มาซาโตะ ซางาวะ

มาซาโตะ ซางาวะ
เกิด (1943-08-03) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1943 (81 ปี)
จังหวัดโทกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
พลเมืองญี่ปุ่น
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโคเบะ (B.A. และ M.S.)
มหาวิทยาลัยโทโฮกุ (Doctor Eng.)
คู่สมรสฮิซาโกะ ซางาวะ
รางวัลรางวัลอาซาฮิ (1990)
รางวัลญี่ปุ่น (2012)
รางวัลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธด้านวิศวกรรม (2022)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาโลหวิทยา วัสดุแม่เหล็ก และพลังงานที่ยั่งยืน

มาซาโตะ ซางาวะ (ญี่ปุ่น: 佐川眞人โรมาจิMasato Sagawa) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นผู้คิดค้นแม่เหล็กนีโอดิเมียมถาวร (NdFeB) ชนิดเผาผนึก ซางาวะได้รับรางวัลญี่ปุ่นและเหรียญไอทริปเพิลอีสำหรับเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยจากผลงานประดิษฐ์ของเขา

อาชีพ

[แก้]

ซางาวะเริ่มประดิษฐ์และพัฒนาแม่เหล็ก NdFeB ชนิดเผาผนึกตั้งแต่ทำงานในฟูจิตสึแลบอราทอรีส์ ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของบริษัทฟูจิตสึก่อนจะลาออกใน ค.ศ. 1981 เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าของเขาในการพัฒนาแม่เหล็กชนิดใหม่ ก่อนจะเข้าทำงานที่ซูมิโตโมะสเปเชียลเมทัลส์และพัฒนาแม่เหล็กชนิดใหม่ต่อไป ซางาวะนำเสนอผลงานการประดิษฐ์แม่เหล็กชนิดใหม่นี้ในงานประชุมวิชาการ Magnetism and Magnetic Materials Conference ที่พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนียเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1983[1][2] ในช่วงเดียวกันนั้น จอห์น โครตจากเจเนรัลมอเตอร์ก็ค้นพบสารประกอบ Nd2Fe14B ได้เช่นเดียวกัน[3]

ใน ค.ศ. 1988 ซางาวะก่อตั้งบริษัทอินเตอร์เมทัลลิกส์ซึ่งเป็นบริษัทสำหรับวิจัยและพัฒนาแม่เหล็กนีโอดิเมียม[4][5][6] ซางาวะมีผลงานสิทธิบัตรด้านการพัฒนาแม่เหล็กนีโอดิเมียมกว่า 60 ฉบับ ใน ค.ศ. 2022 เขาได้รับรางวัลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธด้านวิศวกรรมเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในการค้นพบและพัฒนาแม่เหล็กนีโอดิเมียม-เหล็ก-โบรอน (NdFeB) และต่อยอดในเชิงพาณิชย์ให้แพร่หลายทั่วโลก[7]

ดร. ซางาวะสาธิตว่าแม่เหล็กนีโอดิเมียม 1 กรัมสามารถยกขวดน้ำที่มีน้ำหนักราวสองกิโลกรัมให้ลอยขึ้นได้

รางวัลสำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sagawa, M.; Fujimura, S.; Togawa, N.; Yamamoto, H.; Matsuura, Y. (1984). "New material for permanent magnets on a base of Nd and Fe (invited)". Journal of Applied Physics. 55 (6): 2083–2087. doi:10.1063/1.333572.
  2. Sagawa, M.; Fujimura, S.; Yamamoto, H.; Matsuura, Y.; Hiraga, K. (September 1984). "Permanent magnet materials based on the rare earth-iron-boron tetragonal compounds". IEEE Transactions on Magnetics. 20 (5): 1584–1589. CiteSeerX 10.1.1.533.8984. doi:10.1109/TMAG.1984.1063214.
  3. Lucas, Jacques; Lucas, Pierre; Le Mercier, Thierry; และคณะ (2014). Rare Earths: Science, Technology, Production and Use. Elsevier. pp. 224–225. ISBN 978-0-444-62744-5.
  4. Gutfleisch, Oliver; Willard, Matthew A.; Brück, Ekkes; Chen, Christina H.; Sankar, S. G.; Liu, J. Ping (15 February 2011). "Magnetic Materials and Devices for the 21st Century: Stronger, Lighter, and More Energy Efficient". Advanced Materials. 23 (7): 821–842. doi:10.1002/adma.201002180. PMID 21294168.
  5. 5.0 5.1 "Achievement : Developing the world's highest performing Nd-Fe-B type permanent magnet and contributing to energy conservation" (PDF). The Japan Prize Foundation. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  6. "Changing the EV and the World with the Motor". Mitsubishi Corp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2015. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  7. "Queen Elizabeth Prize for Engineering honours magnet pioneer". BBC News. 1 February 2022.
  8. "Laureates of the Japan Prize: Masato Sagawa, Dr. Eng". The Japan Prize Foundation. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  9. 9.0 9.1 大同特殊鋼株式会社プレスリリース 佐川眞人顧問が「NIMS Award 2018」を受賞しました 2018年8月25日閲覧
  10. "2022 IEEE Medal & Recognition Recipients 6.IEEE Medal for Environmental and Safety Technologies".
  11. "Queen Elizabeth Prize for Engineering honours magnet pioneer". BBC News. 1 February 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]