พิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

พิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
ส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองจีน และการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน
เหมา เจ๋อตง ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949
ชื่อพื้นเมือง 中华人民共和国开国大典
วันที่1 ตุลาคม 1949; 75 ปีก่อน (1949-10-01)
สถานที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ที่ตั้งปักกิ่ง
ผู้เข้าร่วมเหมา เจ๋อตง
พรรคคอมมิวนิสต์จีน
กองทัพปลดปล่อยประชาชน
ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน

พิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน: 中华人民共和国开国大典) กระทำโดยเหมา เจ๋อตง ในฐานะประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง ในพิธีดังกล่าว เหมาได้ประกาศสถาปนารัฐบาลประชาชนกลาง ซึ่งเป็นรัฐบาลของประเทศใหม่ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นับเป็นการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ

ก่อนหน้านี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐโซเวียตจีนขึ้นในพื้นที่ที่พรรคควบคุมอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในประเทศจีนเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1931 ที่เมืองรุ่ยจิน สาธารณรัฐโซเวียตจีนดำรงอยู่เป็นเวลาเจ็ดปีก่อนที่จะถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1937

ในพิธีได้มีการบรรเลงเพลงชาติใหม่ คือ "มาร์ชทหารอาสา" และได้ทำการเปิดเผยธงชาติใหม่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ธงแดงดาวห้า) ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก โดยมีการชักธงขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก พร้อมกันนั้นได้มีการยิงสลุต 21 นัด เป็นการประกาศการก่อตั้งรัฐใหม่ จากนั้นกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดการสวนสนามทางทหารต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก

สาธารณรัฐจีนได้ถอยร่นไปยังเกาะไต้หวันภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949

ภูมิหลัง

[แก้]

สงครามกลางเมืองจีนเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งชาติสาธารณรัฐจีนซึ่งนำโดยพรรคก๊กมินตั๋ง กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีการสู้รบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927 จนถึง 1949 สงครามครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองช่วงโดยมีช่วงคั่นคือตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1927 ถึง 1937 แนวร่วมที่หนึ่งได้สิ้นสุดลงระหว่างการกรีธาทัพขึ้นเหนือ และฝ่ายชาตินิยมได้เข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจีน วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1931 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐโซเวียตจีนใน เมืองรุ่ยจิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ควบคุมอยู่ และรัฐบาลสาธารณรัฐโซเวียตจีนได้อพยพไปยังเมืองเหยียนอานในระหว่างการเดินทัพทางไกลจนกระทั่งสาธารณรัฐโซเวียตจีนถูกยุบเลิก[ต้องการอ้างอิง] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937 ถึง 1945 การสู้รบภายในได้ยุติลงชั่วคราว และแนวร่วมที่สองได้ร่วมกันต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่นในประเทศจีน โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองในเวลาต่อมา หลังการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น สงครามกลางเมืองได้กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง และฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถครองความได้เปรียบในระยะสุดท้ายของสงครามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ถึง 1949 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเรียกว่าการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน

การสู้รบครั้งใหญ่ในสงครามกลางเมืองจีนสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีนแผ่นดินใหญ่ได้สำเร็จ ขณะที่พรรคก๊กมินตั๋งต้องล่าถอยไปยังนอกชายฝั่ง ทำให้ดินแดนที่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมเหลือเพียงเกาะไต้หวัน (อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่นที่ได้รับคืนมาในปี ค.ศ. 1945) เกาะไหหลำ และหมู่เกาะโดยรอบ วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1949 เหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยสุนทรพจน์ในการประชุมเต็มคณะครั้งแรกของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน[1][2][3] ต่อมาได้มีการจัดพิธีฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ณ จัตุรัสเทียนอันเหมินในวันที่ 1 ตุลาคม โดยเหมาได้อ่านประกาศอย่างเป็นทางการบนหอประตูเทียนอันเหมิน ทำให้วันที่ 1 ตุลาคมกลายเป็นวันชาติครั้งแรกของประเทศใหม่[4]

คำประกาศ

[แก้]

เวลา 15:00 น. ตามเวลาปักกิ่ง ของวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เหมาได้ประกาศต่อสาธารณชนจากบนหอประตูเทียนอันเหมิน[5]

同胞们,中华人民共和国中央人民政府今天成立了!
Tóngbāo men, Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó Zhōngyāng Rénmín Zhèngfǔ jīntiān chénglì le!


