มาร์ติน โฮล์ม

มาร์ติน โฮล์ม
เกิด27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1976(1976-11-27)
สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
เสียชีวิต24 มิถุนายน ค.ศ. 2009(2009-06-24) (32 ปี)
สัญชาติสวีเดน ชาวสวีเดน
ส่วนสูง1.87 เมตร (6 ฟุต 1 12 นิ้ว)
น้ำหนัก103.0 กิโลกรัม (227.1 ปอนด์; 16.22 สโตน)
รุ่นเฮฟวีเวท
รูปแบบมวยไทย
ทีมSlagskeppet ตั้งแต่ 1990 – 1999, Vallentuna Boxing Camp ตั้งแต่ 1999
ช่วงปี1994–2004
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม69
ชนะ60
โดยการน็อก43
แพ้9
โดยการน็อก0
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่: 25 มิถุนายน 2009

มาร์ติน โฮล์ม (สวีเดน: Martin Holm; 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1976 — 24 มิถุนายน ค.ศ. 2009) เป็นนักมวยไทยชาวสวีเดน และเป็นอดีตแชมป์รายการ WMC มวยไทยโลก ในการแข่งขันเค-วัน เขามีโอกาสสู้กับนักมวยดังในขณะนั้น เช่น เออร์เนสโต ฮูสท์, เรย์ เซโฟ, ไมเคิล แมกโดนัลด์ และ โกลบ เฟโตซา

ประวัติและในวงการอาชีพ

[แก้]

เมื่อมาร์ตินมีอายุได้เจ็ดปี เขาได้เริ่มการว่ายน้ำในโรงเรียนสอนว่ายน้ำของท้องถิ่น ไม่กี่ปีต่อมา เขาได้หันเหความสนใจไปสู่ไอคิโดและได้ทำการฝึกฝนเป็นระยะเวลาสี่ปี หลังจากนั้นเขาได้หันมาสนใจคาราเต้โชโตกัน เมื่อเขาอายุได้ 14 ปี เขาถูกส่งเข้าโรงยิมมวยไทยในกรุงสต็อกโฮล์ม ที่มีชื่อว่า "Slagskeppet Muay Thai" ที่ซึ่งเขาได้พบกับจอร์เก้น ครุธ และได้รับการถ่ายทอดกีฬาดังกล่าวในทันที

เมื่อมาร์ตินอายุ 18 ปี เขาได้เดินทางมาพักผ่อนที่ประเทศไทยกับเพื่อนๆของเขา ซึ่งเขาได้เริ่มการต่อสู้เป็นครั้งแรก เขาไม่ได้เตรียมตัวสำหรับการต่อสู้ แต่ฝ่ายตรงข้ามของเขามีประสบการณ์ด้านมวยไทยระดับท้องถิ่น โฮล์มได้โจมตีอย่างรุนแรง และแสดงฝีมือเป็นชุดและสามารถชนะน็อคการต่อสู้ด้วยการตีเข่าในช่วงยกแรก มาร์ตินได้ตัดสินใจที่จะปฏิบัติการฝึกฝนกับเพื่อนที่มีชื่อว่าจอร์เก้น ครุธ โดยไปยังโรงยิมระดับมืออาชีพสูงสุดในสแกดิเนเวีย ที่มีชื่อว่า วาเลนทูนาบ็อกซิ่งแคมป์ ในความพยายามที่จะอยู่ในระดับถัดไป จากวาเลนทูนาเขาได้ต่อสู้ในระดับอาชีพอยู่บ้าง และหลังจากการเข้าร่วมการแข่งขันเค-วัน สองปีต่อจากครุธ[1]

โฮล์มต่อสู้กว่า 30 ครั้งก่อนเข้าร่วมรายการแข่งขัน WMC เวิลด์ ใน ค.ศ. 1999 ที่ประเทศไทย

ในค.ศ. 2002 เขาได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในรายการเค-วัน ที่มีชื่อว่าเค-วัน เวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2002 นาโกยา เขาชนะน็อคชาวนามิเบีย ที่มีชื่อว่าจ็อคกี้ โอเบอร์โฮลท์เซอร์ ที่เวลา 1'38" ในยกแรก การต่อสู้ครั้งถัดมาเขาได้พบกับนักคาราเต้ชาวบราซิล ที่มีชื่อว่าโกลบ เฟโตซา โฮล์มชนะอีกครั้งโดยการชนะน็อคในยกแรก

ค.ศ. 2002 ในไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เขาได้พบกับคู่ต่อสู้ที่ชนะยากที่สุดด้วย ซึ่งเป็นดาวเด่นของรายการเค-วัน ที่มีชื่อว่าเร เซโฟ ซึ่งเป็นนักสู้จากนิวซีแลนด์ โฮล์มแพ้การต่อสู้ที่สูสีโดยการตัดสินจากเสียงส่วนใหญ่ เขาประสบความสำเร็จในช่วงต้นของการเข้าสู่วงการในรายการเค-วัน ที่มีชื่อว่าเค-วัน เวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2002 รอบไฟนอล ภายใต้การพบกับนักสู้ชาวแคนาดาที่มีชื่อว่า ไมเคิล แมกโดนัลด์

ค.ศ. 2003 ในปารีส โฮล์มได้พบกับแชมป์โลกเค-วันสี่สมัยที่มีชื่อว่าเออร์เนสโต ฮูสท์ และแพ้การตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์

ค.ศ. 2004 ภายหลังจากการที่เขาได้พบกับนักสู้ชาวแอลเบเนีย ที่มีชื่อว่าซาวิต บาจรามี ในฐานะที่เป็นดาวเด่นคนใหม่ในเค-วัน และสร้างความประหลาดใจให้กับแฟนมวยของเขา มาร์ติน โฮล์ม ได้อำลาวงการโดยต้องการให้ความสำคัญกับครอบครัวและทารกชายแรกเกิดของเขา

สามปีหลังจากอำลาวงการ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 เขาได้ประกาศว่าเขาจะเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้งในเค-วัน[2]

วันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2009 มีผู้พบว่ามาร์ติน โฮล์ม เสียชีวิตแล้ว โดยสาเหตุคือการฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอ เนื่องด้วยโฮล์มมีปัญหาส่วนตัวด้านภาวะซึมเศร้าและความไม่สมดุลทางอารมณ์

รายการที่ชนะ

[แก้]
  • ค.ศ. 1994 แชมป์ SIMTA โปรมวยไทยยูโรเปียน
  • ค.ศ. 1997 แชมป์ WKA อะเมเจอร์คิกบ็อกซิงเวิลด์
  • ค.ศ. 1998 IAMTF อะเมเจอร์มวยไทยยูโรเปียน
  • ค.ศ. 1999 ผู้ชนะ IFMA คิงส์คัพ
  • ค.ศ. 1999 แชมป์ WMC โปรมวยไทยเวิลด์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""Martin Holm Interview"". asgardmma.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-09. สืบค้นเมื่อ 2007-01-06.
  2. ""Martin Holm Interview"". www.asgardmma.com/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-14. สืบค้นเมื่อ 2007-01-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]