ฟร็องซัว ปาลูว์

ฟร็องซัว ปาลูว์
ประมุขมิสซังตังเกี๋ย
ดำรงตำแหน่ง
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1658 – 15 เมษายน ค.ศ. 1680
ถัดไปฌัก เดอ บูฌ
ประมุขมิสซังฝูเจี้ยน
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน ค.ศ. 1680 – 29 ตุลาคม ค.ศ. 1684
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 สิงหาคม ค.ศ. 1626
เมืองตูร์ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เสียชีวิต29 ตุลาคม ค.ศ. 1684
มณฑลเจียงซู ประเทศจีน
เชื้อชาติฝรั่งเศส
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ที่อยู่อาศัยสำนักมิสซังฝูเจี้ยน

ฟร็องซัว ปาลูว์ (ฝรั่งเศส: François Pallu) เป็นบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังตังเกี๋ยและฝูเจี้ยน และมุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลิโอโปลิส (อียิปต์โบราณ)[1] และผู้ร่วมก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ประวัติ

[แก้]

ฟร็องซัว ปาลูว์ เป็นชาวเมืองตูร์ (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์) บิดาเป็นนักกฎหมายชื่อเอเตียน ปาลูว์ ต่อมาได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวง ในขณะนั้นบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด มิชชันนารีคณะเยสุอิตซึ่งทำการประกาศข่าวดีในภูมิภาคตะวันออกไกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เห็นว่าควรคนพื้นเมืองบวชเป็นบาทหลวง คริสตจักรท้องถิ่นจะได้เติบโตก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงเดินทางไปกรุงโรม เพื่อขอให้สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 ทรงแต่งตั้งมุขนายกผู้แทนพระสันตะปาปาไปปกครองสำนักมิสซังในภูมิภาคนั้น แต่พระสันตะปาปาไม่ทรงตอบรับ ท่านจึงเดินทางไปปารีสเพื่อหาอาสาสมัครไปทำงานแพร่ธรรมต่อ บาทหลวงฟร็องซัว ปาลูว์ และบาทหลวงปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต อาสาทำงานนั้น ทั้งสองเดินทางไปกรุงโรม ปาลูว์ได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1658 ทรงมอบหมายให้ไปปกครองมิสซังตังเกี๋ย จึงถือว่าเหตุการณืนี้เป็นจุดเริ่มต้นของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส[2] ต่อมาอีญาซ กอตอล็องดี ได้เข้าร่วมพันธกิจด้วย และได้รับอภิเษกเป็นมุขนายกเช่นกัน ทั้งสามได้รับสิทธิว่าภายในกำหนดระยะเวลา 7 ปีนั้นสามารถบวชกุลบุตรพื้นเมืองที่รู้ภาษาละตินเป็นบาทหลวงได้ ทั้งสามยังได้ตั้งเซมินารีขึ้นที่กรุงปารีสเพื่ออบรมกุลบุตรชาวฝรั่งเศสไปร่วมพันธกิจนี้

มุขนายกทั้งสามพร้อมกับมิชชันนารีในคณะของตนทยอยอกเดินทางจากฝรั่งเศส คณะของพระคุณเจ้าล็องแบร์ออกเดินทางเป็นกลุ่มแรก ส่วนพระคุณเจ้าปาลูว์กับคณะรวม 7 คนขึ้นเรือที่มาร์แซย์ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1662[3]: 232  ไปสมทบกับคณะของพระคุณเจ้าล็องแบร์ที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมามุขนายกทั้งสองท่านร่วมกันก่อตั้งเซมินารีนักบุญยอแซฟขึ้นราว ค.ศ. 1665-1666[4]

การทำพันธกิจของท่านต้องประสบปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางการโปรตุเกสถือความตกลงปาดรูอาดูที่สันตะสำนักอนุญาตให้พระมหากษัตริย์โปรตุเกสเป็นผู้ปกครองคริสตจักรท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันออกไกลแต่ผู้เดียว จึงมองว่าพระคุณเจ้าปาลูว์ไม่มีอำนาจบริหารคริสตจักร ในปี ค.ศ. 1667 พระคุณเจ้าปาลูว์จึงต้องกลับไปยุโรปเพื่อขอให้สันตะสำนักแก้ไขข้อขัดแย้งนี้ ถึงปี ค.ศ. 1673 จึงกลับมากรุงศรีอยุธยาและได้ร่วมอภิเษกบาทหลวงหลุยส์ ลาโน เป็นมุขนายกประมุขมิสซังสยามในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1674 ท่านยังเดินทาง จนได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขมิสซังฝูเจี้ยนเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1680

มรณกรรม

[แก้]

พระคุณเจ้าปาลู์ถึงแก่มรณภาพที่มู่หยาง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1684 สิริอายุได้ 58 ปี 59 วัน ปี ศพท่านถูกฝังที่นั่น ต่อมาจึงย้ายไปฮ่องกง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bishop François Pallu". The Hierarchy of the Catholic Church. 30 April 2018. สืบค้นเมื่อ 4 September 2018.
  2. ประวัติความเป็นมาคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หอจดหมายเกตุ มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ, เรียกข้อมูลวันที่ 22 พ.ย. 2557
  3. Lach, Donald F; Van Kley, Edwin J (1998). Asia in the Making of Europe. Vol. 3. University of Chicago. ISBN 9780226467658.
  4. The Cambridge History of Southeast Asia by Nicholas Tarling, p.191
  5. "พระสังฆราช ฟรังซัว ปัลลือ". หอจดหมายเหตุ มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ. 9 ตุลาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)