มะหลอด

มะหลอด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Elaeagnaceae
สกุล: Elaeagnus
สปีชีส์: E.  latifolia
ชื่อทวินาม
Elaeagnus latifolia


มะหลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elaeagnus latifolia) จังหวัดราชบุรีเรียกสลอดเถา ภาคใต้เรียกส้มหลอด เป็นไม้ผลในวงศ์ Elaeagnaceae ในไทยพบมากทางภาคเหนือ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีเกล็ดละเอียดสีเทาหรือสีเงินอยู่ทั่วไป แผ่นใบสีเขียว ด้านล่างสีน้ำตาล มีเกล็ดเงินติดอยู่ ดอกออกเป็นช่อกระจุก ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน ผลทรงรีหรือรูปไข่ เมื่ออ่อนสีเขียว มีจุดสีขาวหรือสีเงินบนผล เมื่อสุกสีแดงหรือส้มแดง มีสองชนิดคือ ชนิดเปรี้ยว ผลใหญ่ สุกเป็นสีเหลืองส้ม มีรสเปรี้ยว และชนิดหวาน ผลเล็กกว่า สีอ่อนกว่า รสหวานอมฝาด เมล็ดสีน้ำตาลเป็นพู

มะหลอดชนิดเปรี้ยวนิยมบริโภคสดเป็นผลไม้ การนำไปแปรรูปมีน้อย ทางภาคเหนือนำไปทำส้มตำ นอกจากนั้น ยังมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ยาระบาย แก้ท้องผูก เถาใช้แก้ไข้พิษ เปลือกต้นช่วยขับเสมหะ ดอกใช้แก้ริดสีดวงจมูก แก้ปวดศีรษะ และใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นใช้ทำยาแก้ปวด แก้นิ่วได้[1]

อ้างอิง

[แก้]
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะหลอด ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 184
  • พรพิมล ม่วงไทย นฤมล จินดาเมธี และภิรมยา หวังรักไพบูลย์. การประเมินปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ในน้ำหมักชีวภาพจากผลมะหลอดระหว่างการเก็บรักษา.การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 4 28 – 29 กรกฎาคม 2551. มหาวิทยาลัยนเรศวร
  1. เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. มะหลอด ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 57