้ใดเป็นรัชทายาท ทำให้พระยาอายลอง (ဗညားအဲလောင်) พระราชโอรสองค์เดียวของพระยาอายลาวและ เจ้ามุนะ พระราชโอรสองค์เดียวของพระเจ้ารามมะไตย (စောဇိတ် ซอเซย์) กษัตริย์รัชกาลที่ 4 ที่ประสูติแต่นางจันทะมังคะละต่างพยายามแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาท กระทั่งพระยาอายลองสิ้นพระชนม์และพระยาอายลาวสวรรคตจากนั้นได้ไม่นานเจ้ามุนะจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็นพระยาอู่