เพื่อนร่วมชาติทั้งหลาย วันนี้ รัฐบาลประชาชนกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ก่อตั้งแล้ว

ภายหลังจากการบรรเลงเพลงชาติเสร็จสิ้น ประธานเหมาได้ประกาศการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันนั้นบนหอประตูเทียนอันเหมิน โดยมีถ้อยแถลงดังนี้

ประชาชนชาวจีนทั่วประเทศต้องเผชิญความทุกข์ยากและความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสมาโดยตลอด นับตั้งแต่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ซึ่งนำโดยเจียง ไคเชกได้ทรยศต่อปิตุภูมิ สมรู้กับจักรวรรดินิยม และก่อสงครามต่อต้านการปฏิวัติ โชคดีที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนของเราอันได้รับการสนับสนุนจากทั่วทั้งประเทศในการต่อสู้ด้วยความกล้าหาญและเสียสละเพื่อปกป้องอธิปไตยเหนือดินแดนของบ้านเกิด เพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของประชาชน และเพื่อต่อสู้เพื่อสิทธิของประชาชน และในที่สุดก็สามารถกวาดล้างกองกำลังต่อต้านการปฏิวัติและโค่นล้มรัฐบาลชาตินิยมได้ สงครามปลดปล่อยประชาชนได้รับชัยชนะโดยพื้นฐาน และประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศได้รับการปลดปล่อยแล้ว บนพื้นฐานดังกล่าว จึงได้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนสมัยประชุมแรกขึ้น อันประกอบด้วยผู้แทนจากพรรคการเมืองประชาธิปไตยทุกพรรค องค์กรประชาชนของจีน กองทัพปลดปล่อยประชาชน ภูมิภาคและชนชาติต่าง ๆ ทั่วประเทศ ชาวจีนโพ้นทะเล และผู้รักชาติทั้งหลาย

ในฐานะตัวแทนเจตจำนงของประชาชนทั้งชาติ [สมัยประชุมนี้] จึงได้ตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยรัฐบาลประชาชนกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้ดำเนินการเลือก

ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนและกำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน

สภารัฐบาลประชาชนกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ณ กรุงปักกิ่งในวันนี้ และมีมติเป็นเอกฉันท์ดังต่อไปนี้:

  • ให้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ให้นำนโยบายร่วมของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีนมาใช้เป็นนโยบายของรัฐบาล
  • แต่งตั้งหลิน ปั๋วฉฺวี จากบรรดาสมาชิกสภา ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภารัฐบาลประชาชนกลาง
  • แต่งตั้งโจว เอินไหล ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสภาบริหารรัฐบาลของรัฐบาลประชาชนกลาง และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศควบคู่ไปด้วย
  • แต่งตั้งเหมา เจ๋อตง ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการทหารปฏิวัติของรัฐบาลประชาชนกลาง
  • แต่งตั้งจู เต๋อ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชน
  • แต่งตั้งเฉิ่น จฺวินหรู ให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลประชาชนสูงสุดของรัฐบาลประชาชนกลาง และ
  • แต่วตั้งหลัว หรงหวน ให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดของสำนักงานอัยการประชาชนสูงสุดของรัฐบาลประชาชนกลาง

และมอบหมายให้บุคคลเหล่านั้นดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลขึ้นโดยเร็วเพื่อดำเนินงานของรัฐบาล

ขณะเดียวกัน สภารัฐบาลประชาชนกลางได้มีมติให้ประกาศไปยังรัฐบาลของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกว่า รัฐบาลปัจจุบันนี้เป็นรัฐบาลเดียวที่มีอำนาจตามกฎหมายในการเป็นตัวแทนของประชาชนชาวสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนี้พร้อมที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลต่างประเทศใด ๆ ที่ยินดีปฏิบัติตามหลักการแห่งความเสมอภาค ประโยชน์ร่วมกัน และการเคารพซึ่งกันและกันในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน


กรุงปักกิ่ง วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949

การเฉลิมฉลอง

[แก้]

การสวนสนามทหารในวันชาติครั้งแรกถูกจัดขึ้นทันทีหลังจากการประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีเนี่ย หรงเจิน ผู้บัญชาการมณฑลทหารภาคเหนือ เป็นผู้บัญชาการ และจู เต๋อ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพปลดปล่อยประชาชน เป็นผู้ตรวจพล การสวนสนามครั้งนี้มีกำลังพลของกองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้าร่วมประมาณ 16,000 นาย[7] การสวนสนามทหารซึ่งได้รับอนุมัติในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1949 นับเป็นการสวนสนามทหารครั้งแรกของจีนที่มีขนาดใหญ่และทันสมัย โดยประเทศจีนไม่เคยจัดการสวนสนามทหารต่อสาธารณชนมาก่อนภายใต้รัฐบาลชุดก่อนหน้า หลิว ปั๋วเฉิงได้เสนอให้ผู้บังคับการสวนสนาม หยาง เฉิงอู่ และถัง เยี่ยนเจี๋ย จัดการสวนสนามโดยอิงรูปแบบของโซเวียต ซึ่งเขาเองได้เคยเข้าร่วมชมการเดินสวนสนามบนจัตุรัสแดง กรุงมอสโก วงดุริยางค์มณฑลทหารภาคเหนือ (ปัจจุบันคือกองดุริยางค์ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน) ได้ให้การบรรเลงเพลงประกอบ ซึ่งรวมถึงเพลงมาร์ชกองทัพปลดปล่อยประชาชน[5]

ผลที่ตามมา

[แก้]

สาธารณรัฐจีนได้ถอยร่นไปยังเกาะไต้หวันภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนกลายเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ปกครองประเทศจีน ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ประกาศอย่างเป็นทางการในรัฐธรรมนูญว่าไต้หวันเป็นมณฑลที่ 23 ของตน โดยมีชื่อทางการว่ามณฑลไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่และ สาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งอยู่บนเกาะไต้หวันต่างอ้างสิทธิ์อย่างเป็นทางการว่าตนเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมเพียงหนึ่งเดียวของประเทศจีนทั้งหมด ยังไม่มีการลงนามสงบศึกหรือสนธิสัญญาสันติภาพใด ๆ เพื่อยุติสงครามกลางเมืองจีนมาจนถึงปัจจุบัน[8]

ทันทีหลังจากการประกาศสถาปนา สหภาพโซเวียตและรัฐคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นประเทศแรกที่ให้การยอมรับสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนประเทศตะวันตกหลายประเทศรวมถึงสหรัฐในช่วงแรกยังคงยอมรับการย้ายถิ่นฐานของสาธารณรัฐจีนไปยังไต้หวันว่าเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมของจีน[9] หลังจากการประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อผนวกอำนาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐจีน และเริ่มกระบวนการยึดภาคอุตสาหกรรมเป็นของรัฐ[10]

ปฏิกิริยา

[แก้]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ภาพยนตร์ที่มีฉากพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่:

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Chinese people have stood up". UCLA Center for East Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2009. สืบค้นเมื่อ 16 April 2006.
  2. Peaslee, Amos J. (1956), "Data Regarding the 'People's Republic of China'", Constitutions of Nations, Vol. I, 2nd ed., Dordrecht: Springer, p. 533, ISBN 978-94-017-7125-2, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2020, สืบค้นเมื่อ May 4, 2020
  3. Chaurasia, Radhey Shyam (2004), History of Modern China, New Delhi: Atlantic, p. 1, ISBN 978-81-269-0315-3, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2020, สืบค้นเมื่อ December 15, 2019
  4. Westcott, Ben; Lily Lee (September 30, 2019). "They were born at the start of Communist China. 70 years later, their country is unrecognizable". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2019. สืบค้นเมื่อ December 15, 2019.
  5. 5.0 5.1 The Rise Of Mao Zedong | Parade Of The Waking Giant | Timeline (ภาษาอังกฤษ), June 26, 2021, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2021, สืบค้นเมื่อ 2021-07-02
  6. Mao, Zedong (1 October 1949). "Proclamation of the Central People's Government of the PRC". Wilson Center. สืบค้นเมื่อ 5 May 2024.
  7. "Reds Proclaim a Republic in China; Chou is Premier; Chinese Republic Launched by Reds". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2021. สืบค้นเมื่อ October 8, 2019.
  8. Lynch, Michael (9 October 2022). "The Chinese Civil War: 1945–49". Osprey Publishing. สืบค้นเมื่อ 4 April 2024. There is also a sense in which the Chinese Civil War has not ended; no formal peace treaty or agreement has ever been made.
  9. Lieberthal, Kenneth (1978). "The Politics of Modernization in the PRC". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  10. Croizier, R (1990). "World History in the People's Republic of China". Journal of World History.