รอยัล แฟมิลี (ภาพยนตร์)

รอยัล แฟมิลี
เขียนโดยแอนโทนี่ เจย์
กำกับโดยริชาร์ด คอสตัน
แสดงนำ
บรรยายโดยไมเคิล แฟลนเดอร์ส
ประเทศแหล่งกำเนิดสหราชอาณาจักร
ภาษาต้นฉบับอังกฤษ
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างริชาร์ด คอสตัน
ความยาวตอน110 นาที[1][2]
บริษัทผู้ผลิตบีบีซี, ไอทีวี
ออกอากาศ
เครือข่ายบีบีซีวัน, บีบีซีทู, ไอทีวี
ออกอากาศ21 มิถุนายน ค.ศ. 1969

รอยัล แฟมิลี (อังกฤษ: Royal Family) เป็นสารคดีทางโทรทัศน์ของอังกฤษเกี่ยวกับครอบครัวของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ออกอากาศทางบีบีซีวัน และ ไอทีวี ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1969 ภาพยนตร์เรื่องนี้ดึงดูดผู้ชมกว่า 38 ล้านคนในสหราชอาณาจักร และจำหน่ายไปทั่วโลกและมีผู้ชมประมาณ 350 ล้านคน [3] ต่อมาสมเด็จพระราชินีได้ทรงสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้[4] [5] มันไม่ได้ฉายทางทีวีอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977[6] และการเข้าถึงเพื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกจำกัดอย่างมาก[7] ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2019 ได้พบการรั่วไหลและมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต[4] [5] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังคงสามารถดูได้บนแพลตฟอร์มแบ่งปันวิดีโอ YouTube [8] และเว็บไซต์ห้องสมุดดิจิทัล Internet Archive

การถ่ายทำ

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เพื่อเฉลิมฉลองในการที่พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ เจ้าชายชาลส์ได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์[9] กำกับโดย ริชาร์ด คอสตัน[10] เขียนบทโดย แอนโทนี่ เจย์[11] บรรยายโดย ไมเคิล แฟลนเดอร์ส[7] ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการผลิตร่วมกันของบีบีซีและไอทีวี[12]

เป็นความคิดของ วิลเลียม เฮเซลไทน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเลขาธิการสื่อมวลชน และจอห์น บราบอร์น ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ (ลูกเขยของลอร์ดเมานท์แบ็ตเทน) ซึ่งทั้งคู่เชื่อว่าการแสดงชีวิตประจำวันของราชวงศ์ทางโทรทัศน์จะช่วยฟื้นความนิยมจากสาธารณชน [13]

คอสตันได้รับการติดต่อในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1968 และเริ่มถ่ายทำในวันที่ 8 มิถุนายน ที่ Trooping the Colour

เนื้อหาทั้งหมด 43 ชั่วโมงสำหรับสารคดี ได้เริ่มตัดต่อในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1969 ขณะที่การถ่ายทำสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม[13] ฉากทั้งหมดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งมีเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถเป็นประธาน[14] อย่างไรก็ตาม คอสตันได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำทุกอย่างที่เขาต้องการ เขาเล่าในภายหลังว่า สมเด็จพระราชินีทรงทอดพระเนตรภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งหมดหนึ่งเดือนก่อนการออกอากาศ[13]

เนื้อหา

[แก้]

สารคดีความยาว 110 นาทีนี้ ครอบคลุมหนึ่งปีในชีวิตของสมเด็จพระราชินี นำเสนอข้อมูลเชิงลึกในด้านส่วนตัวของราชวงศ์ ตลอดจนบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในศตวรรษที่ 20[10] วันธรรมดากำหนดบรรยากาศโดยเริ่มจากผู้ชมอย่างเป็นทางการ ตามด้วยมื้อกลางวันและปาร์ตี้ในสวนยามบ่าย ในตอนเย็นราชินีจะเลือกชุดที่จะสวมใส่ในการเสด็จไปทอดพระเนตรละครโอเปร่า[13]

