พะยอม

พะยอม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ชบา
Malvales
วงศ์: วงศ์ยางนา
Dipterocarpaceae
สกุล: พะยอม
Shorea
G. Don
สปีชีส์: Shorea roxburghii
ชื่อทวินาม
Shorea roxburghii
G. Don
ชื่อพ้อง

พะยอม เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย และเวียดนาม[1] มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน

พะยอมมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง - เชียงใหม่) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน)[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

พะยอมเป็นไม้ต้นสูง 15–30 เมตร เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่อง ใบเดี่ยวออกสลับ รูปขอบขนานกว้าง 3.5–6.5 เซนติเมตร ยาว 8–15 เซนติเมตร ปลายมนหรือเป็นติ่งสั้น ๆ โคนมน ขอบเป็นคลื่นผิวเกลี้ยงเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอมจัด ออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่งและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ เรียงเวียนกันแบบกังหันเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1–2 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 15 อัน ผลรูปรีกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปลีกยาว 3 ปีกสั้น 2 ปีกคล้ายผลยาง

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

[แก้]

พะยอมมีการกระจายพันธุ์ในอินเดียตะวันออก พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย พบขึ้นทั่วไป แต่มักพบในป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบที่มีดินเป็นดินทราย

ประโยชน์

[แก้]
  • เนื้อไม้นำไปใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ พื้น เป็นต้น
  • มีสรรพคุณทางยา
    • เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูด
    • ดอก รสหอมสุขุม ปรุงเป็นยาแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้
  • ดอกสามารถนำมาประกอบอาหารได้

เกร็ดความรู้

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Pooma, R.; Newman, M.F.; Barstow, M. (2017). "Shorea roxburghii". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T33028A2831736. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T33028A2831736.en. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
  2. 2.0 2.1 พะยอม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช