Chandrakasem Rajabhat University | |
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏจันทรเกษม |
---|---|
ชื่อย่อ | มจษ. / CRU |
คติพจน์ | ความรู้ดี มีคุณธรรม นำชุมชนพัฒนา |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 9 กันยายน พ.ศ. 2483 |
ผู้สถาปนา | หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชาและวิทยาลัย |
งบประมาณ | 521,081,400 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์ วีรชาติ เปรมานนท์ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ สุมาลี ไชยศุภรากุล |
อาจารย์ | 348 คน (พ.ศ. 2563) |
บุคลากรทั้งหมด | 622 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 8,987 คน (พ.ศ. 2563) |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | วิทยาเขตชัยนาท |
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
ต้นไม้ | ดอกแคฝรั่ง |
สี | ████ สีเทา สีเหลือง |
มาสคอต | ประตูจันทร์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (อังกฤษ: Chandrakasem Rajabhat University; อักษรย่อ: มจษ. – CRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภาคในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ และเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก เน้นการผลิตบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของสังคมในทุกสถานการณ์ คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานสากล
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการลงวันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2538
ตราสัญลักษณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน มีลักษณะเป็นรูปวงรี ภายในประกอบเป็นรูป ดังนี้
พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์
วงจักร กลางวงจักรมี อักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ
สัปตปฎลเศวตฉัตร ตั้งอยู่บน พระที่นั่ง (แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน) โดยวันที่บรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ทรงเสด็จประทับเหนือ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ และสมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด
มีวงรีอีกวงหนึ่งเป็นกรอบรอบพระราชลัญจกร ด้านบนจารึกชื่อเป็นภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และด้านล่างจารึกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ Chandrakasem Rajabhat University
██ สีน้ำเงิน แทน สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
██ สีเขียว แทน แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในพื้นที่แหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
██ สีทอง แทน ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
██ สีส้ม แทน ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัย
██ สีขาว แทน ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เทา - เหลือง
แคฝรั่ง
พระพุทธรูปปางลีลา พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ศิลปะสุโขทัยประยุกต์ สถานที่ประดิษฐาน ณ ธรรมศาลา ลานธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ออกแบบและปั้น โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา พุทธประธานลานธรรม พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวัฒโณ) ทำพิธีเบิกเนตร และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเปลวพระเศียร พระพุทธรูปประดิษฐานบนฐานบัวหงาย ฉากหลังสลักภาพปริศนาธรรม พุทธประวัติ จากดินด่านเกวียน
ซุ้มประตูวังจันทรเกษม (จำลอง) สัญลักษณ์อดีตอันรุ่งเรืองโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม และที่มาแห่งนาม จันทรเกษม ตามสนุทรพจน์ของ ศาสตราจารย์ มล.ปิ่น มาลากุล ตอนหนึ่งว่า “การที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ยกนาม จันทรเกษม ให้แก่สถาบันแห่งนี้ เพราะได้ระลึกถึงความจริง ที่สถาบันแห่งนี้เคยตั้งอยู่ในเขตวังจันทรเกษม มีความผูกพันกับกระทรวงศึกษาธิการมากเป็นพิเศษ”
เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก สามัคคี ที่อยู่คู่กาลเวลา หอนาฬิกาสีดำ ทรงสี่เหลี่ยม หน้าปัดสีขาวสี่ด้าน ตั้งบนฐานทรงกลม กลางสระน้ำ นายศุภสิทธิ มหาคุณ สร้างให้ เมื่อปีพุทธศักราช 2515
ศูนย์การเรียนรู้ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ห้องทำเนียบอธิการบดีและประวัติมหาวิทยาลัย ห้องหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย (อาจารย์ใหญ่คนแรก) และห้องศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา (นักวิชาการด้านภาษาไทย) ตั้งอยู่ที่ ชั้น 4 อาคารนวัตกรรมการศึกษา
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ได้รับการจัดอันดับสารานุกรมไทย ฉบับ มหาลัยโลกจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สาขาดนตรีสากลเป็นอันดับที่ 96 ของเอเชีย[4]
ตั้งอยู่เลขที่ 39/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
รถปรับอากาศ : 206(3-30),28(4-38),126(1-13)
รถโดยสารธรรมดา : 179(3-49),206(3-30),185(1-16),191(2-51),136(3-47),2-53,126(1-13)
รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล : สถานีลาดพร้าว ทางออกประตูที่ 4
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท : สถานีพหลโยธิน 24 ทางออกประตูที่ 1
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง : สถานีลาดพร้าว ทางออกประตูที่ 5
13°49′13″N 100°34′31″E / 13.820310°N 100.575200°E
ทำเนียบผู้บริหาร อดีต - ปัจจุบัน | ||
รายนามผู้บริหาร | สถานะสถานศึกษา | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ | ||
1. หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2483) |
2. ดร.กมล เภาพิจิตร | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2491) |
3. อาจารย์โชค สุคันธวณิช | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2497) |
4. อาจารย์ประยุทธ สวัสดิสิงห์ | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2501) |
5. อาจารย์สนอง สิงหะพันธุ์ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2503) |
ตำแหน่งผู้อำนวยการ | ||
6. อาจารย์พงศ์อินทร์ ศุขขจร | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2508) |
7. คุณหญิงบุญฉวี พรหมโมปกรณ์กิจ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2515) |
8. อาจารย์สนอง สิงหะพันธุ์ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการเป็นวาระที่สอง) |
ตำแหน่งอธิการ | ||
9. ดร.วิศิษฏ์ ชุมวรฐายี | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2519) |
10. รศ.ดร.อินทร์ ศรีคุณ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2528) |
11. รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2532) |
ตำแหน่งอธิการบดี | ||
12. ผศ.ปรีชา เศรษฐีธร | สถาบันราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2537) |
13. รศ.สุวรรณี ศรีคุณ | สถาบันราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2540) |
14. รศ.เทื้อน ทองแก้ว | สถาบันราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) |
15. รศ.มานพ พราหมณโชติ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) |
16. ดร.สุชาติ เมืองแก้ว | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552) |
17. รศ.ดร.สุมาลี ไชยศุภรากุล | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555) |
18. ผศ.ราเชนทร์ เหมือนชอบ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ. 2564) |
19. รศ.ดร.สุมาลี ไชยศุภรากุล | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 28 กรกฏาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
สัญลักษณ์ | |
---|---|
กลุ่มรัตนโกสินทร์ | |
กลุ่มภาคกลาง | |
กลุ่มภาคเหนือ | |
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |
กลุ่มภาคใต้ | |
อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฎ | |