มหาวิทยาลัยชินวัตร

มหาวิทยาลัยชินวัตร
Shinawatra University
ชื่อย่อมชว. / SIU
คติพจน์สนับสนุนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา27 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ผู้สถาปนาทักษิณ ชินวัตร
นายกสภาฯหยาง แดบปิง
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ โจว เฟย[1]
ผู้ศึกษา1,337 คน (2566)[2]
ที่ตั้ง
ต้นไม้สาละลังกา
สี    เทา-เขียว-ส้ม
เว็บไซต์siu.ac.th

มหาวิทยาลัยชินวัตร (อังกฤษ: Shinawatra University; ตัวย่อ: SIU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542[3] จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาไทย เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเมธารัถย์เมื่อ พ.ศ. 2565[4][5] ก่อนจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อมหาวิทยาลัยชินวัตรได้อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2567[6]

ประวัติ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยชินวัตรมีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดริเริ่มของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ ร้อยตำรวจเอก ศาสตราจารย์ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาภายในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียงบวกกับความคิดที่จะพัฒนารูปแบบของ มหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ ดร.สุนทร บุญญาธิการ จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 ทบวงมหาวิทยาลัยจึงอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตรขึ้น โดยบริษัท โอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542[7] ต่อมาเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2564 เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เฟธ สตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด[8]

สัญลักษณ์

[แก้]
  • ตราสัญลักษณ์เป็นรูปอาร์ม ซึ่งเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งความรู้ ดวงอาทิตย์นี้จะแผ่รังสีของความเฉลียวฉลาด การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ผ่านการศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ยังเป็นหนทางไปสู่รากฐานการศึกษา ทั้งทางด้านจริยธรรม ศีลธรรม ด้านวัตถุ และมุมมองด้านศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยทำการวิจัยอยู่ตลอดเวลา
  • สีประจำมหาวิทยาลัย มี 3 สี คือ ส้ม-เขียว-เทา
    • สีส้ม หมายถึง การเริ่มต้นด้วยการวิจัยเพื่อสร้างปัญญา
    • สีเขียว หมายถึง ความสมบูรณ์แห่งชีวิตเพื่อสร้างสรรค์สังคมและประชาคมโลก
    • สีเทา หมายถึง ความมีวินัยเพื่อรักษาความดีงาม

รายชื่ออธิการบดี

[แก้]

รายชื่ออธิการบดีมหาวิทยาลัย นับแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

รายชื่ออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543
ดร.แสงสันติ์ พานิช พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2545 (รักษาการ)
ดร.วิทยา มานะวิณิชย์เจริญ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546 (รักษาการ)
ดร.ทนง พิทยะ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547 (รักษาการ)
2. ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
ศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
3. ดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา ตันตสวัสดิ์ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2555 (รักษาการ)
พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2564 (รักษาการ)
4. ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.วรเดช จันทรศร พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558
5. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2563
6. รองศาสตราจารย์ โจว เฟย พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน


หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

SIU International (หลักสูตรนานาชาติ)

[แก้]
  • Bachelor Degree:
  • Business Administration (BBA)
  • English for Communication (BAEC)
  • Management Technology (BSMT)
  • Computer Engineering (BECE)
  • Computer Science (BSCS)
  • Master Degree:
  • Business Administration (MBA)
  • Information Technology (MSIT)
  • Management Technology (MSMT)
  • Teaching English as an International Language (MEdTEIL)
  • Doctoral Degree:
  • Management Science (PhD-MS)
  • Information Technology (PhD-IT)
  • Management Technology (PhD-MT)

หลักสูตรภาษาไทย

[แก้]
  • ปริญญาตรี:
  • นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) สาขาวิชาการสื่อสารแบบหลอมรวม
  • พยาบาลศาสตรบัณฑิต
  • สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) สาขาสาธารณสุขชุมชน
  • รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
  • ปริญญาโท:
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (MSIT)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี (MSMT)
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (MPA)
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (MIC-Media Information and Communication)
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

ความร่วมมือ

[แก้]
  • ความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยกับสภาวิจัยแห่งอิตาลี[9]
  • หลักสูตรการอบรมระยะสั้น The NEXT Real เป็นความร่วมมือกับบริษัท โฮมบายเออร์ไกด์ จำกัด เป็นหลักสูตรที่ให้การอบรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์[10]

อาคาร

[แก้]
  • ห้องปฏิบัติการสำหรับการเรียนการสอนในสาขาต่างๆ
  • Language Center ตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย ในการช่วยเหลือให้นักศึกษาพัฒนาความสามารถทางการสื่อสารภาษาอังกฤษ
  • ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • ห้องพักนักศึกษาวิทยาเขตหลัก (จังหวัดปทุมธานี) จำนวน 2 หอพัก

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปทุมธานี ม.เมธารัถย์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและการมอบรางวัล World-Class Excellence Awards 2023
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. รายชื่อสถาบันอุดมศึกษา เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สกอ.
  4. ราชกิจจาฯประกาศ 'มหาวิทยาลัยชินวัตร' เปลี่ยนชื่อเป็น 'มหาวิทยาลัยเมธารัถย์'
  5. ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่องการเปลี่ยนชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  6. "ราชกิจจาฯ ประกาศเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเมธารัถย์ เป็นมหาวิทยาลัยชินวัตร". PPTV HD 36. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2024.
  7. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (มหาวิทยาลัยชินวัตร) ราชกิจานุเบกษา เล่ม 117 ตอน 6ง วันที่ 20 มกราคม 2543
  8. เปิดข้อมูล 3 ม.เอกชนไทยขายให้ทุนจีน ใช้ บ.โฮลดิ้ง ถือหุ้นใหญ่
  9. https://www.thairath.co.th/content/576507
  10. https://www.mxphone.net/030616-shinawatra-university-the-next-real/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°05′15.39″N 100°25′16.62″E / 14.0876083°N 100.4212833°E / 14.0876083; 100.4212833