พระเจ้าเมงจีโย

พระเจ้าเมงจีโย
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าเมงจีโยในตองอู
พระเจ้าเกตุมะดี
ครองราชย์16 ตุลาคม พ.ศ. 2053 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2073
ราชาภิเษก11 เมษายน พ.ศ. 2054
ก่อนหน้าตั้งราชวงศ์ใหม่
รัชกาลถัดไปตะเบ็งชะเวตี้
อุปราชแห่งเกตุะมดี
ระหว่างเมษายน พ.ศ. 2028 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2053
ก่อนหน้าเมงสีตู
ถัดไปเมงเยสีหตู
ประสูติกรกฎาคม พ.ศ. 2002
อังวะ
สวรรคต24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2073 (ชันษา 71)[1]
ตองอู
ชายาโซมีนเทะทีน
สิริมหาจันทาเทวี
พระนางรัตนาเทวี
มหาเทวี
พระนางราชเทวี
พระราชบุตรตะเบ็งชะเวตี้
อตุลสิริ
ราชวงศ์ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาMaha Thinkhaya
พระราชมารดาMin Hla Nyet
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าเมงจีโย (สำเนียงพม่าออกว่า มินจีโหญ่) (อังกฤษ: Mingyinyo, พม่า: မင်းကြီးညို) หรือ พระเจ้าสิริชัยสุระ ตามพงศาวดารไทย หรือในนวนิยายผู้ชนะสิบทิศเรียก เมงกะยินโย เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู ราชวงศ์และอาณาจักรที่ 2 ของประวัติศาสตร์พม่า พระเจ้าเมงจีโยเดิมเป็นนายทหารที่มีความสามารถในการรบ ได้ทำการรวบรวมชาวพม่าที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกามภายหลังการโจมตีของมองโกล โดยได้รับความช่วยเหลือจากขุนนางสำคัญหลายคน เช่น เมงเยสีหตู (บางคนถูกสมมติเป็นตัวละครในนวนิยายผู้สิบทิศ เช่น มหาเถรวัดกุโสดอ)

พระเจ้าเมงจีโยได้สถาปนาเมืองตองอู ซึ่งเป็นเมืองในขุนเขาเป็นปราการที่ดีขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจใหม่ ต่อมามีการแผ่ขยายอำนาจเข้ายึดเมืองแปรโดยสามารถรบชนะพระเจ้านรปติแห่งแปรได้สำเร็จ ต่อมาคิดจะเข้ายึดเมืองหงสาวดีที่มีพระเจ้าสการะวุตพีเป็นกษัตริย์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากพระเจ้าเมงจีโยสวรรคตเสียก่อน

ในมหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ระบุว่า พระองค์ได้พบกับพระมเหสีเมื่อเสด็จทอดพระเนตรการสร้างเขื่อน ซึ่งต่อมามีพระโอรสเพียงพระองค์เดียว ที่ได้ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

พระเจ้าเมงจีโย สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2074 พระนามของพระองค์อาจแปลได้ว่า "พระองค์ดำ" (มิน = กษัตริย์, จี = ยิ่งใหญ่, โหญ่ = ดำ) [2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hmannan Vol. 2 2003: 182
  2. ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์. บุเรงนอง (กะยอดินนรธา) กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2550. 214 หน้า. ISBN 974-323-512-4
  3. "กำเนิดอยุธยาและวาระสุดท้ายสุริโยทัย โดย วีระ ธีรภัทร และ ดร.สุเนตร ชุตินธานนท์". ตรินิตี้เรดิโอ F.M. 97.00 Mhz. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (in Burmese). 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
ก่อนหน้า พระเจ้าเมงจีโย ถัดไป
สิ้นสุดราชวงศ์พุกาม
พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 2)

(พ.ศ. 2053 - พ.ศ. 2073)
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้