บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มาร์เชียลแชมเปียน | |
---|---|
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เคดญี่ปุ่นของมาร์เชียลแชมเปียน | |
ผู้พัฒนา | โคนามิ |
ผู้จัดจำหน่าย | โคนามิ |
แต่งเพลง | จุงยะ นากาโนะ |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, พีซี เอนจิน ซูเปอร์ ซีดี-รอม², เวอร์ชวลคอนโซล |
วางจำหน่าย | เวอร์ชันอาร์เคด: 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 เวอร์ชันพีซี เอนจิน:
|
แนว | เกมต่อสู้ |
รูปแบบ | ผู้เล่นสูงสุด 2 คนพร้อมกัน |
ระบบอาร์เคด | ฮาร์ดแวร์ที่อิงจากมิสติกวอริเออส์ |
มาร์เชียลแชมเปียน (คาตากานะ: マーシャルチャンピオン; อังกฤษ: Martial Champion) เป็นเกมต่อสู้ ค.ศ. 1993 ที่ได้รับการเปิดตัวสำหรับอาร์เคดโดยบริษัทโคนามิ เกมนี้เป็นเกมต่อสู้เกมที่สามของบริษัทโคนามิหลังจาก ค.ศ. 1985 ที่เปิดตัวอี เอ้อร์ กังฟู กับกาแล็กติกวอร์ริเออส์ และอี เอ้อร์ กังฟู II ที่เปิดตัวใน ค.ศ. 1986 ส่วนการเปิดตัวเกมนี้ของพวกเขาเกิดขึ้นหลังจากความสำเร็จของเกมสตรีทไฟเตอร์ II จากบริษัทแคปคอมซึ่งได้รับความนิยมใน ค.ศ. 1991
มาร์เชียลแชมเปียนดำเนินตามแบบแผนเกมต่อสู้ที่สถาปนาโดยสตรีทไฟเตอร์ II ตัวละครของผู้เล่นต่อสู้กับคู่ต่อสู้ของเขาหรือเธอในการแข่งสองในสามยก ในโหมดการแข่งแบบผู้เล่นเดี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือกับผู้เล่นที่เป็นมนุษย์คนอื่น ผู้เล่นมีรายชื่อตัวละครของนักสู้สิบคนให้เลือก โดยแต่ละคนมีรูปแบบการต่อสู้และเทคนิคพิเศษเฉพาะตัว
เลย์เอาต์การควบคุมแตกต่างจากสตรีทไฟเตอร์ II และเกมต่อสู้ทั่วไปส่วนใหญ่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเกมดังกล่าว ซึ่งระบบควบคุมของมาร์เชียลแชมเปียนนั้นมาจากระบบควบคุมของอี เอ้อร์ กังฟู แต่ปรับให้ง่ายขึ้นสำหรับการโจมตีสูง, กลาง และต่ำ แทนที่จะต้องกดปุ่มโจมตีและทิศทาง ส่วนคุณลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของเกมอาร์เคดนี้คือสเตจที่คล้ายกับสเตจ "กระโดดสูง" ที่เห็นในเกมต่อสู้ของบริษัทแคปคอมในยุคหลัง เช่น ชิลเดรนออฟดิอะตอม รวมทั้งคุณลักษณะเฉพาะอีกประการหนึ่ง คือตัวละครบางตัวมีอาวุธที่คู่ต่อสู้สามารถปลดอาวุธ และยึดมาสู้กับพวกเขาได้
เกมนี้มีนักสู้ที่เล่นได้สิบคนให้เลือก หลังจากที่ผู้เล่นกำจัดคู่ต่อสู้ทั้งสิบคนในโหมดทัวร์นาเมนต์ (รวมถึงร่างโคลนของตัวละคร) พวกเขาต้องเผชิญกับตัวละครบอสที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ตัวสุดท้าย ส่วนในเวอร์ชันทั่วโลกภายหลังที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่น เคออสและทิตตีได้มีการเปลี่ยนชื่อ (คล้ายกับการหมุนเวียนชื่อตัวละครบอสในสตรีทไฟเคอร์ II ซึ่งอาจทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงกับคำว่า "ทิตตี" ที่หมายถึงเต้านมผู้หญิง) โดยเคออสเป็นผีดิบจีน และทิตตีเป็นเจ้าหญิงอียิปต์
