บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กมรเตงอัญผาเมือง[1] | |
---|---|
ขุนในเมืองราด[2] | |
พระบรมรูปพ่อขุนผาเมืองขณะทรงออกศึก ค่ายพ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ | |
คู่อภิเษก | พระนางสุขรมหาเทวี |
พระราชบุตร | พระยาคำแหงพระราม |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม |
พระราชบิดา | พ่อขุนศรีนาวนำถุม[3] |
พ่อขุนผาเมือง[4] หรือ พญาผาเมือง เป็นเจ้าเมืองราด[2] (มีราชทินนามตามยศเขมรว่า “กมรเตงอัญศรีอินทรปตินทราทิตย์”) ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง ขับไล่ขอมที่ก่อการจลาจลวุ่นวายให้ออกไปจากเมืองสุโขทัย แต่พระองค์ไม่ทรงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าเมืองสุโขทัยต่อจากพระราชบิดา หากแต่ทรงมอบราชสมบัติ ราชทินนาม และพระแสงขรรค์ไชยศรีเครื่องแสดงสิทธิอำนาจให้แก่พ่อขุนบางกลางหาวแทน เหตุเพราะทรงมีความใกล้ชิดกับทางราชสำนักยโศธรปุระ และเจ้าเมืองยโศธรปุระเคยพระราชทานพระราชธิดาคือพระนางสุขรมหาเทวีเป็นพระชายา[5]
พ่อขุนผาเมืองอาจมีน้องสาวคือนางเสือง เป็นพระมเหสีของพ่อขุนบางกลางหาว (ต่อมาเฉลิมพระนามเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)[6]
พ่อขุนผาเมืองเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม[2] ทรงอยู่ในสถานะรัชทายาทแห่งราชอาณาจักร และได้เสด็จไปครองอยู่เมืองราด ซึ่งเป็นเมืองอยู่ทางด้านตะวันออกของเชลียงในลุ่มแม่น้ำน่าน คนในชั้นหลังยังปรากฏเรียก "เมืองราดเก่าหั้น" สืบมาไม่นานก่อนการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ปิดกั้นลำแม่น้ำน่าน
นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานใน นิทานโบราณคดี ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงสันนิษฐานว่าเหตุจะเกิดเมืองหล่มเก่า เห็นจะเป็นด้วยพวกราษฎรที่หลบหนีภัยอันตรายในอาณาจักรล้านช้าง มาตั้งซ่องมั่วสุมกันอยู่ก่อน แต่เป็นที่ดินดีมีน้ำบริบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำเรือกทำสวนไร่นาและเลี้ยงโคกระบือ จึงมีพวกตามมาอยู่มากขึ้นโดยลำดับจนเป็นเมือง แต่เป็นเมืองมาครั้งสุโขทัย มีปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองลุ่ม ต่อมาภายหลังมาเรียกว่าเมือง หล่ม และยังเป็นอีกท่านที่กอบกู้แผ่นดินเอาไว้