ภาษาปะหล่อง | |
---|---|
De'ang, Ta'ang ပလောင်ဘာသာ, တအောင်းဘာသာ | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศพม่า, ประเทศจีน, ประเทศไทย |
ชาติพันธุ์ | ชาวปะหล่อง |
จำนวนผู้พูด | ไม่ทราบ (ประมาณ 560,000 คน อ้างถึง1982–??)[1] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรเอเชียติก
|
ระบบการเขียน | อักษรพม่า, อักษรไทใต้คง |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย:pll – Shwepce – Ruchingrbb – Rumai |
ภาษาปะหล่อง หรือ Ta'ang (พม่า: ပလောင်ဘာသာ) มีอีกชื่อว่า De'ang (จีน: 德昂語; พม่า: တအာင်းဘာသာ) เป็นกลุ่มภาษาย่อยในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกที่มีผู้พูดมากกว่าครึ่งล้านคนในประเทศพม่า (รัฐฉาน) และประเทศเพื่อนบ้าน ชาวปะหล่องแบ่งออกเป็น Palé (Ruching), Rumai และ Shwe และแต่ละกลุ่มมีภาษาเป็นของตนเอง[2][3]
จำนวนผู้พูดยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยมีผู้พูดในกลุ่มชน Shwe 150,000 คนใน ค.ศ. 1982, Ruching (Palé) 272,000 คนใน ค.ศ. 2000 และ Rumai 139,000 คนที่ไม่ทราบวันที่บันทึก[1] แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาปะหล่องอยู่ในกลุ่มภาษาที่ "ใกล้สูญขั้นรุนแรง"[4][5]