พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

พระวิมาดาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
พระองค์เจ้าชั้นโท
กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
พระอรรคชายา
ดำรงพระยศพ.ศ. 2421 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
ประสูติ4 กันยายน พ.ศ. 2406
วังท้ายวัดพระเชตุพน กรุงเทพมหานคร
สิ้นพระชนม์24 มิถุนายน พ.ศ. 2472 (65 ปี)
วังสวนสุนันทา จังหวัดพระนคร
พระสวามีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบุตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
พระมารดาเจ้าจอมมารดาจีน

พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (เดิม: หม่อมเจ้าสาย; 4 กันยายน พ.ศ. 2406 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี และเจ้าจอมมารดาจีน เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับพระโสทรเชษฐภคินี คือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์

พระประวัติ

[แก้]

พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าสาย ประสูติเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2405 [1] เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่หม่อมจีน (ต่อมาหม่อมจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าจอมมารดาจีน)[note 1] มีพระนามที่เรียกกันในครอบครัวว่า เป๋า

หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ เมื่อประสูติ ประทับอยู่ที่วังของพระบิดา โดยมีสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร เป็นผู้อภิบาล มีพระโสทรเชษฐภคินีสองพระองค์ และได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอรรคชายาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกันทั้งสามพระองค์ คือ

พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าทรงอิสริยยศเป็นพระมเหสี ตำแหน่ง พระอรรคชายาเธอ มีหน้าที่ควบคุมดูแลห้องพระเครื่องต้น ของเสวยคาวหวาน อีกทั้งทรงเป็นผู้ที่ตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย บริเวณตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง อุทิศพระกุศลประทานพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ที่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงรับเด็กกำพร้าและเด็กยากจนมาเลี้ยงดู สอนให้เล่าเรียน และฝึกวิชาชีพทั้งหญิงและชาย ทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) ในสมัยหนึ่งอีกด้วย[2]

พระองค์ประชวรด้วยพระโรคเนื้อร้ายในช่องพระโอษฐ์ สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักในสวนสุนันทา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472 สิริพระชันษา 65 ปี ได้รับพระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ[3] และได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ในวันออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพ (พระโกศทองใหญ่เป็นพระโกศชั้นสูงสุดสำหรับทรงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระอัครมเหสี) และพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2473 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[4]

พระราชโอรส-ธิดา

[แก้]

พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมด 4 พระองค์ เป็นพระราชโอรส 1 พระองค์ เป็นพระราชธิดา 3 พระองค์ ทั้งหมดเดิมมีพระอิสริยยศเป็น "พระองค์เจ้า" ภายหลังได้รับพระราชทานพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้า" ดังนี้

ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่อภิเษกสมรส พระบุตร
1
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ช. 17 มีนาคม พ.ศ. 2426 8 เมษายน พ.ศ. 2475 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
หม่อมราชวงศ์ลดา ยุคล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
2
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา
ญ. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 31 สิงหาคม พ.ศ. 2432 - -
3
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
ญ. 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467 - -
4
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
ญ. 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 29 มกราคม พ.ศ. 2479 - -

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมพระสุทธาสินีนาฏ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 4 กันยายน พ.ศ. 2406 – พ.ศ. 2421 : หม่อมเจ้าสาย
  • พ.ศ. 2421 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431 : พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย
  • 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2468 : พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ[5]
  • 21 มีนาคม พ.ศ. 2468 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472 : พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา[6]

พระอิสริยยศสุดท้ายนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามและเลื่อนกรม ทั้งนี้ คำว่า "วิมาดา" แปลว่า แม่เลี้ยง ซึ่งพระองค์ทรงเป็นเจ้านายพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาไว้ในพระอิสริยศักดิ์นี้อย่างเป็นทางการ ส่วนสร้อยพระนาม "ปิยมหาราชปดิวรัดา" นั้น คำว่า "ปดิวรัดา" (อ่านว่า ปะดิวะรัดดา) แปลว่า ภริยาที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
พัดรองตราพระนามาภิไธยย่อ "สสภ" สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษา 5 รอบ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อปี พ.ศ. 2466 ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[3]

พันธุ์พืชอันเนื่องด้วยพระนาม

[แก้]
  • บัวสุทธาสิโนบล บ้างเรียก "ม่วงกษัตริย์" (Royal Purple) บัวสายดอกใหญ่สีม่วงอมน้ำเงินหรือม่วงอมแดงที่เรียกว่าสีกุหลาบแก่ กลิ่นหอมแรง มีถิ่นกำเนิดบนเกาะแซนซิบาร์ ประเทศแทนซาเนีย พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอรรคชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2444 จึงได้รับการขนานนามว่า “สุทธาสิโนบล”

พงศาวลี

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. เจ้าจอมมารดาจีน (เดิมคือหม่อมจีน ลดาวัลย์ ณ อยุธยา - หม่อมห้ามเจ้านายตามปกติ แต่รัชกาลที่ ๕ สถาปนาให้มียศเป็นเจ้าจอมมารดา ทั้งที่ไม่ได้เป็นพระสนมในพระมหากษัตริย์รัชกาลใดเลยนั้นเพราะว่าเจ้าจอมมารดาจีนเป็นขรัวยายของเจ้าฟ้าพระราชโอรส-ธิดาในรัชกาลนั้นถึง ๖ พระองค์)

อ้างอิง

[แก้]
  1. จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพ : มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2548. 398 หน้า. ISBN 974-322-964-7
  2. อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง เก็บถาวร 2009-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์สภากาชาดไทย
  3. 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๔๖, ตอน ง, ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๙๙๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, การพระเมรุท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพ พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา, เล่ม ๔๗, ตอน ง, ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓, หน้า ๑๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม 5, ตอน 8, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431, หน้า 61
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 21 มีนาคม พ.ศ. 2468, หน้า 372
  7. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 696
  8. ราชกิจจานุเบกษา, การเฉลิมพระสุพรรณบัตร ตั้งกรมฝ่ายใน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล, เล่ม ๒๒, ตอน ๘, ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๘, หน้า ๑๕๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444, หน้า 874
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 36, ตอน 0, 1 มิถุนายน พ.ศ. 2462, หน้า 537
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3114