พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA) | |||
---|---|---|---|
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS) | |||
ไต้ฝุ่นหมาง้อนขณะกำลังพัดเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
| |||
ก่อตัว | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | ||
สลายตัว | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | ||
ความเร็วลม สูงสุด |
| ||
ความกดอากาศต่ำสุด | 935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท) | ||
ผู้เสียชีวิต | เสียชีวิต 5 คน สูญหาย 3 คน | ||
ความเสียหาย | 27.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2011) | ||
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
หมู่เกาะมาเรียนาเหนือ, ญี่ปุ่น | ||
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 |
พายุไต้ฝุ่นหมาง้อน เป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรงซึ่งสร้างความเสียหายแก่ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น เป็นพายุลูกที่หกที่ได้รับการตั้งชื่อและพายุไต้ฝุ่นลูกที่สองในฤดูไต้ฝุ่นของมหาสมุทรแปซิฟิก 2554
พายุไต้ฝุ่นหมาง้อนมีจุดกำเนิดมาจากบริเวณการพาความร้อนซึ่งเกิดขึ้นเหนือเกาะเวกในวันที่ 9 กรกฎาคม[1] ระบบค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ ขณะที่ก่อตัวขึ้นเป็นการหมุนเวียนของบรรยากาศในระดับต่ำ ด้วยลมเฉือนต่ำและสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างเอื้ออำนวย แบบจำลองพยากรณ์พายุหมุนเขตร้อนจึงคาดว่าจะมีพายุเกิดขึ้นจากระบบดังกล่าว[2] วันที่ 11 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ออกคำเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[3] และอีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานการก่อตัวของดีเปรสชันกึ่งทางระหว่างเกาะเวกกับหมู่เกาะมาเรียนาเหนือ JTWC ติดตามโดยเริ่มรายงานดีเปรสชัน 08W[4]
เมื่อก่อตัวขึ้น บริเวณความกดอากาศต่ำเคลื่อนไปทางตะวันตกเนื่องจากร่องความกดอากาศสูงที่อยู่ทางเหนือ[5] การหมุนเวียนในช่วงแรกนั้นกว้างและกำหนดอย่างคร่าว ๆ ขณะที่การพาความร้อนนั้นไม่เป็นระเบียบเนื่องจากอากาศแห้ง พายุดังกล่าวสามารถทวีความรุนแรงขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย[6] และ JMA ยกระดับพายุดีเปรสชันเป็นพายุหมุนเขตร้อนหมาง้อนเมื่อเวลา 06:00 UTC ของวันที่ 12 กรกฎาคม[7] พายุฟ้าคะนองค่อย ๆ เริ่มกระจุกตัวบริเวณรอบใจกลางพายุ แม้ว่าจะมีการไหลออกอย่างจำกัดไปทางเหนือและตะวันตก พายุไต้ฝุ่นหมาง้อนทวีความรุนแรงขึ้นช้ากว่าอัตราภูมิอากาศ แม้ว่าลักษณะตาจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อถึงวันที่ 13 กรกฎาคม[8] เมื่อถึงเวลา 00.00 UTC ในวันนั้น JMA ยกระดับหมาง้อนเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรง[9] และอีก 18 ชั่วโมงให้หลัง ก็ได้ยกระดับต่อเป็นพายุไต้ฝุ่น[10] เมื่อถึงเวลานั้น พายุอยู่ห่างจากอิโวะจิมะไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 970 กิโลเมตร ตาหยาบเริ่มปรากฏให้เห็นบนภาพถ่ายดาวเทียม และหลังจากก่อตัวเป็นลมบ้าหมูขึ้นในอากาศ การไหลออกของอากาศก็เริ่มระบุได้ดียิ่งขึ้น[11]
เมื่อถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นหมาง้อนมีตาพายุที่ระบุได้ชัดเจนและมีการพาความร้อนรุนแรงที่สุดในเส้นรอบวงด้านใต้ พายุยังคงทวีความรุนแรงขึ้น และ JTWC ประเมินความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่ค่าเฉลี่ย 1 นาทีไว้ที่ 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[12] วันเดียวกัน หมาง้อนลดระดับความรุนแรงลงเล็กน้อยเนื่องจากลมเฉือนที่รุนแรงขึ้น ซึ่งทำให้กำแพงตาพายุในจตุภาคตะวันตกเฉียงเหนือสลายลง[13] ก่อนจะกลับทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งในวันรุ่งขึ้นหลังมีวัฏจักรทดแทนกำแพงตาพายุขึ้น[14] เมื่อเวลา 06.00 UTC ของวันที่ 16 กรกฎาคม JMA ประเมินความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาทีไว้ที่ 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่พายุไต้ฝุ่นลูกนี้อยู่ห่างจากเกาะโอะกินะวะไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 1,185 กิโลเมตร[15] ในเวลานั้น หมาง้อนเริ่มเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือจากการอ่อนกำลังลงของร่องความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน[16] และเข้าสู่พื้นที่เตือนภัยโดยสำนักงานด้านบรรยากาศ ภูมิฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (PAGASA) เป็นเวลาสั้น ๆ และหน่วยงานดังกล่าวตั้งชื่อท้องถินให้ว่า Ineng[17]
วันที่ 17 กรกฎาคม หมาง้อนมีวัฏจักรทดแทนกำแพงตาพายุอีกครั้งและอ่อนกำลังลง แม้ว่าจะมีการไหลออกของอากาศและการพาความร้อนเพิ่มขึ้นในจตุภาคเหนือ[18] ด้วยขนาดที่ใหญ่ของพายุไต้ฝุ่นทำให้มันไม่สามารถกลับทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกได้ ลมกำลังแรงขยายออกไป 370 กิโลเมตรทางตะวันออกจากศูนย์กลาง นอกเหนือจากนั้น การผลักดันของอากาศแห้งทำให้ฝนคะนองลดลงในขอบด้านตะวันตก เมื่อถึงวันที่ 18 กรกฎาคม หมาง้อนมาถึงขอบด้านตะวันตกของร่องความกดอากาศสูงและเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือมุ่งหน้าสู่ประเทศญี่ปุ่น[19] วันรุ่งขึ้น มันเปลี่ยนทิศทางไปเป็นตะวันออกเฉียงเหนือขณะที่พัดขนานไปกับแนวชายฝั่งญี่ปุ่นไม่ห่างจากฝั่งมากนัก ตามข้อมูลของ JTWC หมาง้อนอ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนเขตร้อนขณะหนึ่งก่อนจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้ง และขึ้นฝั่งที่คาบสมุทรคิอิในฮอนชู[20][21] JMA ยังคงระบุสถานะของระบบเป็นไต้ฝุ่นจนกระทั่ง 00.00 UTC เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม เมื่อหมาง้อนพัดขึ้นฝั่ง[22] และเมื่อพายุพัดพาข้ามประเทศญี่ปุ่น พายุกำลังเคลื่อนไปทางตะวันออก และเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ลมเฉือนที่เพิ่มขึ้นเข้าไปแทนที่การพาความร้อนทางตะวันออก แม้จะมีการคาดการณ์ว่าพายุจะทวีความรุนแรงขึ้นเล็กน้อย[23] อย่างไรก็ตาม JTWC ลดระดับของพายุหมาง้อนลงเหลือดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม หลังพายุสูญเสียการพาความร้อนส่วนใหญ่ไป[24] อย่างไรก็ตาม JMA ยังคงระบุสถานะของหมาง้อนเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงจนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น พายุได้เปลี่ยนทิศทางขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ[25] หน่วยงานเลิกการเฝ้าระวังติดตามเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม[26]