ยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3 (แร็มบรันต์)

ยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3[1]
ศิลปินแร็มบรันต์
ปีราว ค.ศ. 1632
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนไม้
สถานที่หอศิลป์ดัลลิช, ลอนดอน

ยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3 (ดัตช์: Jacob de Gheyn III หรือ Jacob III de Gheyn) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันที่เขียนโดยแร็มบรันต์ จิตรกรคนสำคัญชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จัดแสดงอยู่ที่หอศิลป์ดัลลิช (Dulwich) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

ภาพ "ยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3" ที่แร็มบรันต์เขียนราวปี ค.ศ. 1632 เป็นภาพเหมือนของยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3 นักแกะภาพพิมพ์ (engraving) ชาวดัตช์ ซึ่งเป็นภาพคู่กับภาพเหมือนของเพื่อนของไคน์ เมาริตส์ เฮยเคินส์ที่แต่งตัวคล้ายคลึงกัน และหันหน้าเข้าหากัน[2]

ภาพเขียนภาพนี้มีขนาดเล็กกว่าภาพเขียนส่วนใหญ่ที่แร็มบรันต์เขียน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพเขียนนี้ง่ายต่อการโจรกรรม

การจ้างเขียน

[แก้]

เฮยเคินส์และไคน์จ้างให้แร็มบรันต์เขียนภาพในแบบเดียวกัน ซึ่งแร็มบรันต์ก็เขียนบนแผ่นไม้โอ๊กเดียวกัน[3] เพื่อนสองคนตกลงกันว่าผู้ใดที่เสียชีวิตทีหลังก็จะเป็นผู้ได้รับภาพเขียนของอีกเป็นของอีกผู้หนึ่ง ตามคำจารึกที่ปรากฏบนหลังภาพเขียน[4] ภาพสองภาพกลับมาคู่กันหลังจากการเสียชีวิตของไคน์[5] แร็มบรันต์ใช้แผ่นไม้โอ๊กเดียวกันเขียนภาพที่สามที่เป็นภาพเหมือนตนเอง ทั้งสามภาพเป็นของหอศิลป์ดัลลิชในกรุงลอนดอน[3]

การโจรกรรม

[แก้]

ภาพ "ยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3" ได้รับการขนานนามว่าเป็น "แร็มบรันต์ตามสั่ง" (takeaway Rembrandt) ด้วยความที่ถูกขโมยสี่ครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 ซึ่งทำให้เป็นภาพเขียนที่ได้รับการขโมยบ่อยครั้งที่สุด[6][7][8]

ระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1981 จนถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1981 ภาพเขียนถูกขโมยจากหอศิลป์ดัลลิช แต่ตำรวจสามารถจับชายสี่คนได้พร้อมกับภาพเขียนในรถแท็กซี[9] ไม่ถึงสองปีต่อมาโจรก็บุกเข้าไปในหอศิลป์ทางเพดานกระจก งัดภาพจากกำแพง ตำรวจไปถึงที่เกิดเหตุภายในสามนาทีแต่ไม่ทันที่จะจับโจร[10] ภาพเขียนหายไปสามปี ก่อนที่จะพบเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1986 บนที่วางกระเป๋าที่สถานีรถไฟของค่ายทหารอังกฤษที่มึนสเตอร์ในเยอรมนี[11]

ในการโจรกรรมอีกสองครั้ง ภาพเขียนพบในม้านั่งในสุสานในสเตรตัม และบนจักรยาน[7][12] ทุกครั้งที่ถูกขโมยภาพเขียนก็ได้รับกลับคืนมาโดยไม่มีผู้ใดถูกกล่าวหา[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Web Gallery of Art: Rembrandt Harmenszoon van Rijn
  2. Phelan, Mary. Atyfacts. 2006. "Rembrandt & Co: Dealing in Masterpieces เก็บถาวร 2006-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Accessed 3 September 2006.
  3. 3.0 3.1 Dulwich Picture Gallery. 2006. "Three Rembrandts Reunited" (Word document). Accessed 3 September 2006.
  4. Graham-Nixon, Andrew. The Daily Telegraph. 11 June 2006. "[1] เก็บถาวร 2006-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Accessed 6 September 2006.
  5. Dulwich Picture Gallery. "Jacob III de Gheyn เก็บถาวร 2007-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Accessed 3 September 2006.
  6. Alberge, Dalya. The Times. 23 August 2004. "Mystery, intrigue and stolen paintings[ลิงก์เสีย]". Accessed 3 September 2006.
  7. 7.0 7.1 7.2 Peek, Laura. 29 April 2003. "'Takeaway Rembrandt' is most stolen painting เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Accessed 3 September 2006.
  8. 8.0 8.1 Guinness World Records. "Most Stolen Painting". Accessed 4 September 2006.
  9. New York Times Archives. 3 September 1981. "Around The World; Painting by Rembrandt Is Recovered in London". Accessed 3 September 2006.
  10. Time. 4 July 1983. "Stop and Think: Supercrooks do brisk business เก็บถาวร 2013-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Accessed 6 September 2006.
  11. San Hose Mercury News. 10 October 1986. "3 Years Later, Oft-Stolen Rembrandt Is Back. Accessed 6 September 2006.
  12. Kennedy, Maev. The Guardian. 18 May 2001. "Artful conman preys on wealthy". Accessed 3 September 2006.

ดูเพิ่ม

[แก้]