พิชัย รัตตกุล | |
---|---|
พิชัย ใน พ.ศ. 2528 | |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (0 ปี 132 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ถัดไป | อุทัย พิมพ์ใจชน |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (7 ปี 223 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (2 ปี 226 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 168 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ถัดไป | อุปดิศร์ ปาจรียางกูร |
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน พ.ศ. 2525 – 26 มกราคม พ.ศ. 2534 (8 ปี 298 วัน) | |
ก่อนหน้า | ถนัด คอมันตร์ |
ถัดไป | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กันยายน พ.ศ. 2469 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (95 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2501–2565) |
คู่สมรส | คุณหญิง จรวย รัตตกุล (16 กันยายน พ.ศ. 2488–15 มิถุนายน พ.ศ. 2557) |
บุตร | พิจิตต รัตตกุล อาณัฐชัย รัตตกุล |
ลายมือชื่อ | |
พิชัย รัตตกุล (16 กันยายน พ.ศ. 2469 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[1]) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 4 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย และเคยได้รับเลือกเป็นประธานสโมสรโรตารีสากล ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2546
พิชัย รัตตกุล เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดพระนคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนซึ่งบรรพบุรุษได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นบุตรของ นายพิศาลกับนางวิไล รัตตกุล
พิชัยเป็นบุตรคนโต จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน ดังนี้
นายพิชัยจบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จากนั้นจึงไปศึกษาต่อด้านพาณิชยศาสตร์ที่โรงเรียนเซนต์สตีเฟ่น ที่ฮ่องกง หลังจบการศึกษาแล้วได้กลับมาดูแลธุรกิจของครอบครัว ก่อนจะเข้าสู่แวดวงการเมือง
ชีวิตครอบครัว สมรสกับ คุณหญิงจรวย รัตตกุล (สกุลเดิม ศิริบุญ) มีบุตรชาย 2 คนคือ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล บุตรสาว 1 คนคือ คุณหญิงพัชรี ว่องไพฑูรย์ (สมรสกับ ดร.วีระนนท์ ว่องไพฑูรย์)
นายพิชัยได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ โรงพยาบาลศิริราช หลังจากเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งปอด[2]ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
นายพิชัยเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2501 โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค และเป็น ส.ส.ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาไม่นาน นายพิชัยได้เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร และเป็น 1 ใน 4 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ลงชื่อในคราวนั้น (อีก 3 คนคือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์, นายเทพ โชตินุชิต, นายชวลิต อภัยวงศ์) เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งอีกครั้ง[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[7] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ. 2525 หลังจากการครบวาระของ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ได้ร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งนายพิชัยได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้วย[8] ในปี พ.ศ. 2529 จากนั้นในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลในวาระแรก และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[9] แต่ในวาระที่ 2 ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลเนื่องจากมีเสียงสนับสนุนรัฐบาลในสภา ฯ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดสภาพการเป็นเผด็จการรัฐสภา
ในวาระของการเป็นหัวหน้าพรรคของนายพิชัยนั้น ได้มีเหตุการณ์ความแตกแยกในพรรคเกิดขึ้น เมื่อ "กลุ่ม 10 มกรา" ที่นำโดยนายวีระ มุสิกพงศ์ ได้ลาออกจากพรรคไป เนื่องจากความขัดแย้งกันในแต่งตั้งหัวหน้าพรรค
จากนั้น เมื่อ นายชวน หลีกภัยเป็นหัวหน้าพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 นายพิชัยได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการเกี่ยวกับต่างประเทศและรับผิดชอบการจัดมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ 1998 และได้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาด้วย[10] หลังจากนี้ไม่นาน นายพิชัยได้วางมือจากการเมืองเนื่องจากมีอายุที่มากแล้ว จนได้รับฉายาว่า "คุณปู่" แต่ยังมีตำแหน่งเป็นสภาที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์อยู่
ในแวดวงสังคม นายพิชัย มีตำแหน่งเป็นประธานสโมสรโรตารีในประเทศ และเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานสโมสรโรตารีสากลในระหว่าง พ.ศ. 2545 – 2546
ลำดับสาแหรกของพิชัย รัตตกุล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนหน้า | พิชัย รัตตกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วันมูหะมัดนอร์ มะทา | ประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฏร) (30 มิถุนายน – 9 พฤศจิกายน 2543) |
อุทัย พิมพ์ใจชน | ||
พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร พลเอก เสริม ณ นคร พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ ทองหยด จิตตวีระ |
รองนายกรัฐมนตรี (30 เมษายน 2526 – 9 ธันวาคม 2533) |
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ โกศล ไกรฤกษ์ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก | ||
สมัคร สุนทรเวช พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร วีรพงษ์ รามางกูร สุวิทย์ คุณกิตติ |
รองนายกรัฐมนตรี (14 พฤศจิกายน 2540 – 28 มิถุนายน 2543) |
สุทัศน์ เงินหมื่น | ||
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (21 เมษายน – 6 ตุลาคม 2519) |
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร | ||
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ | หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2525 – 2534) |
ชวน หลีกภัย |