"มั่วลี่ฮัว" | |
---|---|
เพลง | |
ภาษา | จีน |
แนวเพลง | พื้นบ้าน |
ความยาว | ประมาณ 2-3 นาที |
มั่วลี่ฮัว (จีน: 茉莉花; พินอิน: Mòlìhuā; 'เจ้าดอกมะลิ') เป็นเพลงลูกทุ่งจีนซึ่งได้รับความนิยม[1][2][3] เพลงนี้มีอายุย้อนหลังไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายหลังจึงได้รับการสร้างสรรค์ในหลาย ๆ รูปแบบ จนเป็นที่นิยมทั้งในและนอกประเทศจีน
เพลงนี้ยังได้รับการใช้ในงานสำคัญหลายงาน เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2547 โอลิมปิกฤดูร้อน 2551 พิธีเปิดเซี่ยงไฮ้เอกซ์โป 2553 รวมถึงในการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อปี 2554 ซึ่งเพลงนี้ถูกรัฐบาลจีนปิดกั้นมิให้เผยแพร่ด้วย[4][5][6]
เพลงนี้แต่งขึ้นในรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง[1] และมีฉบับท้องถิ่นอีกหลายฉบับ[7][8]
ฉบับซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด มีสองฉบับ คือ ฉบับของมณฑลเจ้อเจียง กับฉบับของมณฑลเจียงซู ซึ่งมีเนื้อร้องและทำนองต่างกัน[9] ฉบับหนึ่งพรรณนาถึงธรรมเนียมการมอบดอกมะลิ ซึ่งปฏิบัติกันในภูมิภาคแยงซีของประเทศจีน[1] อีกฉบับซึ่งมีความยาวยิ่งกว่าพรรณนาถึงความปรารถนาที่จะเด็ดดอกมะลิมาเชยชม[9][10]
เพลงนี้แต่ก่อนใช้เล่นกับกระดึงเปียนจง และในสมัยใหม่มักใช้เล่นกับระฆังหยก[3] เดิมทีตัวเพลงเขียนด้วยโน้ตห้าระดับซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศจีน[11] ส่วนทำนองนั้นเป็นอย่างสั้นหรือที่เรียกว่า "เสี่ยวเตี้ยว" (小調, xiǎodiào) ซึ่งนิยมกันในแถบชนบทจีน[12] เซอร์จอห์น แบร์โรว (John Barrow) ราชทูตอังกฤษ บันทึกไว้ว่า ทำนองเพลงมั่วลี่ฮัวนี้น่าจะเป็นทำนองหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศจีน[8]
เพลงนี้เป็นหนึ่งในบรรดาเพลงลูกทุ่งจีนซึ่งได้รับความนิยมมากมายภายนอกประเทศจีน[10] ใน พ.ศ. 2493 ข้าหลวงจีนในยุโรปใช้เพลงนี้เป็นเพลงชาติจีนชั่วคราว ต่อมาใน พ.ศ. 2469 จีอาโกโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini) ใช้เพลงนี้ในอุปรากรเรื่อง ตูรันโดต (Turandot) ของเขาในช่วงที่ว่าด้วย 'ความรุ่งเรืองแห่งตูรันโดต' เพลงจึงได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่ชาวตะวันตก[1][3][13][14] เพลงนี้ยังปรากฏในภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง เดอะกูดเอิร์ธ (The Good Earth) เมื่อ พ.ศ. 2477[15] ทั้งยังได้รับการดัดแปลงโดยศิลปินหลายคนทั่วโลก รวมถึง เคนนี จี (Kenny G)[8]
ใน พ.ศ. 2525 ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเพลงนี้ไว้ในรายการเพลงที่ควรฟัง[8] ครั้นประเทศจีนได้กลับมาปกครองฮ่องกงและมาเก๊าอีกครั้งใน พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2542 ตามลำดับ ก็ใช้เพลงนี้ในพิธีเฉลิมฉลองด้วย[6] ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันว่าโปรดปรานเพลงนี้เป็นการส่วนตัว เป็นผู้ขอให้บรรเลงเพลงนี้ในพิธีส่งมอบเกาะฮ่องกงเอง[6] อนึ่ง เพลงนี้ยังมักประโคมในที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย[16]
ในการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อปี 2554 ผู้จัดการชุมนุมมเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศจีนได้เรียกร้องผู้ชุมนุให้เปิดฉบับหนึ่งของเพลงนี้ด้วยโทรศัพท์มือถือเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านรัฐบาล[4] เพลงนี้จึงถูกขึ้นบัญชีเป็นวัตถุซึ่งไม่ผ่านการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต[4] การค้นหาชื่อเพลงนี้ในอินเทอร์เน็ตยังถูกสะกัดกั้นด้วย[2] แต่การตรวจพิจารณาครั้งนี้ไม่บรรลุเป้าหมายเท่าใดนัก เพราะเพลงมั่วลี่ฮัวเป็นที่แพร่หลายมาแต่เดิมอยู่แล้ว[5][6]
คำร้องฉบับหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมีดังนี้
จีนตัวเต็ม | จีนตัวย่อ | พินอิน | คำแปล |
---|---|---|---|
|
|
|
|
ก คำว่า "เปี๋ยเหริน" (别人, bié rén) ที่แปลว่า ผู้อื่น ("มอบ [ดอกมะลิ] ให้แก่พี่น้องบ้านอื่น") บางทีเปลี่ยนเป็นคำว่า "ฉิงหลาง" (情郎, qíng láng) ที่แปลว่า ชายที่หมายปอง ("มอบ [ดอกมะลิ] ให้แก่ครอบครัวของชายที่หมายปอง") |
คำร้องซึ่งเป็นที่นิยมอีกฉบับหนึ่งมีสามบทดังนี้[9]
จีนตัวเต็ม | จีนตัวย่อ | พินอิน | คำแปล |
---|---|---|---|
|
|
|
|