พูนศุข พนมยงค์

พูนศุข พนมยงค์
พูนศุข ไม่ทราบปีที่ถ่าย
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์
ถัดไปคุณหญิงระเบียบ ธำรงนาวาสวัสดิ์
บรรจง ธำรงนาวาสวัสดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
พูนศุข

2 มกราคม พ.ศ. 2455
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (95 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสปรีดี พนมยงค์
บุตร6 คน
บุพการี

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร์; 2 มกราคม พ.ศ. 2455 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เป็นภริยาของศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในจวนเจ้าเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นธิดาคนที่ 5 ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ[1] กับคุณหญิงเพ็ง ณ ป้อมเพชร์ (สกุลเดิม: สุวรรณศร) ได้รับพระราชทานนาม "พูนศุข" จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พูนศุข เป็นหลานของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ด้วยมารดา คือ คุณหญิงเพ็งเป็นบุตรีของหลวงแก้วสัสดี (ดี สุวรรณศร) กับนางนิล สุวรรณศร (สกุลเดิม: สุขุม) ซึ่งเป็นพี่สาวของเจ้าพระยายมราช อีกด้านหนึ่ง พูนศุขก็มีศักดิ์เป็นหลานของท่านผู้หญิงตลับ ยมราช (พี่สาวของบิดาคือ พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา) ภริยาของเจ้าพระยายมราช ชีวิตในวัยเด็กของท่านผู้หญิงพูนศุขจึงมีความสนิทสนมและคุ้นเคยกับญาติทาง "บ้านศาลาแดง" เป็นอย่างดี

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน 11 คน ดังนี้

  • พิศ ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ พันตำรวจเอก พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์ บุนนาค บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์)
  • เรืออากาศเอก ขาว ณ ป้อมเพชร์ (หลวงวิชิตอัคนีนิภา) สมรสกับ ทิวาวงศ์ วินทุพราหมณกุล
  • เข็ม ณ ป้อมเพชร์
  • สารี ณ ป้อมเพชร์ (ศรีราชบุรุษ) สมรสกับ หลวงศรีราชบุรุษ (แปลง ปุณศรี)
  • อัมพา ณ ป้อมเพชร์ (เป็นยายของ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภริยานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย) สมรสกับ ศาสตราจารย์ประมูล สุวรรณศร
  • เพียงแข ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ ศาสตราจารย์เย็น สุนทร-วิจารณ์
  • นวลจันทร์ ณ ป้อมเพชร์
  • เภา ณ ป้อมเพชร์
  • อุษา ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ ประสงค์ สุนทรวิภาต
  • อานนท์ ณ ป้อมเพชร์
  • ชาญชัย ณ ป้อมเพชร์

เมื่อพูนศุขอายุได้ 4 ปี บิดาของท่านได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองสาน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ "บ้านป้อมเพชร์" ถนนสีลม พออายุย่างเข้า 6 ปี ก็ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ จนจบชั้นมัยม 7 มีเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ คุณหญิงแร่ม พรหมโมบล คุณหญิงละไม หงส์ยนต์ คุณเจริญ ชูพันธุ์ ม.ล. ต่อ กฤดากร

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ครอบครัว

[แก้]

พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ ปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบัณฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2471[2] พูนศุขและปรีดี พนมยงค์ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 6 คน คือ

เผชิญมรสุมทางการเมือง

[แก้]
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ขณะเดินทางมาฟังการพิจารณาคดีกบฏสันติภาพ

หลังจากสมรสได้เพียง 3 ปี ก็เกิดปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยปรีดี เป็นหนึ่งในผู้ก่อการร่วมด้วย ด้วยเหตุที่เป็นภริยาของผู้ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย รัฐบุรุษอาวุโส ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

เมื่อเกิดการรัฐประหารในคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูก ๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะสามีต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ

เมื่อตามจับนายปรีดีไม่ได้ คณะรัฐบาลในขณะนั้นก็หันมาจับพูนศุข และปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2495 ด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต้องถูกควบคุมตัวในสถานที่กักกันเป็นเวลานาน 84 วัน นับเป็นการประสบกับมรสุมทางการเมืองครั้งร้ายแรง ท้ายที่สุดภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องเอาผิด เพราะไม่มีหลักฐาน ก็ได้รับการปล่อยตัว

พบกับรัฐบุรุษอาวุโสอีกครั้ง

[แก้]

หลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุขได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและสวีเดน กระทั่งได้รับข่าวสารจากสามี ก่อนจะตามไปอยู่ด้วยกันที่ประเทศจีน หลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันนานถึง 5 ปี และอยู่ร่วมกันที่กรุงปักกิ่งเป็นเวลา 16 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านพักหลังเล็ก ๆ ที่ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งนายปรีดี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ท่านผู้หญิงพูนศุขจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เคยกล่าวถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ไว้ว่า [1]

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มิใช่เป็นเพียงบุคคลหนึ่ง ที่มีชื่อผ่านเข้ามาในประวัติศาสตร์ ในฐานะเป็นภริยาของท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เท่านั้น แต่ชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เป็นประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งด้วยทีเดียว อย่างน้อย ในกระแสแห่งความผันผวนปรวนแปรของเหตุการณ์บ้านเมือง ที่ชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุข ถูกกระทบกระแทก อย่างหนักหน่วงรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า ตลอดช่วงเวลายาวนาน ท่านผู้หญิงรู้เห็น รู้สึก มองสถานการณ์และเหตุการณ์เหล่านั้นอย่างไร รวมทั้งนำชีวิตและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครอบครัว ลุล่วงผ่านพ้นมาได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาอย่างมาก

อสัญกรรม

[แก้]

ท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อสัญกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หลังจากได้เข้ารักษาอาการโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม[3] สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน มีพิธีฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

เบ็ดเตล็ด

[แก้]
  • ท่านผู้หญิงพูนศุข มักกล่าวถึงสามี โดยใช้สรรพนามว่า "นายปรีดี" สะท้อนความตระหนักถึงการเป็นสามัญชน แม้ว่าสามีของตนได้รับยกย่องให้เป็นถึงรัฐบุรุษอาวุโส

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ นิตยสารสารคดี เมษายน พ.ศ. 2543
  2. นรุตม์, หลากบทชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เก็บถาวร 2012-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, แพรวสำนักพิมพ์, อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, หน้า, 2535, ISBN 974-8359-86-7
  3. สิ้น"ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์", ประชาไท, 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, เรียกดูเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  4. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2482" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 1803. 25 กันยายน 2482.
  5. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55: 3021. 5 ธันวาคม 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า พูนศุข พนมยงค์ ถัดไป
เลขา อภัยวงศ์ คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(24 มีนาคม พ.ศ. 2489 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
แฉล้ม สุมาวงศ์
ระเบียบ สุมาวงศ์
บรรจง สุมาวงศ์