มาร์เชียลแชมเปียนได้รับการย้ายไปเฉพาะพีซี เอนจิน ในรูปแบบซูเปอร์ ซีดี-รอม² โดยเวอร์ชันพีซี เอนจิน วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่งต่างจากเวอร์ชันอาร์เคดที่วางจำหน่ายทั่วโลก และเวอร์ชันนี้ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในภายหลังสำหรับเวอร์ชวลคอนโซลของวีที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008
สไปรต์และฉากหลังถูกย่อให้เล็กลง ในขณะที่ฉากหลังกลายเป็นภาพนิ่งแทนที่จะเป็นภาพเคลื่อนไหว รวมถึงวัตถุฉากหน้าและผู้คนในแต่ละด่านก็ถูกลบออก ทั้งนี้ บทนำและบทส่งท้ายมีความแตกต่างกันเมื่อเทียบกับเวอร์ชันอาร์เคด โดยบทนำอาร์เคดดั้งเดิมแสดงให้เห็นจินและโกลดอร์ต่อสู้กันโดยมีดนตรีบรรเลงอยู่เบื้องหลังรวมอยู่ แต่ในเวอร์ชันพีซี เอนจิน บทนำอีกส่วนจะเริ่มต้นด้วยโลโก้ของเกมและเพลงร้อง จากนั้นแสดงให้เห็นจินซึ่งมีผ้าพันผมและมองไปข้างหน้าโดยมีนกที่บินผ่าน ในขณะที่ราเชลและโกลดอร์ต่อสู้กันเอง ซึ่งในตอนท้าย โกลดอร์ได้ปล่อยพลังโกลเวฟไปสู่ความมืดมิดโดยพลาดราเชลที่เป้าหมายของเขา ในขณะที่ซาลาแมนเดอร์ผู้เป็นบอสตัวสุดท้าย ก็ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นหลังจากนั้น
การตอบรับ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||
|
ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนในฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 ระบุว่ามาร์เชียลแชมเปียนเป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับสองในขณะนั้น[7] ส่วนนิตยสารเพลย์มิเตอร์ได้ระบุให้มาร์เชียลแชมเปียนเป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมสูงสุดด้วยอันดับสามสิบสองในขณะนั้น[8]
ขณะที่เวอร์ชันพีซี เอนจิน ซูเปอร์ ซีดี-รอม² ได้พบกับการวิจารณ์ที่สำคัญแบบผสม[2][3][4] ส่วนการต้อนรับแบบสาธารณะก็หลากหลายเช่นกัน โดยผู้อ่านนิตยสารพีซี เอนจิน แฟน ได้โหวตให้การเปิดตัวของพีซี เอนจิน ได้ 19.8 คะแนนจาก 30 คะแนนในแบบสำรวจความคิดเห็น[9] และหนังสือภาษาญี่ปุ่นพีซี เอนจิน คัมพลีต ไกด์ 1987–1999 ได้ออกบทวิเคราะห์ในเชิงบวกโดยระบุว่า "เกมนี้เป็นปกติ แต่เล่นได้อย่างตื่นตาตื่นใจ" อย่างไรก็ตาม พวกเขาชี้ให้เห็นว่าขนาดสไปรต์มีขนาดเล็กกว่าเกมอาร์เคดดั้งเดิม และฉากหลังกับเอฟเฟกต์นั้นเรียบง่าย แต่สังเกตเห็นการเพิ่มองค์ประกอบใหม่ เช่น เทคนิคที่ซ่อนอยู่[10]