รองเท้านารีเหลืองกระบี่

รองเท้านารีเหลืองกระบี่
รองเท้านารีเหลืองกระบี่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Monocotyledon
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Orchidaceae
วงศ์ย่อย: Cypripedioideae
สกุล: Paphiopedilum
สปีชีส์: Paph.  exul
ชื่อทวินาม
Paphiopedilum exul
(Ridl.) Rolfe (1896)
ชื่อพ้อง
  • Cordula exul (Ridl.) Rolfe 1912
  • Cypripedium exul [Ridl.] Rolfe 1892
  • Cypripedium insigne var. exul Ridley 1891
  • Paphiopedilum exul f. aureum (auct.) O.Gruss & Roellke 2002

รองเท้านารีเหลืองกระบี่เป็นกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี ค้นพบโดย Mr.H.Ridley ในปี ค.ศ. 1891 โดยตั้งชื่อ Paph.insigne var.exul ภายหลังจึงจำแนกมาเป็นสายพันธุ์เฉพาะ คือ Paph.exul

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

รองเท้านารีเหลืองกระบี่เป็นไม้พุ่มกว้างประมาณ 30-40 ซม. ใบกว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 20-30 ซม. ใบสีเขียวเป็นมัน แตกหน่อง่าย มักเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่ ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดดอก 6-7 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 12-15 ซม. กลีบบนมีริมสีขาว โคนกลีบสีเขียวปนเหลือง และมีจุดประขนาดใหญ่สีม่วงปนน้ำตาล กลีบในแคบสีเหลืองเป็นมัน ริมกลีบเป็นคลื่นงุ้มมาด้านหน้า มีเส้นสีน้ำตาลกลางกลีบ กระเป๋าสีเหลืองอมเขียวเป็นมันเงา ออกดอกในเดือนเมษายนมิถุนายน

ถิ่นอาศัย

[แก้]

พบอยู่ตามภูเขาหินปูนที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล หรือตามเกาะที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน โดยขึ้นอยู่สูง 10 –100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตามรอยแยกของหินที่ปกคุมไปด้วยมอสส์ โดยมีสภาพแวดล้อมคล้ายกับรองเท้านารีเหลืองตรัง และรองเท้านารีขาวสตูล แต่รองเท้านารีเหลืองกระบี่จะอยู่ในบริเวณที่ได้รับแสงค่อนข้างมาก บางครั้งพบขึ้นอยู่บนหินกลางแจ้ง โดยสามารถพบได้ตามภูเขาที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล หรือตามเกาะในประเทศไทย พบในจังหวัด ตรัง กระบี่ พังงา สตูล

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • กล้วยไม้เมืองไทย, รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน