พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี

พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี
วันเกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2535 (32 ปี)
สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.72 m (5 ft 7 12 in)
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
การท่าเรือ
สโมสรเยาวชน
2010–2012 โรงเรียนเทพศิรินทร์
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2012–2014 จามจุรี ยูไนเต็ด 38 (6)
2015–2017 เมืองทอง ยูไนเต็ด 8 (1)
2015พัทยา ยูไนเต็ด (ยืมตัว) 30 (8)
2017พัทยา ยูไนเต็ด (ยืมตัว) 31 (7)
2018 พัทยา ยูไนเต็ด 8 (1)
2019–2021 สมุทรปราการ ซิตี้ 86 (22)
2021–2024 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 69 (11)
2024– การท่าเรือ 0 (0)
ทีมชาติ
2010 ไทย อายุไม่เกิน 20 ปี 8 (3)
2013 ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี 5 (2)
2017– ไทย 25 (2)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2566
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 26 มีนาคม 2566

พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี (ชื่อเล่น: นิว; เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2535) เป็นนักฟุตบอลชาวไทย เป็นบุตรชายของประภาส ฉ่ำรัศมี อดีตกองกลางทีมชาติไทย พีรดนย์ เล่นในตำแหน่งกองกลาง ปัจจุบันได้เล่นให้กับการท่าเรือ ในไทยลีก[1] และทีมชาติไทย

เกียรติประวัติส่วนตัว พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี เป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมชาติไทย ชุดมหาวิทยาลัยอาเซียน ที่ครองตำแหน่งชนะเลิศในปี พ.ศ. 2557

สโมสร

[แก้]

พีรดนย์เริ่มเล่นฟุตบอลในชุดเยาวชนให้กับโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในช่วงการเรียนมัธยมปลาย หลังจากนั้นได้เริ่มเล่นฟุตบอลให้กับชุดใหญ่กับสโมสรฟุตบอลจามจุรี ยูไนเต็ด ในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ก่อนจะเซ็นสัญญาร่วมทีมกับเมืองทอง ยูไนเต็ด ในปี พ.ศ. 2558

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564 พีรดนย์ทำประตูแรกในสีเสื้อบุรีรัมย์ในเกมนัดที่สามของไทยลีก ฤดูกาล 2564–65 ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะเชียงใหม่ ยูไนเต็ด 4–0[2] ต่อมาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เขาทำประตูที่ 2 ในลีก ในนัดที่ทีมบุกไปเสมอกับโปลิศ เทโรที่สนามบุณยะจินดา 2–2[3] วันที่ 5 มีนาคม เขาทำประตูที่ 3 ในลีก ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผล 2–0 และในวันที่ 29 พฤษภาคม การแข่งขันรีโว่ ลีกคัพ 2564–65 นัดชิงชนะเลิศ เขาทำประตูช่วยให้ทีมเอาชนะแชมป์เก่าอย่างพีที ประจวบที่บีจีสเตเดียมไปได้ 4–0 คว้าแชมป์รายการนี้เป็นสมัยที่ 6 และคว้าทริปเปิลแชมป์ภายในประเทศได้สำเร็จ[4]

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เขาทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 ช่วยให้ทีมบุกไปเอาชนะการท่าเรือที่แพตสเตเดียม 3–1[5] ต่อมาวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566 เขาทำประตูที่ 2 ในลีก ช่วยให้ทีมบุกไปเอาชนะสุโขทัยที่สนามทะเลหลวง 0–3[6] ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เขาทำประตูที่ 3 ในลีก ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโร 3–0[7] และในวันที่ 12 พฤษภาคม การแข่งขันไทยลีกนัดปิดฤดูกาล เขาทำประตูที่ 4 ในลีก ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะนครราชสีมา มาสด้า 4–0[8]

สถิติอาชีพ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2566
สโมสร ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ เอเชีย อื่น ๆ ทั้งหมด
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2564–65 ไทยลีก 24 3 4 0 4 1 1[a] 0 33 4
2565–66 ไทยลีก 26 4 5 0 5 0 0 0 1[b] 0 37 4

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
เมืองทอง ยูไนเต็ด
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ทีมชาติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "บุรีรัมย์ปิดดีล "พีรดนย์" ทวงแชมป์ไทยลีก". สืบค้นเมื่อ July 21, 2021.
  2. "เซราะกราว พาเหรดถลุง ช้างเผือก 4 คน 4 ตุง ศึกรีโว่ไทยลีก นัดที่ 3". สืบค้นเมื่อ 18 September 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "พลาดท่าทดเจ็บ เสมอ 2-2 หยุดสถิติ แต่ไม่หยุดหนาว เซราะกราว จ่าฝูง นำห่าง 6 แต้ม". สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2022.
  4. "เทรเบิ้ลแชมป์!บุรีรัมย์ ถอนแค้น ประจวบ 4-0 ซิวถ้วยรีโว่ ลีกคัพ สมัย 6". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  5. "ปราสาทการันตีแชมป์เลกแรก! ธีราทรนำร่อง บุรีรัมย์บุกอัดท่าเรือพังคาถิ่นซิวชัย4นัดรวด". สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2022.
  6. "บุรีรัมย์ยึดฝูงเหนียว โบลินกี้เบิกร่อง-พีรดนย์ซัดปิด ถลุงสุโขทัยยับ เฮ6นัดรวดทิ้ง9แต้ม". สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2023.
  7. "บุรีรัมย์นำโด่งทิ้ง9แต้ม เคาซิชยิงเบิกร่องก่อนโดนแดงน.88 เปิดรังถล่มเทโร". สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2023.
  8. "'บุรีรัมย์'ฉลองแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 8 นัดส่งท้ายเปิดบ้านชนะโคราช4-0". สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]