ภาษามลายูบ้าบ๋า | |
---|---|
Bahasa Melayu Baba | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย |
จำนวนผู้พูด | 20,000 คน ในอินโดนีเซีย 10,000 คน ในสิงคโปร์ (ปี ค.ศ. 1986) 5,000 คน ในมาเลเซีย (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | ภาษาครีโอลมลายู
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | mbf |
ภาษามลายูบ้าบ๋า (มลายู: Bahasa Melayu Baba) หรืออาจเรียกว่า ภาษาจีนช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Chinese) ถือเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษามลายู โดยมีการยืมคำในภาษาฮกเกี้ยนค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันเป็นภาษาที่ใกล้ตาย และใช้กันในกลุ่มชาวเปอรานากันรุ่นเก่า ในขณะที่คนรุ่นใหม่หันไปพูดภาษาอังกฤษกัน โดยชาวเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะอาศัยในรัฐมะละกาและรัฐปีนัง ส่วนในสิงคโปร์มีผู้พูดภาษานี้ในเขตกาตง เขตกีย์แลนด์ และเขตเจาเฉียต และในอินโดนีเซีย มีผู้พูดภาษานี้แถบชวาตะวันออกโดยเฉพาะเมืองซูราบายา
ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษามลายูบ้าบ๋าน้อยลงจนเป็นภาษาใกล้สูญ ในประเทศอินโดนีเซีย ชาวเปอรานากันในแถบชวากลางหันมาพูดภาษาชวามากขึ้น ส่วนในแถบชวาตะวันตกก็หันมาพูดภาษาซุนดา และแถบซูราบายาเอง เด็กเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ก็หันมาพูดภาษาชวาถิ่นซูราบายาแทน และหลายคนเลือกที่จะเรียนรู้ภาษาจีนกลางมากกว่าภาษามลายูบ้าบ๋า จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษามลายูบ้าบ๋าลดความสำคัญลงไป ส่วนคนรุ่นใหม่ยังสามารถใช้ภาษาผสมนี้ได้ แต่ใช้ได้อย่างจำกัด จึงได้นำคำใหม่เข้ามาใช้ (และเสียคำเก่าไป) จนกลายเป็นศัพท์สแลง จึงกลายเป็นช่องว่างของภาษาระหว่างคนเปอรานากันรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่
ภาษาบ้าบ๋า | ภาษาอังกฤษ | คำแปล | |
---|---|---|---|
1 | Lu bo' gitu! | Don't act that way! | อย่าทำอย่างนั้น! |
2 | Yak apa kabarnya si Eli? | How's Eli? | อลี สบายดีไหม? |
3 | Nti' kamu pigio ambek cecemu ae ya | Go with your sister, okay? | ไปกับพี่สาวของเธอได้ไหม? |
4 | Nih, makanen sa'adae | Please have a meal! | มารับประทานอาหารได้แล้ว! |
5 | Kamu cari'en bukune koko ndhek rumae Ling Ling | Search your brother's book in Ling Ling's house | ไปหาหนังสือของพี่ชายคุณที่บ้านของหลิงหลิง |