Walailak University | |
ชื่อเดิม | วิทยาลัยนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
---|---|
ชื่อย่อ | มวล. / WU |
คติพจน์ | เป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล (Gateway to Achivement) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 1,777,151,000 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ธีระชัย เชมนะสิริ |
อธิการบดี | ศาสตราจารย์ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (รักษาการ) |
อาจารย์ | 615 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 2,853 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 12,874 คน (พ.ศ. 2567) |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | พื้นที่และศูนย์การศึกษา 3
|
ต้นไม้ | ประดู่ |
สี | สีแสด–สีม่วง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: Walailak University; อักษรย่อ: มวล. – WU[2]) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535[3] มีรูปแบบเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่ออันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัย (Residential University) ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ และได้รับการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2021 จากจำนวน 959 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมทั่วโลก ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ เป็นอันดับ 1 "มหาวิทยาลัยสีเขียว" ของภาคใต้[4]
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เกิดขึ้นจากชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2510 กระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคต ซึงต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้ยกเลิกมติเดิม และอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ว่า มหาวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 ทางมหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญอักษรพระนาม จ.ภ. เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย และเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสำนักงานอธิการบดี และหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2539 รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ต่อมาวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่อ อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าดำเนินงาน ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และเปิดการเรียนการสอนวันแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ จภ ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร จ เป็นสีแสด และอักขระ ภ เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วงรองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาวขอบสีทองรองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประดับอยู่ภายในแพรแถบ โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536
สีแสด เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
สีม่วง เป็นสีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสีประจำพระรัตนธัชมุนี เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ และผู้อำนวยการการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลปัตตานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยชาวนครศรีธรรมราชนับถือและยกย่องว่าเป็นผู้จัดการศึกษาสมัยใหม่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นประดู่ (Pterocarpus indicus) ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงาในเมืองนครศรีธรรมราช เคยปลูกบริเวณศาลาหน้าจวนเจ้าเมือง ซึ่งรู้จักกันในนาม ศาลาประดู่หก
อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตมีความรู้คู่การปฏิบัติ อุตสาหะสู้งาน เก่งด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี มีคุณธรรม (Walailak graduates have practical intelligence, adversary quotient, liberal arts perspective and technology competence, all integrated with high moral.)
ความรู้คู่การปฏิบัติ (Practical Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่เป็นเชิงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหะสู้งาน (Adversary quotient) หมายถึง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในทุกสถานการณ์ที่บัณฑิตต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัว หรือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอุตสาหะสู้งานเป็นคุณลักษณะที่จะนำพาบัณฑิตไปสู่ความสำเร็จได้ทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำและสมาชิกกลุ่ม
เก่งด้านศิลปศาสตร์ (Liberal arts perspective) หมายถึง การเห็นคุณค่าของมนุษย์ การมีจิตใจอ่อนโยน มีความรอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ มีความเข้าใจผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร เข้าใจและยอมรับในสังคมที่มีความหลากหลาย และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
เก่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and technology competence) หมายถึง ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าใจและรู้ทันพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่
มีคุณธรรม (all integrated with moral) หมายถึง ความสามารถทุกด้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงาม บันฑิตจึงจะเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ เป็นศึกษิต แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ อุทยานการศึกษาแห่งอาเซียน (Education Park of ASEAN)
อุทยานการศึกษา (Education Park) หมายถึง แหล่งรวมขององค์ความรู้ที่ผู้แสวงหาความรู้ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ตามอัธยาศัย โดยเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้
แห่งประชาคมอาเซียน (of ASEAN) หมายถึง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ซึ่งสามารถเป็นมหาวิทยาลัยของอาเซียนได้ด้วย องค์ความรู้ใดที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้กับทั้งสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ในอนาคตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คงจะได้สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้น และเป็นการดำเนินแนวทางตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ทำเนียบนายกสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล | 8 เมษายน พ.ศ. 2535 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | |
2. | นายสุเทพ อัตถากร | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | 7 เมษายน พ.ศ. 2537 | |
ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล | 18 กันยายน พ.ศ. 2537 | 26 มีนาคม พ.ศ. 2541 | ||
27 มีนาคม พ.ศ. 2541 | 4 มกราคม พ.ศ. 2545 | |||
3. | ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา | 5 มกราคม พ.ศ. 2545 | 4 มกราคม พ.ศ. 2548 | [5] |
5 มกราคม พ.ศ. 2548 | 27 มกราคม พ.ศ. 2551 | [6] | ||
4. | ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน | 28 มกราคม พ.ศ. 2551 | 27 มกราคม พ.ศ. 2554 | [7] |
28 มกราคม พ.ศ. 2554 | 12 มกราคม พ.ศ. 2558 | [8] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2558 | 12 มกราคม พ.ศ. 2561 | [9] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2561 | 12 มกราคม พ.ศ. 2564 | [10] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2564 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | [11] | ||
5. | นายธีระชัย เชมนะสิริ | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 12 มกราคม พ.ศ. 2567 | [12] |
19 มีนาคม พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | [13] |
ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | รักษาการ |
2. | รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | 18 เมษายน พ.ศ. 2542 | รักษาการ |
3. | ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช | 19 เมษายน พ.ศ. 2542 | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2542 | รักษาการ |
4. | ศ.ดร.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2542 | 30 กันยายน พ.ศ. 2545 | [14] |
5. | ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 | [15] |
6. | รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล | 1 มกราคม พ.ศ. 2550 | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | รักษาการ |
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | [16] | ||
7. | ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | รักษาการ |
16 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | 8 มกราคม พ.ศ. 2558 | [17] | ||
8. | ดร.สุเมธ แย้มนุ่น | 9 มกราคม พ.ศ. 2558 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | รักษาการ |
9. | ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | รักษาการ |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | [18] | ||
10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567 | รักษาการ | ||
30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | [19] |
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[แก้]
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]
กลุ่มสังคมศาสตร์[แก้]
กลุ่มหลักสูตรนานาชาติ[แก้]
|
ระดับบัณฑิตศึกษา[แก้]สถาบัน[แก้]สถาบันสมทบ[แก้]อื่น ๆ[แก้]
|
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||
---|---|---|
ปีการศึกษา | สำนักวิชา | หมายเหตุ |
2535 |
|
|
2549 |
|
|
2550 |
|
|
2551 |
|
|
2559 |
|
|
2560 |
|
|
2561 |
|
|
2562 |
|
|
2565 |
|
โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
โรงพยาบาล | ก่อตั้ง | ผู้อำนวยการ | หมายเหตุ | ||
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University Hospital) |
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 | นพ.จรัส จันทร์ตระกูล | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 | WUH |
นพ.ธีระพันธ์ สงนุ้ย | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |||
รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |||
นพ.ลิขิต มาตระกูล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 | |||
ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว | 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |||
รศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน | |||
โรงพยาบาลสงฆ์ศรีธรรมราชา (Srithammaracha Priest Hospital) |
กำลังดำเนินการ | ||||
ศูนย์สุขภาพช่องปากขั้นสูง วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Center for Advanced Oral Health, ICD, WU) |
กำลังดำเนินการ | ผศ.ทพ.การุญ เลี่ยวศรีสุข | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
ศ.ทพ.ณัฐเมศร์ วงศ์สิริฉัตร | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน | |||
โรงพยาบาลทันตกรรม 2 (WU Dental Hospital) |
กำลังดำเนินการ | ||||
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (Applied Thai Traditional Medicine Hospital, ATMH) |
15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | ผศ.ดร.กิ่งกาญจน์ บรรลือพืช | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
ผศ.คมกริช เอี้ยวสกุล | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน | |||
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University Animal Hospital) โรงพยาบาลสัตว์เล็ก วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
29 มีนาคม พ.ศ. 2561 | ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ | 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | WUAH |
น.สพ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์ | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | |||
น.สพ.อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | |||
ผศ.สพ.ญ.จุรีย์รัตน์ สำเร็จประสงค์ | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | ปัจจุบัน |
หอพักนักศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||
---|---|---|
หอพักนักศึกษา | ที่อยู่ | หมายเหตุ |
หอพักลักษณานิเวศ 1 | 222/1 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 2 | 222/2 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 3 | 222/3 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 4 | 222/4 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 5 | 222/5 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 7 | 222/7 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 10 | 222/10 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 11 | 222/11 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 13 | 222/13 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 14 | 222/12 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 16 | 222/6 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 17 | 222/9 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 18 | 222/8 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพัก WU Residence A1 | ||
หอพัก WU Residence A2 | ||
หอพัก WU Residence B1 | ||
หอพัก WU Residence B2 |
ที่ตั้ง : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เลขที่ 222 ถนนมหาวิทยาลัย หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
ระบบถนนและจราจรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ มหาวิทยาลัยได้ประกาศกำหนดชื่อถนนของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ดังนี้
ระบบขนส่งของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการนำรถไฟฟ้ามาใช้เป็นระบบขนส่งภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยมีเส้นทางการเดินรถไฟฟ้า ดังนี้
ที่ตั้ง : ศูนย์วิทยบริการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขที่ 91/1 อาคารพีซีทาวเวอร์ ชั้น 8-9 หมู่ที่ 1 ถนนกาญจนวิถี ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000