'อะเปปิ | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาเปปิที่ 1, อิป[...] | |||||||||||||||||||
![]() ตราประทับสลัก "โอรสแห่งกษัตริย์ อะเปปิ" ซึ่งอาจจะเป็น 'อะเปปิ | |||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบ | ||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | 'อะ[...] (ไรโฮลท์และฟอน เบ็คเคอราธ) | ||||||||||||||||||
ถัดไป | ไม่ทราบ (ไรโฮลท์), ฮิเบ (ฟอน เบ็คเคอราธ) | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ไม่แน่ชัด, เป็นไปได้ว่าช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสี่ (ไรโฮลท์) หรือ ปลายราชวงศ์ที่สิบหก (ฟอน เบ็คเคอราธ) |
'อะเปปิ เป็นผู้ปกครองบางส่วนของอียิปต์ล่างในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองหรือราวประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ตามคำกล่าวของนักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลต์ และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ห้าสิบเอ็ดแห่งราชวงศ์ที่สิบสี่[1][2] เช่นนี้พระองค์จะปกครองครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะรวมถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วยโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอวาริส อีกด้านหนึ่ง เยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธมองว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบหกและเป็นข้าราชบริพารของผู้ปกครองฮิกซอสจากราชวงศ์ที่สิบห้า[3]
หลักฐานเพียงอย่างเดียวที่กล่าวถึงพระองค์ คือ บันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่ได้รับการแก้ไขในสมัยรามเสส พระองค์อยู่ในรายการส่วนหนึ่งของบันทึกพระนามฯ ที่สอดคล้องกับคอลัมน์ที่ 10 แถวที่ 15 (คอลัมน์ที่ 9 แถวที่ 16 ตามที่การอ่านบันทึกพระนามแบบอลัน การ์ดิเนอร์)[2] ตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์นั้นไม่สามารถระบุได้โดยไม่มีข้อสงสัย เนื่องจากสภาพที่เปราะบางและเป็นชิ้นเป็นอันของบันทึกพระนามฯ[2] นอกจากนี้ ในบันทึกพระนาม หลงเหลือแค่เพียงส่วนหน้าของพระนามนำของพระองค์ที่เป็น "'อะป[...]" เท่านั้น ซึ่งไรโฮลท์เสนอว่าเดิมเป็นพระนาม "'อะเปปิ" ได้[1]
การสร้างพระนาม 'อะเปปิ ขึ้นมาใหม่โดยไรโฮลท์นั้นมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่ามีตราประทับสคารับจำนวน 5 ชิ้นที่จารึกไว้ว่า "อะโพฟิส โอรสแห่งกษัตริย์"[4][5] บนตราประทับอีกสองดวง มีข้อความจารึกอยู่ในคาร์ทูช ตามด้วยคำว่า di-ˁnḫ แปลว่า "ผู้ให้ชีวิต" โดยทั่วไปคุณลักษณะทั้งสองนี้สงวนไว้สำหรับผู้ปกครองหรือรัชทายาทเท่านั้น และ 'อะเปปิ อาจจะเป็นอะโฟฟิสที่อ้างถึงบนตราประทับ[2] เพื่อยืนยันการระบุแหล่งที่มานั้นอย่างไม่แน่ชัด ไรโฮลท์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าตราประทับสคารับทั้งสองนสามารถย้อนเวลาไปได้ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เชชิและฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์ โดยใช้พื้นฐานทางรูปแบบตราประทับของราชวงศ์ที่สิบสี่[1]