ประวัติศาสตร์ไทย |
---|
![]() |
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ปีพุทธศักราช |
ระบบมณฑลเทศาภิบาล คือระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการใช้มาจนถึงสมัยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองประมาณ 7 ปี เป็นการเลียนแบบการปกครองของอังกฤษในพม่าและมาเลเซีย เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2440 โดยพระดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มณฑลมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง เจ้าเมืองไม่มีอำนาจที่จะปกครอง หน่วยการปกครองเรียงจากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้
ใน พ.ศ. 2458 ดินแดนสยามมีมณฑลอยู่ 19 แห่งครอบคลุมพื้นที่ 72 เมือง (เปลี่ยนเป็น จังหวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำจึงทำให้หลายมณฑลถูกยุบรวมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2468 (มณฑลเพชรบูรณ์ถูกยุบลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว) ภายหลังจึงคงเหลืออยู่เพียง 14 มณฑล ได้แก่ กรุงเทพพระมหานคร มณฑลจันทบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลนครราชสีมา มณฑลปราจีนบุรี มณฑลปัตตานี มณฑลพายัพ มณฑลพิษณุโลก มณฑลภูเก็ต มณฑลราชบุรี มณฑลอยุธยา และมณฑลอุดร ทั้งหมดถูกล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น และนับจากนั้น จังหวัดก็ได้กลายเป็นเขตการปกครองย่อยของประเทศไทยที่มีระดับสูงที่สุด
มณฑลที่มีพื้นที่อาณาเขตกว้างขวาง ได่แก่ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน มีเขตการปกครองพิเศษที่มีระดับอยู่ระหว่างมณฑลกับเมือง (จังหวัด) เรียกว่า "บริเวณ" มีข้าหลวงประจำบริเวณเป็นผู้ปกครอง ได้แก่
จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และปลายปีตั้งมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
ได้รวมหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443[5] ได้มีการรวม เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครน่าน เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน และเมืองนครแพร่ ขึ้นเป็น มณฑลตวันตกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2444 (พ.ศ. 2443 เดิม) ได้เปลี่ยนชื่อมณฑล 4 มณฑลดังต่อไปนี้[6]
ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ได้จัดตั้ง มณฑลมหาราษฎร์ ขึ้นโดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 (พ.ศ. 2468 เดิม):[7]
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475:[8]
เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียทั้งหมด
ลำดับ | ชื่อ[9] | เริ่มต้น | สิ้นสุด | รวมระยะเวลา |
---|---|---|---|---|
มณฑลกรุงเทพมหานคร | ||||
พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตะประจิตร) | 2464 | 2467 | 3 ปี | |
พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร) | 2467 | 2468 | 1 ปี | |
เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฦาชัย (พร จารุจินดา) | 2468 | 2471 | 3 ปี | |
เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2471 | 2474 | 3 ปี | |
พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) | 2474 | 2476 | 2 ปี | |
มณฑลจันทบุรี | ||||
พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) | 2449 | 2452 | 3 ปี | |
พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) | 2452 | 2457 | 5 ปี | |
หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2457 | 2458 | 1 ปี | |
หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี เกษมศรี | 2458 | 2459 | 1 ปี | |
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2459 | 2466 | 7 ปี | |
พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกณะ) | 2466 | 2471 | 5 ปี | |
พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) | 2471 | 2472 | 1 ปี | |
พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) | 2472 | 2473 | 1 ปี | |
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2473 | 2475 | 2 ปี | |
มณฑลไทรบุรี | ||||
1 | เจ้าพระยาฤทธิสงครามภักดี (อับดุล ฮามิด) | 2440 | 2450 | 10 ปี |
มณฑลนครชัยศรี | ||||
1 | พระยามหาเทพ (บุตร บุณยรัตพันธุ์) | 2438 | 2441 | 3 ปี |
2 | เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ (ชม สุนทรารชุน) | 2441 | 2458 | 17 ปี |
3 | พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ) | 2458 | 2460 | 2 ปี |
4 | พระยามหินทรเดชานุวัตร (ใหญ่ สยามมานนท์) | 2460 | 2466 | 6 ปี |
5 | พระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม (อี้ กรรณสูต) | 2466 | 2468 | 2 ปี |
6 | หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2468 | 2475 | 7 ปี |
มณฑลนครราชสีมา | ||||
1 | พระยาพิเรนทรเทพ (ทองคำ สีหอุไร) | 2435 | 2436 | 1 ปี |
