ภาษาบีซู

ภาษาบีซู
ประเทศที่มีการพูดไทย, จีน
ชาติพันธุ์700 คนในไทย (2550)[1]
จำนวนผู้พูด240 คนในจีน  (2548)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย (ในไทย), อักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3bzi

ภาษาบีซู หรือ ภาษาเลาเมียน เป็นภาษาที่มีผู้พูดในประเทศจีนและประเทศไทย จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขาพม่า-โลโล สาขาย่อยโลโล การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม ภาษานี้มีความใกล้เคียงกับภาษาก่อ (อึมปี้) ภาษาปเยน และภาษาพูน้อย ความแตกต่างของแต่ละสำเนียงขึ้นกับอิทธิพลของภาษากลุ่มกะไดและคำยืมจากภาษาลาหู่ รากศัพท์มีความคล้ายคลึงกับภาษาฮานีร้อยละ 36 ภาษาลาหู่ร้อยละ 32 และภาษาลิซูร้อยละ 31

การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์

[แก้]

มีผู้พูดภาษาบีซูทั้งหมดราว 3,000 คน โดยในประเทศจีนมี 2,000 คน (พ.ศ. 2542) โดยเป็นผู้ที่พูดได้ภาษาเดียว 500 คน พบบริเวณสิบสองปันนา ในมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงใต้ หมู่บ้านเหมิ่งเจอ (勐遮乡, Mĕngzhē) ในอำเภอเหมิงไห่ (勐海县, Mĕnghǎi) ในเขตหมู่บ้านจิ่งซิ่น (景信乡, Jǐngxīn) ฟู่หยาน (富岩镇, Fùyán) และหนานหย่า (南雅乡, Nányǎ) ในอำเภอเมิ่งเหลียน (孟连县, Mènglián) และบางส่วนของอำเภอซีเหมิง (西盟县, Xīméng) ผู้พูดภาษานี้ในจีนกำลังเปลี่ยนไปใช้ภาษาละหู่หรือภาษากะได ส่วนใหญ่ใช้ในหมู่ผู้ใหญ่ และเด็กใช้ภาษานี้กับผู้ใหญ่ ผู้พูดภาษานี้ในจีนร้อยละ 80 พูดภาษาละหู่ ภาษากะได หรือภาษาจีนได้ด้วย และมีร้อยละ 10 ที่พูดภาษาเหล่านี้ได้ทั้งหมดรวมทั้งภาษาฮานี

ผู้พูดภาษาบีซูได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณประเทศลาว พม่า และไทยเนื่องจากภัยสงครามในสมัยจักรพรรดิเจียชิ่ง ปัจจุบันในไทยมีประชากรที่พูดภาษาบีซูทั้งสิ้นประมาณ 500 คน[2] ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้าน 3 หมู่บ้านของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ บ้านดอยชมภู หมู่ที่ 7 ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว, บ้านปุยคำ หมู่ที่ 14 ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย และบ้านผาแดง ซึ่งเป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านผาจ้อ หมู่ที่ 10 ตำบลสันกลาง อำเภอพาน[3] ภาษาบีซูในแต่ละหมู่บ้านมีคำศัพท์และการออกเสียงต่างกันเล็กน้อย[2]

สัทวิทยา

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบีซูถิ่นดอยชมภู จังหวัดเชียงราย[4]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก ก้อง m n ɲ ŋ
ไม่ก้อง ŋ̊
เสียงหยุด ก้อง b d ɡ
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก (f) s ʃ h
เสียงกักเสียดแทรก ไม่พ่นลม t͡s t͡ɕ~t͡ʃ
พ่นลม t͡sʰ t͡ɕʰ~t͡ʃʰ
เสียงข้างลิ้น ก้อง l
ไม่ก้อง
เสียงกึ่งสระ ก้อง w j
ไม่ก้อง
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 8 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ŋ/, /p/, /t/, /k/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 12 หน่วยเสียง ได้แก่ /ml/, /mj/, /bl/, /bj/, /kl/, /kw/, /kj/, /kʰl/, /kʰj/, /pl/, /pʰl/ และ /pʰj/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น
  • พยัญชนะ /m̥/, /n̥/, /ŋ̊/, /l̥/, /j̊/ ออกเสียงคล้ายมีลมนำหน้า แต่ปัจจุบันเสียงลมนำหน้าลดลงหรือไม่มีแล้ว[5]
  • หน่วยเสียง /f/ พบเฉพาะในคำยืม