ประธานาธิบดีนิกสัน กับราชวงศ์ที่พระราชวังบักกิงแฮม ในปี ค.ศ. 1969

ต่อมาในภาพยนตร์เรื่องนี้ เจ้าชายฟิลิปและลูก ๆ ของพระองค์เพลิดเพลินกับบาร์บีคิวที่ปราสาทแบลมอรอล ในสกอตแลนด์[7] ในอีกฉากหนึ่ง พระราชินีทรงซื้อไอศกรีมให้เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดจากร้านค้า ซึ่งขัดกับตำนานที่ว่าพระนางไม่เคยถือเงินเลย[15] มีอยู่ช่วงหนึ่ง เจ้าชายชาร์ลส์กำลังฝึกเชลโลอยู่ และสายได้บาดเข้าที่ใบหน้าของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดน้องชายพระองค์[14] ฉากที่สมาชิกในราชวงศ์กำลังรับประทานอาหารเช้า ดูโทรทัศน์[16] เล่นสกีน้ำ เป็นเจ้าภาพจัดทีมโอลิมปิกของอังกฤษ และรับประทานอาหารกลางวันกับริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น[14] ภาพยนตร์ยังมีฉากเสด็จประพาสอเมริกาใต้ของราชวงศ์ และฉากที่เจ้าหญิงแอนน์ขณะเสด็จเยือนแท่นขุดเจาะก๊าซในทะเลเหนือ[13]

ในตอนท้าย พระราชินีทรงสนทนากับครอบครัวของพระองค์ เรื่องบทสนทนากับรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกล่าวถึงแขกที่ไม่ปรากฏชื่อในพระราชวังว่าเป็น "กอริลลา" ซึ่งเป็นคำที่พระองค์พบว่า "ไม่ปรานีอย่างยิ่ง" อย่างไรก็ตาม พระองค์เล่าถึงการพบกับแขกรับเชิญว่า "ฉันยืนอยู่กลางห้องและกดกริ่ง ประตูก็เปิดออก และมีกอริลลาตัวหนึ่ง คุณรู้ไหม เขา มีลำตัวสั้นและแขนยาว"[17]

ออกอากาศ

[แก้]

การตอบรับ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Royal Family (1969)". IMDB.
  2. Chris Ship (29 January 2021). "Why the 1969 Royal Family film was hurriedly taken down from YouTube". ITV News. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
  3. "Royal Family first transmitted". History of the BBC (ภาษาอังกฤษ). BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2019.
  4. 4.0 4.1 Ward, Victoria; Mendick, Robert (28 January 2021). "Royal documentary banned by the Queen is leaked 50 years later". The Telegraph. London: Telegraph Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2021. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
  5. 5.0 5.1 Moore, Matthew (29 January 2021). "Royal documentary banned by Queen is leaked on YouTube". The Times (ภาษาอังกฤษ). London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 Jan 2021. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.
  6. "Festival 77: 1969 Royal Family". Radio Times. BBC Genome (2805): 43. 11 August 1977. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
  7. 7.0 7.1 7.2 Richard Tomlinson (19 June 1994). "Trying to be useful: Twenty-five years ago, the Windsors attempted to re-create their public image …". The Independent on Sunday. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "independent" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  8. "Royal Family (1969)". YouTube.
  9. Bastin, Giselle (Summer 2009). "Filming the Ineffable: Biopics of the British Royal Family". Auto/Biography Studies. 24 (1): 34–52. doi:10.1080/08989575.2009.10846787. S2CID 220313542. สืบค้นเมื่อ 21 August 2013.
  10. 10.0 10.1 Alan Rosenthal (2007). Writing, Directing, and Producing Documentary Films and Videos (4 ed.). SIU Press. pp. 72–73. ISBN 978-0-8093-2742-3.
  11. Hardman, Robert (20 October 2011). "Yes, Ma'am". The Spectator. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
  12. "Royal Family - BBC One London". BBC Genome. สืบค้นเมื่อ 21 January 2019.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Alan Rosenthal (1972). The New Documentary in Action: A Casebook in Film Making. University of California Press. pp. 201–209. ISBN 978-0-520-02254-6.
  14. 14.0 14.1 14.2 Robert Hardman (2012). Her Majesty: Queen Elizabeth II and Her Court. Pegasus Books. pp. 211–214. ISBN 978-1-4532-4918-5.
  15. Hardman, p. 212. Quote: "Others scoffed at the sight of the Queen paying for an ice cream in a shop - mindful of the myth that she never carries money."
  16. Nick Fraser (2012). Why Documentaries Matter. Reuters Institute for the Study of Journalism. pp. 38–39. ISBN 978-1-907384-09-7.
  17. Ledbetter, Carly (29 January 2021). "A Rare Royal Family Documentary Briefly Hit YouTube. Here Are Its Most Shocking Moments". HuffPost. สืบค้นเมื่อ 5 December 2022.