2 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ | 2436 | 2436 | |
3 | พระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) | 2436 | 2444 | 8 ปี |
4 | พระยานครราชเสนี (กาจ สิงหเสนี) | 2444 | ปลาย พ.ศ. 2444 | |
5 | พระยากำแหงสงครามรามภักดี (จัน อินทรกำแหง) | 2444 | 2450 | 6 ปี |
6 | เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2450 | 2456 | 6 ปี |
7 | พระยาพหลโยธิน (นพ พหลโยธิน) | 2456 | 2466 | 10 ปี |
8 | พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร) | 2466 | 2467 | 1 ปี |
9 | พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตะประจิตร) | 2467 | 2468 | 1 ปี |
(8) | พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร) | 2468 | 2476 | 8 ปี |
มณฑลนครศรีธรรมราช | ||||
1 | เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | 2439 | 2449 | 10 ปี |
2 | พระยาศรีธรรมาโศกราช (เจริญ จารุจินดา) | 2449 | 2453 | 4 ปี |
3 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | 2453 | 2468 | 15 ปี |
4 | พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล) | 2468 | 2469 | 1 ปี |
5 | พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) | 2469 | 2476 | 7 ปี |
มณฑลนครสวรรค์ | ||||
1 | พระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โรหิตเสถียร) | 2438 | 2439 | 1 ปี |
2 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) | 2439 | 2445 | 6 ปี |
3 | พระยาอมรินทรฦาชัย (จำรัส รัตนกุล) | 2445 | 2453 | 8 ปี |
4 | พระยารณชัยชาญยุทธ (ศุข โชติกเสถียร) | 2453 | 2459 | 6 ปี |
5 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกพุกกณะ) | 2459 | 2462 | 3 ปี |
6 | พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | 2462 | 2466 | 4 ปี |
7 | พระยามหินทรเดชานุวัตร (ใหญ่ สยามานนท์) | 2466 | 2472 | 6 ปี |
8 | พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต) | 2472 | 2475 | 3 ปี |
มณฑลบูรพา | ||||
1 | พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) | 2434 | 2436 | 2 ปี |
2 | พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ดัน อามารานนท์) | 2436 | 2446 | 10 ปี |
3 | เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) | 2446 | 2449 | 3 ปี |
มณฑลปราจีน | ||||
1 | พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุข ชูโต) | 2436 | 2440 | 4 ปี |
2 | พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา) | 2440 | 2442 | 2 ปี |
3 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ | 2442 | 2446 | 4 ปี |
4 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | 2446 | 2458 | 12 ปี |
5 | หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2458 | 2468 | 10 ปี |
6 | หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช | 2468 | 2472 | 4 ปี |
7 | พระอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) | 2472 | 2474 | 2 ปี |
8 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2474 | ปลาย พ.ศ. 2474 | |
9 | พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต) | ปลาย พ.ศ. 2474 | 2476 | |
มณฑลปัตตานี | ||||
1 | พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) | 2449 | 2466 | 17 ปี |
2 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2466 | 2468 | 2 ปี |
3 | พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) | 2469 | 2475 | 6 ปี |
มณฑลพายัพ | ||||
1 | เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) | ก่อน พ.ศ. 2435 | ก่อน พ.ศ. 2435 | |
2 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา | ก่อน พ.ศ. 2435 | ก่อน พ.ศ. 2435 | |
3 | พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2442 | |
4 | พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกเสถียร) | 2442 | 2445 | 3 ปี |
5 | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) | 2445 | 2458 | 13 ปี |
6 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช | 2458 | 2465 | 7 ปี |
7 | เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาชัย (พร จารุจินดา) | 2465 | 2468 | 3 ปี |
8 | เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2468 | 2471 | 3 ปี |
9 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ | 2471 | 2475 | 4 ปี |
10 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2475 | 2476 | 1 ปี |
มณฑลพิษณุโลก | ||||
1 | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) | 2437 | 2445 | 8 ปี |
2 | พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) | 2445 | 2446 | 1 ปี |
3 | พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) | 2446 | 2449 | 3 ปี |
4 | พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา) | 2449 | 2449 | |