สระ

[แก้]
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาบีซูถิ่นดอยชมภู จังหวัดเชียงราย[6]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i ɨ~ʉ u
กลาง e ə o
ต่ำ ɛ~æ a ɔ
  • ระบบเสียงภาษาบีซูถิ่นดอยชมภูมีเฉพาะสระเดี่ยว โดยสระประสม /ia/ ปรากฏเฉพาะในคำยืม เช่น /ʔet͡ɕʰia/ 'เอเชีย'
  • ความสั้นยาวของเสียงสระไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง แต่สระที่มีพยัญชนะท้ายเป็น /m/, /n/, /ŋ/, /w/, /j/ มักมีเสียงยาวกว่าสระที่มีพยัญชนะท้ายเป็น /p/, /t/, /k/ อย่างไรก็ตาม ระบบเขียนอักษรไทยใช้รูปสระเสียงยาวในทุกบริบท
  • สระในพยางค์เปิดจะเป็นเสียงยาวตามด้วยเสียงกักที่เส้นเสียง เช่น /j̊a/ [j̊aːʔ] 'ไก่', /kʰɛ/ [kʰɛːʔ] 'กลัว'

วรรณยุกต์

[แก้]

ภาษาบีซูถิ่นดอยชมภูมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 3 หน่วยเสียง[7] ได้แก่

  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง (mid tone) เช่น /j̊a/ 'ไก่'
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ (low tone) เช่น /j̊à/ 'คัน'
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง (high tone) เช่น /j̊á/ 'ไร่'

ระบบการเขียน

[แก้]

ตัวเขียนภาษาบีซูอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ ก่องกู นกฮูก
ปล่า ผ่า
กง /ɡ/ กง ฉัน (สรรพนาม)
/kʰ/ คื่ หมา
/ŋ/ าน หนอก
อาเซ เสียง
/t͡ɕ/ านบา เหยี่ยว
จฺ /t͡s/ จฺืจฺื ต้นไม้
/t͡ɕʰ/ ช้ บูด, เปรี้ยว
ชฺ /t͡sʰ/ ชฺ่าล่า เสือ
/s/ าลอง ตะกร้า
ซฺ /ʃ/ ซฺามคือ เตาสามขา
/ɲ/ ญ่ามป่าย ตั๊กแตน
/d/ ด่ย่า ผี
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) ฮามี หน่อไม้
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) าว กอบ, สง
/tʰ/ าง ดาบ
/n/ าคาง จมูก
เซฺ เหา
/b/ บู่ก่า หญ้า
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) มู่งบล่า ฟ้าแลบ
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ป่าง ขวด
/pʰ/ ล่อง ย่ามสะพาย
/f/ าย ฝาย
/m/ ม่องม่อง มะม่วง
ท่า ถือ
/j/ ยู บ้าน
ชอลอ กรวยดอกไม้
/l/ องมยาง กุ้ง
/w/ ว่ หมู
อ่าก่า เป็ด
/ʔ/ อู่โฮ่ง เต่า
/h/ อต่าม หนู
ฮง /ŋ̊/ ฮง่ ทาก
ฮน /n̥/ ฮน่าม ดม
ฮม /m̥/ ฮม้อง เห็ด
ฮย /j̊/ ฮย ไก่
ฮล /l̥/ ฮลาบ หาบ
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–า /a/ ค่ย่ ผู้หญิง
กย่ ดีใจ
–ี /i/ ปี่ ให้
ชฺี่ ปอก
–ือ/–ื /ɨ/ พื มัด (ใช้กับเชือก)
คาตื ข้องใส่ปลา
–ู /u/ ชู เด็ด
ยูญู จันทัน
เ– /e/ แผ้วถาง (หลังการเผา)
ฮง้น พิง
แ– /ɛ/ ล่องต่ ปลา
งม ปลิดด้วยไม้ง่าม
โ– /o/ หมด
ฮ่งเฮ่น โรงเรียน
–อ /ɔ/ ผีเสื้อ
เคาะ
เ–อ/เ–ิ /ə/ พล่ เป็น
ลิง ล้ม
เ–ีย /ia/ เอเชีย เอเชีย
วรรณยุกต์
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
ไม่มีรูป เสียงกลาง ฮยา ไก่
ฮอบีน เครื่องบิน
–่ เสียงต่ำ ย่ คัน
อู่แมงป่อง แมวป่า
–้ เสียงสูง ย้ ไร่
จิ้นเจ้ สิ่งใด

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ภาษาบีซู ที่ Ethnologue (17th ed., 2013)
  2. 2.0 2.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 1.
  3. มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย: ชนเผ่าพื้นเมืองบีซู., หน้า 3.
  4. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 32.
  5. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 8.
  6. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 38.
  7. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 39.
  • Bradley, David (2007). "Language Endangerment in China and Mainland Southeast Asia". ใน Brenzinger, Matthias (บ.ก.). Language Diversity Endangered. New York: Mouton de Gruyte.