ภาษาญี่ปุ่นลูกผสมอี๋หลาน | |
---|---|
Vernacular Atayalic Japanese | |
ประเทศที่มีการพูด | ไต้หวัน |
ภูมิภาค | อี๋หลาน ไต้หวัน |
จำนวนผู้พูด | (no estimate available) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรละติน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | ycr |
ภาษาญี่ปุ่นลูกผสมอี๋หลาน (อังกฤษ: Yilan Creole Japanese) มีอีกชื่อว่า คันเก (ญี่ปุ่น: 寒渓語; โรมาจิ: Kankei) หรือ หันซือ-อฺหวี่ (จีน: 寒溪語) เป็นภาษาครีโอลฐานญี่ปุ่นในไต้หวีน ปรากฏขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง 1940 ผ่านการสื่อสารระหว่างชาวอาณานิคมจักรวรรดิญี่ปุ่นกับชาวไท่หย่าในเทศมณฑลอี๋หลาน ไต้หวัน คำศัพท์ของผู้พูดที่เกิดใน ค.ศ. 1974 แบ่งออกเป็นญี่ปุ่นร้อยละ 70 และไท่หย่าร้อยละ 30 แต่ไวยากรณ์ไม่ใกล้เคียงกับภาษาทั้งสองเลย[1]
ผู้พูดทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาไท่หย่าเป็นภาษาแม่ไม่เข้าใจภาษาครีโอลนี้[2] ภาษาครีโอลนี้ได้รับการระบุใน ค.ศ. 2006 โดย Chien Yuehchen กับ ซานาดะ ชินจิ แต่การมีตัวตนของภาษานี้ส่วนใหญ่ยังคงไม่เป็นที่รู้จัก[2][3] ทั้งสองคนตั้งชื่อภาษานี้ตามที่ตั้ง[4] ภาษาจีนกลาง ภาษาราชการของไต้หวัน คุกคามการมีตัวตนของภาษาครีโอลอี๋หลาน[4]
ภาษาญี่ปุ่นลูกผสมอี๋หลานเป็นภาษาครีโอลที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาญี่ปุ่น[5]