ภาษาเขมรตะวันตก

ภาษาเขมรตะวันตก
ภาษาเขมรถิ่นจันทบุรี
ประเทศที่มีการพูดไทย, กัมพูชา
ภูมิภาคทิวเขาบรรทัด
จำนวนผู้พูด(no estimate available)
ตระกูลภาษา
ออสโตรเอเชียติก
รหัสภาษา
ISO 639-3
นักภาษาศาสตร์khm-car

ภาษาเขมรตะวันตก หรือ ภาษาเขมรถิ่นจันทบุรี เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาเขมร ใช้พูดในประชากรผู้มีเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่บริเวณทิวเขาบรรทัดนับแต่ชายแดนกัมพูชาด้านตะวันตกจนถึงภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรีซึ่งมีชุมชนเชื้อสายเขมรตั้งถิ่นฐานใกล้แนวชายแดน[1][2] กลุ่มชนเขมรในจันทบุรีอพยพมาจากจังหวัดพระตะบองและไพลิน[3] เข้าอาศัยในบริเวณดังกล่าวก่อนการปักปันเขตแดนกับฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2449 และรับสัญชาติไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 เป็นต้นมา[4]

ภาษาเขมรตะวันตกมีความแตกต่างจากสำเนียงอื่น ด้วยยังรักษาการเปรียบต่างระหว่างเสียงพูดปรกติ (modal voice) กับเสียงพูดลมแทรก (breathy voice) ซึ่งสูญไปแล้วในภาษาเขมรสำเนียงอื่น[5][6] นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานกันว่าเคยมีปรากฏการณ์จัดตั้งหน่วยเสียงพูดลมแทรกขึ้นในภาษาเช่นว่านี้ในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงทางเสียงของภาษาเขมร[7]

ทั้งนี้ในจังหวัดจันทบุรีมีชุมชนที่มีเชื้อสายเขมรในตำบลเทพนิมิต ตำบลหนองตาคง และตำบลคลองใหญ่ในอำเภอโป่งน้ำร้อน[2][4] และมีชุมชนที่ตำบลทรายขาวในอำเภอสอยดาว[7][8] โดยกลุ่มวัยที่ใช้ภาษาได้ดีคืออายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ในวัยปัจจุบันกลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่นเริ่มไม่เห็นความสำคัญและสื่อสารได้น้อยลงกว่าคนรุ่นก่อน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เขมร". ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "กลุ่มชนชาติต่าง ๆ ของจันทบุรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. 9 ตุลาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 อำพา แก้วกำกง. "ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนไทย-กัมพูชาด้านจังหวัดจันทบุรี" (PDF). ว. เกษตรศาสตร์ (สังคม). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-13. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 ณรงค์ฤทธิ์ สุขสวัสดิ์ (18 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557). "การดำรงอยู่ของวิถีชีวิต ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ ของกลุ่มชนชาวไทยเขมร (เขมรถิ่นไทย) ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี" (PDF). วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. Wayland & Jongman. Chanthaburi Vowels: Phonetic and Phonemic Analyses Mon-Khmer Studies 31:65-82
  6. Acoustic correlates of breathy and clear vowels: the case of Khmer เก็บถาวร 2012-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Journal of Phonetics 31 (2003). pp 181-201
  7. 7.0 7.1 ชัยวัฒน์ เสาทอง. "ภาษาเขมรบ้านสำโรงบน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี". สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "จากบ้านสำโรงถึงสวนส้ม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในสังคมชายขอบจันทบูรณ์". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)