พระนางวัลลี | |
---|---|
เทพีแห่งอิจฉาศักติ (इच्छा-शक्ति/Iccha-Shakti) หรือ พลังแห่งความปรารถนา[1] | |
พระขันธกุมารพร้อมด้วยพระนางเทวเสนาและพระนางวัลลี จิตรกรรมแบบประเพณีอินเดียประยุกต์ โดย ราชา รวิ วรรมา | |
ชื่ออื่น | สุนทรวัลลี |
ชื่อในTamil | வள்ளி |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ลัทธิไศวะ, ลัทธิไวษณพ |
ที่ประทับ | สกันทโลก |
พาหนะ | กวาง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระขันธกุมาร |
บิดา-มารดา | พระนารายณ์ และ เจ้าแม่ลักษมี (ในภาค สุนทรวัลลี) Nambi (Valli) |
พี่น้อง | นางเทวเสนา |
วัลลี (ทมิฬ: வள்ளி) ("ไม้เลื้อย, ต้นมันเทศ")[2] เป็นเทพีในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูและนางเป็นหนึ่งในเทพชายาของพระขันทกุมาร ในเทพปกรณัมพราหมณ์ - ฮินดูในอินเดียฝ่ายใต้ทั่วไปนั้น นามเดิมของพระนางนั้นคือ สุนทรวัลลี[3] บุตรีของพระวิษณุ
ในเทพปกรณัมของคัมภีร์กัณฑปุราณะ ซึ่งเป็นภาคแปลเป็นภาษาทมิฬของคัมภีร์สกันทปุราณะ นางสุนทรวัลลี และ นางอมฤตวัลลี สองธิดาของพระวิษณุ[4] มีจิตปฏิพัทธ์ผูกสมัครด้วยองค์พระสกันทกุมาร โดยทั้งสองนางมีความปารถนาจะเสกสมรสกับเทพบุรุษองค์นี้ทั้งสองนาง[5] ตามเทพปกรณัมพรามณ์ - ฮินดูของอินเดียภาคใต้นั้น กล่าวกันว่านางสุนทรวัลลีและเชษฐภคินีของนาง ประสูติจากอัสสุชลแห่งความสุขที่พระวิษณุหลั่งไหลระหว่างที่ทรงอวตารในภาคเป็นวามนะหรือจากแสงที่เปล่งออกมาจากดวงตาข้างหนึ่งของพระวิษณุในระหว่างสภาวะจักรวาลของพระองค์[6]