5 | พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม เทพานนท์) | 2449 | 2449 | |
6 | เจ้าพระยาสุรบดินทร์ฯ (เจริญ จารุจินดา) | 2449 | 2465 | 16 ปี |
7 | พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) | 2465 | 2468 | 3 ปี |
8 | พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตประจิตร) | 2468 | 2471 | 3 ปี |
9 | พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) | 2471 | 2476 | 5 ปี |
มณฑลเพชรบูรณ์ | ||||
1 | พระยาเพชรรัตนสงคราม (เฟื่อง เฟื่องเพชร) | 2442 | 2450 | 8 ปี |
2 | พระยาเทพธิบดี (อิ่ม เทพานนท์) | 2450 | 2454 | 4 ปี |
3 | พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) | 2454 | 2458 | 4 ปี |
มณฑลภูเก็ต | ||||
1 | พระยาทิพโกษา (โต โชติกเสถียร) | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2441 | |
2 | พระยาวิสูตรสาครดิฐ | 2441 | 2442 | 1 ปี |
3 | พระยาวรสิทธิเสวีรัตน (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก) | 2442 | 2443 | 1 ปี |
4 | พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) | 2443 | 2456 | 13 ปี |
5 | พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์) | 2456 | 2463 | 7 ปี |
6 | พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล) | 2463 | 2468 | 5 ปี |
7 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2468 | 2473 | 5 ปี |
8 | พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) | 2473 | 2476 | 3 ปี |
มณฑลมหาราษฎร์ | ||||
1 | พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) | 2458 | 2465 | 7 ปี |
2 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกระพุกกณะ) | 2465 | 2466 | 1 ปี |
3 | พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) | 2466 | 2468 | 2 ปี |
มณฑลราชบุรี | ||||
1 | เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) | 2437 | 2442 | 5 ปี |
2 | พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา) | 2442 | 2444 | 2 ปี |
3 | พระยารัตนกุล (จำรัส รัตนกุล) | 2444 | 2457 | 13 ปี |
4 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม | 2457 | 2458 | 1 ปี |
5 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2455 | 2459 | 4 ปี |
6 | หม่อมเจ้าประติพัทธ์เกษมศรี เกษมศรี | 2459 | 2460 | 1 ปี |
7 | พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค) | 2460 | 2465 | 5 ปี |
8 | พระยาคฑาธรบดี (เทียบ อัศวนนท์) | 2465 | 2469 | 4 ปี |
9 | พระยาอรรถการยบดี (ชุ่ม อรรถจินดา) | 2469 | 2472 | 3 ปี |
10 | พระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค) | 2472 | 2476 | 4 ปี |
มณฑลร้อยเอ็ด | ||||
1 | หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2455 | 245x | |
2 | พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) | 245x | 2468 | |
มณฑลสุราษฎร์ธานี | ||||
1 | พระยาดำรงสุจริตมหิศวรภักดี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) | 2439 | 2444 | 5 ปี |
2 | พระยาวรสิทธิเสวีวัตร (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก) | 2444 | 2448 | 4 ปี |
3 | พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) | 2448 | 2456 | 8 ปี |
4 | พระยาคงคาทราธิบดี (พลอย ณ นคร) | 2456 | 2468 | 12 ปี |
มณฑลอยุธยา | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ | 2438 | 2446 | 8 ปี |
2 | พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) | 2446 | 2472 | 26 ปี |
3 | หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช | 2472 | 2474 | 2 ปี |
4 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2474 | 2476 | 2 ปี |
มณฑลอุดร | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2442 | 7 ปี |
2 | พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา | 2442 | 2449 | 6 ปี |
3 | พระยาศรีสุริยาราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) | 244x | 245x | |
4 | พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) | 245x | 2465 | |
5 | เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2465 | 2470 | 5 ปี |
6 | พระยาอดุลยเดชสยาเมศรภักดี (อุ้ย นาครธรรพ) | 2470 | 2472 | 2 ปี |
7 | พระยาตรังคภูบาล (เจิม ปันยารชุน) | 2472 | 2476 | 4 ปี |
มณฑลอุบล | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2453 | 18 ปี |
2 | พระยาศรีธรรมศกราช (เจริญ จารุจินดา) | 2453 | 2456 | 3 ปี |
3 | พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) | 2456 | 2468 | 12 ปี |
มณฑลลาวกาว | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ |
Royal Institute - 1982 พายัพ /พา-ยับ/ {Sanskrit: วายวฺย ว่า ของวายุ} [นาม] ชื่อทิศตะวันตกเฉียงเหนือ.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)